สายช้อปต้องรู้ ภาษีแบรนด์เนมคืออะไร ใครบ้างที่ต้องจ่าย ?

ปกติแล้วเวลาไปเที่ยวต่างประเทศ เรามักจะเจอสินค้าแบรนด์เนมของแท้ราคาถูกขายเต็มไปหมด ซึ่งเหตุผลที่มีราคาถูกนั้นไม่ได้แปลว่าเป็นของเลียนแบบ แต่เป็นเพราะสินค้าเหล่านั้นยังไม่ได้ถูกคิดภาษีนำเข้า จึงทำให้มีราคาถูกกว่าสินค้าแบรนด์เนมที่ขายในประเทศนั่นเอง แน่นอนว่าสายช้อปต้องไม่พลาด ที่จะซื้อของแบรนด์เนมติดไม้ติดมือหรือหิ้วกลับมาฝากคนรู้จักอย่างแน่นอน ซึ่งในไทยมียกเว้นภาษีให้สำหรับสินค้าแบรนด์เนมที่มีจุดประสงค์ในการซื้อมาใช้ส่วนตัว แต่ถ้าซื้อมาจำนวนมากเกินไป อาจโดนปรับภาษีนำเข้า จนมีราคาแพงกว่าสินค้าแบรนด์เนมที่ซื้อในประเทศไทยได้เลยทีเดียว

ดังนั้นบทความนี้จะพามารู้จักกับภาษีแบรนด์เนม หรือที่หลายๆ คนเรียกว่าภาษีหิ้วของว่าคืออะไร สินค้าใดบ้างที่ต้องเสียภาษี มีอัตราเท่าไรบ้าง เพื่อให้สายช้อปไม่ถูกปรับภาษีนำเข้าจนต้องมาเสียใจภายหลังได้

ภาษีนำเข้าคืออะไร มีอัตราอย่างไร

ภาษีนำเข้า เป็นภาษีที่จัดเก็บโดยกรมศุลกากร โดยจะเก็บภาษีจากผู้ที่นำสินค้าเข้ามาในประเทศไทยเพื่อนำภาษีนั้นไปใช้ในการพัฒนาประเทศ และเป็นการสร้างกำแพงไม่ให้สินค้าจากต่างประเทศมาทำลายการค้าภายในประเทศได้ เพราะถ้าหากไม่มีการเก็บภาษีนำเข้า ก็จะสามารถนำสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศเข้ามาขายได้อย่างง่ายดาย ซึ่งจะส่งผลให้สินค้าลักษณะเดียวกันในประเทศขายได้ยากมากขึ้น 

องค์ประกอบของภาษีนำเข้าจะมี 2 ส่วน ได้แก่

1.ภาษีนำเข้า กรมศุลกากรมีหน้าที่จัดเก็บ โดยอัตราภาษีนำเข้าที่กรมศุลกากรกำหนดไว้จะแบ่งตามชนิดของสินค้า ดังนี้

  • คิดภาษี 30% สำหรับสินค้าประเภทเสื้อผ้า หมวก เข็มขัด รองเท้า เครื่องสำอาง น้ำหอม 
  • คิดภาษี 20% สำหรับสินค้ากระเป๋าแบรนด์เนม 
  • คิดภาษี 10% สำหรับสินค้าที่เป็น CD DVD อัลบั้มเพลง ตุ๊กตา 
  • คิดภาษี 5% สำหรับสินค้านาฬิกาข้อมือ แว่นตา แว่นกันแดด 
  • ได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับสินค้าอุปกรณ์ไอทีต่างๆ แผงวงจรไฟฟ้า โทรศัพท์ กล้อง แต่ยังต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

2.ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT 7% นอกจากจะจัดเก็บภาษีนำเข้าแล้ว กรมศุลกากรจะต้องเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อนำส่งให้กรมสรรพสามิตด้วย โดยคำนวณตามราคาสินค้าที่บวกภาษีนำเข้าแล้ว

ตัวอย่างการคำนวณภาษีนำเข้า สมมุติว่าซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมมาในราคา 40,000 บาท 

  1. คิดภาษีนำเข้ากระเป๋าแบรนด์เนม 40,000×20% = 8,000 บาท 
  2. คิดภาษีมูลค่าเพิ่ม (40,000+8,000)x7% = 3,360 บาท

รวมภาษีนำเข้าที่ต้องเสีย คือ 8,000+3,360 = 11,360 บาท

สิ่งของอะไรบ้างที่เสี่ยงโดนภาษี ? 

โดยปกติแล้วสิ่งของทั่วไป หรือของใช้ส่วนตัวที่เป็นไปตามข้อกำหนดจะไม่ถูกเก็บภาษีนำเข้าอยู่แล้ว แต่จะมีสินค้าบางอย่างที่ถูกกำหนดปริมาณการนำเข้าไว้ หรือสินค้าที่เป็นของต้องกำกัด ซึ่งต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง สินค้าเหล่านี้จำเป็นต้องเสียภาษีอย่างแน่นอน โดยสินค้าที่ต้องเสียภาษีนำเข้าและสินค้าที่เป็นของต้องกำกัด มีดังนี้

ของต้องกำกัดมีอะไรบ้าง

  • อาวุธปืน กระสุนปืน วัตถุระเบิด
  • บุหรี่ ยาสูบ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • อาหาร ยา เครื่องสำอาง และอาหารเสริม
  • พืชและส่วนต่างๆ ของพืช
  • สัตว์มีชีวิตและซากสัตว์
  • ชิ้นส่วนยานพาหนะ
  • เครื่องมือวิทยุสื่อสาร อุปกรณ์โทรคมนาคม
  • ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ พระพุทธรูป

สินค้าอะไรบ้างที่ต้องเสียภาษีนำเข้า

  • งของที่นำไปจากประเทศไทยไว้ก่อนเดินทาง จะไม่ถูกคิดมูลค่าด้วย)
  • สิ่งของที่มีลักษณะทางการค้า แม้จะมีมูลค่าต่ำกว่า 20,000 บาท
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินกว่า 1 ลิตร
  • บุหรี่เกินกว่า 200 มวน รวมไปถึงยาสูบเกินกว่า 250 กรัม

ไม่เคยรู้เรื่องนี้มาก่อน ปกติก็ซื้อแบรนด์เนมทำไมไม่ต้องจ่ายภาษี ?

หลายๆ คนมีข้อสงสัยว่าปกติก็ซื้อของแบรนด์เนมจากต่างประเทศ แต่ไม่เห็นต้องจ่ายภาษี สรุปแล้วกรมศุลกากรคิดภาษีแบรนด์เนมอย่างไรกันแน่ คำตอบคือการเรียกปรับภาษีขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ศุลกากร ซึ่งส่วนมากเจ้าหน้าที่จะยกเว้นภาษีให้กับสินค้าที่ซื้อมาเพื่อใช้การส่วนตัว โดยเจ้าหน้าที่จะพิจารณาจากลักษณะแพ็กเกจของสินค้า หากมีการแกะกล่องและนำออกมาใช้แล้ว เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะพิจารณาว่าเป็นของใช้ส่วนตัวและละเว้นการเสียภาษี แต่ในทางกลับกัน หากแพ็กเกจแบรนด์เนมที่ซื้อมายังสมบูรณ์ครบครัน ยังไม่มีการใช้งาน เจ้าหน้าที่อาจพิจารณาว่าเป็นสินค้านำเข้าในลักษณะค้าขายได้ เพราะสินค้าแบรนด์เนมที่ยังไม่แกะกล่องจะสามารถนำไปขายต่อในราคาสูงได้นั่นเอง นอกจากพิจารณาจากลักษณะแพ็กเกจแล้ว ยังพิจารณาจากจำนวนสินค้าอีกด้วย หากหิ้วของแบรนด์เนมมาจำนวนไม่มาก และไม่สำแดงพิรุธว่าจะนำไปขายต่อ เจ้าหน้าที่สามารถพิจารณาละเว้นภาษีได้

อย่างไรก็ตาม AIRPORTELs ขอแนะนำว่าหากหิ้วสินค้าแบรนด์เนมมาจำนวนมาก และไม่สามารถแกะกล่องมาใช้เองได้ครบทุกชิ้น ก็ควรไปสำแดงกับเจ้าหน้าที่เพื่อไม่ให้เสียค่าปรับแสนแพงจะดีกว่า

หากต้องชำระภาษีศุลกากรขาเข้า ต้องเตรียมตัวอย่างไร ? 

กรณีที่ไม่มีของต้องเสียภาษีนำเข้า สามารถเดินผ่านได้ที่ช่องไม่มีสิ่งของต้องสำแดง หรือ ช่องเขียว (Nothing to declare) ได้เลย แต่ถ้าหากมีของที่ต้องเสียภาษีให้เดินผ่านช่องมีสิ่งของต้องสำแดงหรือ ช่องแดง (Goods to declare) เพื่อชำระภาษีศุลกากรขาเข้า โดยสิ่งที่ต้องเตรียมคือ หนังสือเดินทาง และใบเสร็จรับเงินสินค้า 

ใบเสร็จรับเงินถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ภาษีแบรนด์เนมที่ต้องเสียนั้นคำนวณออกมาได้อย่างถูกต้องที่สุด เพราะหากไม่มีใบเสร็จรับเงิน เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะตีราคาจากเว็บไซต์หรือฐานข้อมูลที่จำหน่ายสินค้านั้นๆ ซึ่งสินค้าอาจถูกตีราคาถูกกว่า หรือแพงกว่าราคาจริงที่ซื้อมาได้ ดังนั้นใบเสร็จรับเงินจึงเป็นหลักฐานยืนยันที่ช่วยให้จ่ายภาษีแบรนด์เนมในราคาที่ถูกต้องได้ แต่ในกรณีที่เป็นสินค้าประเภทของสะสมที่ไม่มีราคาที่แน่นอน และมีราคาสูงมาก อาจขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ศุลกากรว่าต้องเสียภาษีเท่าไร แต่โดยปกติแล้วจะเสียภาษีในราคาที่ไม่สูงมาก

ทำยังไงไม่ให้โดนภาษีแบรนด์เนม

วิธีการหิ้วของแบรนด์เนมโดยไม่ให้โดนภาษีแบรนด์เนม คือ พยายามซื้อไม่ให้มีมูลค่ารวมทั้งหมดเกินเกณฑ์ราคา 20,000 บาท รวมถึงไม่ซื้อจำนวนมากเกินไป เพราะถึงแม้ว่าจะหิ้วมามูลค่ารวมไม่ถึง 20,000 บาท แต่การซื้อจำนวนมากอาจเข้าข่ายลักษณะเพื่อค้าขายและเสียภาษีได้ นอกจากนั้นควรแสดงเจตนาให้ชัดเจนว่าซื้อมาเพื่อใช้เป็นของส่วนตัว อย่างการแกะกล่องออกมาใช้เลย รวมไปถึงไม่ซื้อของแบรนด์เนมรุ่นเดิมซ้ำๆ กันหลายชิ้น ถึงแม้ว่าจะเป็นการซื้อเพื่อเป็นของฝากให้กับคนรู้จัก แต่เจตนานั้นไม่สามารถพิสูจน์ได้

คุ้มไหมที่ไม่สำแดงสินค้าเพื่อเลี่ยงภาษี

หากคิดจะไม่สำแดงสินค้าเพื่อเลี่ยงภาษีล่ะก็คงไม่ใช่ความคิดที่ดีนัก เพราะหากหลีกเลี่ยงไม่สำแดงสินค้า และเดินผ่านเข้าช่องเขียว อาจถูกสุ่มตรวจสัมภาระ เมื่อพบว่ามีของที่ต้องเสียภาษีอยู่ด้วย จะถูกปรับเงินสูงสุด 4 เท่าของราคาสินค้าที่รวมภาษี หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ อีกทั้งยังถูกยึดสินค้าที่นำเข้ามาด้วย เรียกได้ว่าทั้งเสียเงิน เสียของ เสียเวลา ไม่คุ้มอย่างมาก หากรู้ตัวว่ามีสินค้าที่ต้องเสียภาษีแบรนด์เนมก็ควรสำแดงต่อเจ้าหน้าที่และจ่ายภาษีอย่างถูกต้องจะดีกว่า

ภาษีนำเข้า ภาษีแบรนด์เนม หรือภาษีหิ้วของ คือภาษีที่กรมศุลกากรต้องจัดเก็บกับผู้ที่นำสินค้าเข้ามาในประเทศไทย โดยของที่ต้องเสียภาษีคือของใช้ส่วนตัวที่มีมูลค่าเกิน 20,000 บาท หรือสินค้าที่มีจำนวนมากที่เข้าข่ายลักษณะค้าขาย รวมไปถึงแอลกอฮอล์ บุหรี่ หรือยาสูบที่มีปริมาณหรือน้ำหนักเกินเกณฑ์ ส่วนของที่ไม่ต้องเสียภาษีคือของใช้ส่วนตัวที่มีมูลค่าไม่เกิน 20,000 บาท หรือแอลกอฮอล์ บุหรี่ ยาสูบที่ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด รวมถึงไม่ใช่ของต้องห้ามหรือของกำกัด และอุปกรณ์ไอทีต่างๆ แผงวงจรไฟฟ้า โทรศัพท์ กล้อง ที่ได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้า แต่ยังต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% อยู่ดี 

ส่วนใครที่ซื้อของแบรนด์เนมแต่ไม่อยากเสียภาษีนำเข้า ให้ซื้อของที่มูลค่าไม่มากและไม่ซื้อจำนวนมากเกินไป หรือใช้วิธีแกะกล่องแล้วใช้งานเลยเพื่อแสดงเจตนาว่าเป็นของใช้ส่วนตัว แต่ AIRPORTELs ไม่แนะนำให้หลีกเลี่ยงการสำแดงสินค้าเพื่อเลี่ยงภาษี เพราะไม่คุ้มค่า อาจเสียค่าปรับหรือถูกจำคุกได้

เอาของเหลวขึ้นเครื่องได้ไหม ปริมาณเท่าไร

ขณะการเตรียมกระเป๋าเชื่อเลยว่าหลายๆ คนจะต้องเตรียมของอย่างสบู่ แชมพู ครีมนวดหรือของเหลวอื่นๆ ใส่กระเป๋า แต่พอไปสนามบินกลับพบว่ามีข้อห้าม ห้ามนำของเหลวขึ้นเครื่องในจำนวนจำกัด เลยจำเป็นที่จะต้องทิ้งของเหล่านั้นไว้ในสนามบิน แต่ถ้าหากเราได้รู้ข้อบังคับเกี่ยวกับการนำของเหลวขึ้นเครื่อง ก็จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ โดยรายละเอียดที่สำคัญและจำเป็นต้องรู้มีดังต่อไปนี้

เอาของเหลวขึ้นเครื่องได้ไหม ปริมาณเท่าไร
ทำไมต้องกำหนดปริมาณของเหลวขึ้นเครื่อง

ทำไมต้องกำหนดปริมาณของเหลวขึ้นเครื่อง

การที่ไม่สามารถนำของของเหลวขึ้นเครื่องบินได้ เกิดจากการที่ของเหลวบางชนิดหากนำมารวมกัน ก็สามารถทำเป็นระเบิดและระเบิดเครื่องบินได้ ในส่วนนี้ถือว่าเป็นความปลอดภัยที่เน้นในกรณีเกิดเหตุร้ายขณะที่อยู่บนเครื่องบิน เพราะครั้งหนึ่งเคยเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นมาแล้ว จึงเป็นมาตรฐานทั่วโลกที่ผ่านองค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ที่ได้กำหนดไว้ โดยห้ามขึ้นห้องโดยสารเด็ดขาด จะสามารถทำได้แค่โหลดใต้ท้องเครื่องเท่านั้น

ของเหลวหมายถึงอะไรได้บ้าง

ของเหลวหมายถึงอะไรได้บ้าง

สำหรับของเหลวขึ้นเครื่องบินโหลดลงกระเป๋าใต้ท้องเครื่อง จำเป็นที่จะต้องรู้ว่าของเหลวเหล่านั้นสำหรับการบินหมายถึงอันไหนบ้าง ซึ่งการใช้คำว่าของเหลวก็แทบครอบคลุมทุกอย่าง โดยสามารถแยกเป็นประเภทได้ดังต่อไปนี้

  • อาหารที่มีของเหลวในปริมาณมาก ยกตัวอย่าง เครื่องดื่ม น้ำซุป น้ำเชื่อม ซอสชนิดต่างๆ น้ำพริก และอาหารชนิดอื่นๆ ที่มีน้ำมากมาย
  • เครื่องสำอาง ยกตัวอย่าง ครีมบำรุง โลชั่น น้ำหอม โทนเนอร์ หรืออื่นๆ ที่มาในรูปแบบน้ำ 
  • เครื่องสำอางที่มีของแข็งและของเหลวผสมกัน ยกตัวอย่าง มาสคาร่า ลิปกลอส และอื่น ๆ อีกมากมาย
  • เจล ยกตัวอย่าง ยาสีฟัน ยาสระผม เจลอาบน้ำ ที่เซ็ตผม และอื่นๆ อีกมากมาย
  • สิ่งที่ต้องฉีดพ่น ยกตัวอย่าง สเปรย์ โฟม ซึ่งสิ่งเหล่านี้หากทำบรรจุภัณฑ์แบบสเปรย์ก็สามารถตัดทิ้งได้เลย
ของเหลวขึ้นเครื่องได้กี่ ml.

ของเหลวขึ้นเครื่องได้กี่ ml.

สำหรับปริมาณของเหลวขึ้นเครื่องจะมีการกำหนดชัดเจนว่าสามารถนำขึ้นได้จำนวนเท่าไหร่ และสามารถนำขึ้นได้กี่มิลลิลิตร ซึ่งเนื้อหาในส่วนนี้จะมีคำตอบให้ทุกคนทำความเข้าใจ และสามารประเมินได้ว่าควรจะเอาของเหลวชนิดไหนขึ้นเครื่องได้บ้าง และสามารถนำเครื่องได้ในปริมาณที่เท่าไหร่ เพื่อที่ว่าทุกคนจะสามารถแพ็กกระเป๋าขึ้นเครื่องได้ถูก โดยมีคำตอบดังต่อไปนี้

กรณีคนทั่วไป

  • การกำหนดปริมาณต่อชิ้น นับเป็นเรื่องสำคัญที่คนทั่วไปจำเป็นต้องรู้เพื่อที่จะไม่พลาดระหว่างการโหลดกระเป๋าขึ้นเครื่อง เบื้องต้นใน 1 บรรจุภัณฑ์ จะสามารถนำขึ้นเครื่องได้ใน 100 มิลลิลิตร ที่จะต้องมีระบุตัวเลขข้างขวดชัดเจน
  • การกำหนดจำนวนต่อชิ้น โดยปกติคนทั่วไปสามารถนำขึ้นไปสูงสุดได้ 1,000 มิลลิลิตร ดังนั้นจึงสามารถแบ่งออกเป็นขวดละ 100 มิลลิลิตรให้ได้สูงสุด 10 ขวด ซึ่งห้ามเกินมากกว่านี้ โดยจำนวนนี้รวมของเหลวทุกประเภทแล้ว
  • สำหรับของเหลวที่ได้มีการนำขึ้นเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นกี่ขวดก็ตามขวดใส่ลงในกระเป๋าพลาสติกใสใส่รวมกัน ที่มีขนาดไม่เกิน 20 x 20 เซนติเมตร และต้องปิดผนึกให้เรียบร้อย
  • ในส่วนของของเหลวขึ้นเครื่องบินโหลดกระเป๋าได้อย่างเจล และสเปรย์ จำเป็นที่จะต้องซื้อของจากสนามบิน ณ ร้านค้าที่ได้รับอนุญาตให้ขายและสามารถนำขึ้นเครื่องได้ หากใครที่จำเป็นต้องใช้ของเครื่องใช้อย่างเจลหรือสเปรย์แนะนำว่าซื้อที่สนามบินจะชัวร์กว่า และต้องปิดผนึกให้เรียบร้อย

กรณีคนที่มีโรคประจำตัวหรือผู้ป่วยที่ต้องพกยา

  • ในกรณีที่มีผู้โดยสารที่มีโรคประจำตัวหรือผู้ป่วยที่จำเป็นจะต้องพกยา จะมีเงื่อนไขไม่ตรงกับบุคคลทั่วไป นั่นก็คือกา่รนำของเหลวขึ้นเครื่อง อย่างเจล สเปรย์หรือยาในรูปแบบอื่น จะต้องมีการระบุประเภทของยา มีใบแพทย์รับรอง มีฉลากข้อมูลของยาครบพร้อม และต้องมีการระบุชื่อผู้โดยสารที่เป็นเจ้าของยาชนิดนั้นๆ ด้วย โดยจะพกได้แค่จำนวนที่เหมาะแก่การเดินทางบนน่านฟ้าเท่านั้น
  • ข้อยกเว้นในการพกยา หากเป็นยาสามัญประจำบ้านที่มีการใช้อยู่ทั่วไปสามารถพกพาได้ ตามจำนวนที่ได้มีการระบุไว้ตามเงื่อนไขของสายการบิน ทั้งนี้ยาบางประเภทที่อาจจะถูกกฎหมายในไทย แต่ผิดกฎหมายทางต่างประเทศ หรือเป็นยาที่ไม่อนุญาตให้ข้ามประเทศก็ควรจำเป็นต้องรู้ก่อนนำขึ้นเครื่อง เพราะไม่เช่นนั้นจะเกิดปัญหาได้

กรณีผู้ปกครองที่เดินทางกับเด็กเล็กหรือทารก

  • สำหรับผู้ปกครองที่เดินทางกับเด็กเล็กหรือทารก ที่จะเป็นจะต้องมีอาหารทางโภชนาการเพื่อให้ลูกน้อยสามารถทานได้อย่างครบถ้วน ในจุดนี้สามารถนำขึ้นเครื่องได้ แต่จำเป็นจะต้องตรงตามข้อกำหนดทางการแพทย์
  • ในส่วนของอาหารของเด็กเล็กและทารกก็สามารถนำขึ้นเครื่องได้ด้วยเช่นกัน โดยปริมาณเบื้องต้นก็สามารถดูได้จากระยะที่ต้องเดินทาง แต่ทั้งนี้ในเรื่องของน้ำหรือนมจำเป็นจะต้องเตรียมไปให้พร้อม เพื่อให้ถูกสุขอนามัยของเด็กเล็กและทารกให้ได้มากที่สุด
  • ในส่วนข้าวของเครื่องใช้ของทารก ก็สามารถนำพกขึ้นเครื่องได้แต่จำเป็นที่จะต้องมีปริมาณของเหลว ขึ้นเครื่อง 100 มิลลิลิตรเท่านั้น โดยข้างของเครื่องใช้ได้แก่ โลชั่นสำหรับทาผิว ครีมกันผื่นสำหรับเด็ก และอื่นๆ ที่จะเป็นต้องใช้ตลอดการเดินทางในทริปนั้นๆ 

กรณีสินค้าจากร้านปลอดภาษี

  • อีกเงื่อนไขหนึ่งที่นับว่าเป็นเรื่องน่าสนใจจากการซื้อสินค้าจากร้านปลอดภาษีในสนามบิน จะสามารถนำของเหลวขึ้นเครื่องได้ แต่จะต้องบรรจุในถุงซิปล็อคเพื่อให้ง่ายแก่การตรวจสอบ พร้อมกันนั้นยังจำเป็นอย่างยิ่งที่ตัวสินค้าที่เป็นของเหลวจะต้องไม่มีร่องรอยของการแกะใช้งาน ถึงจะสามารถนำขึ้นเครื่องได้
ข้อห้ามนำของเหลวขึ้นเครื่องเพิ่มเติม

ข้อห้ามนำของเหลวขึ้นเครื่องเพิ่มเติม

  • สำหรับการเดินทางภายในประเทศที่แต่เดิมมีนโยบายว่า ของเหลวขึ้นเครื่องสามารถนำน้ำพริก แกง น้ำจิ้ม และอาหารพื้นเมืองขึ้นเครื่องได้เป็นอันว่าไม่สามารถทำได้แล้ว แต่ใช่ว่าจะนำขึ่นเครื่องไม่ได้เลย เพราะสามารถนำอาหารเหล่านั้นโหลดใต้ท้องเครื่องแทนได้
การปิดผนึกถุง

การปิดผนึกถุง

  • สำหรับของเหลวขึ้นเครื่องที่ได้มีการระบุขนาดขวดว่าจะต้องเป็น 100 มิลลิกรรม ไม่ว่าผู้โดยสารจะพกอะไรมาจำเป็นที่จะต้องนำขวดที่เป็นของเหลว 100 มิลลิกรัม นำมาปิดผนึกลงในถุงพลาสติกแบบใส เพื่อง่ายแก่การตรวจสอบ
  • สำหรับการเลือกใช้ถุงพลาสติกแบบใส แนะนำว่าให้เลือกแบบซิปล็อคที่จะช่วยง่ายต่อการตรวจว่าตรงกับเงื่อนไขที่สามารถนำขึ้นเครื่องได้หรือไม่ และสามารถพกได้ถุงเดียวเท่านั้น สำหรับกรณีที่จะต้องบรรจุของเหลวขึ้นเครื่องบิน โดยขนาดถุงจะอยู่ที่ 20 x 20 เซนติเมตรเท่านั้น
มาตรการเมื่อพบว่าผู้โดยสารพกของเหลวขึ้นเครื่องเกินกำหนด

มาตรการเมื่อพบว่าผู้โดยสารพกของเหลวขึ้นเครื่องเกินกำหนด

เมื่อผู้โดยสารได้ไปถึงในส่วนของการตรวจสอบของเหลวขึ้น ของเหลวขึ้นเครื่อง ทางเจ้าหน้าที่มีการตรวจสอบอย่างละเอียดและถี่ถ้วนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หากพบว่าปริมาณของเหลวที่พกมานั้นเกินกว่าที่กำหนด หรือไม่ตรงตามเงื่อนไขข้อยกเว้นต่างๆ จำเป็นที่จะต้องทิ้งของเหลวเหล่านั้นก่อนขึ้นเครื่องทันที

การกำหนดปริมาณของเหลว ขึ้นเครื่อง นับว่าเป็นเรื่องสำคัญมากๆ โดยเบื้องต้นจะสามารถพกของเหลวได้ในจำนวน 100 มิลลิตรต่อ 1 ขวด โดยสามารถพกได้มากสุด 1,000 มิลลิตร หรือมากสุด 10 ขวด ซึ่งของเหลวพวกนี้สามารถเป็นได้ทั้งอาหาร เครื่องสำอาง ข้าวของเครื่องใช้ หรืออื่นๆ ที่จำเป็นจะต้องนำมารวมกันใส่ถุงซิปล็อคอย่างดีเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ง่ายๆ และสามารถรู้ได้ว่าของเหลวขึ้นเครื่อง ชนิดนั้น ๆ ถูกต้องกับข้อกำหนดหรือไม่

8 เคล็ดลับ เอาถุงกอล์ฟขึ้นเครื่องบินยังไงให้ปลอดภัยไม่เสียหาย

‘กอล์ฟทริป’ หรือการจัดทริปไปตีกอล์ฟที่สนามดังๆ ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ อย่างอินโดนีเซีย เวียดนาม จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย บัลแกเรีย ตุรกี สเปน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เกาหลีใต้ แอฟริกาใต้ นิวซีแลนด์ สกอตแลนด์ เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ได้รับความนิยมมากในกลุ่มผู้ชื่นชอบการเล่นกอล์ฟในปัจจุบัน 

เหตุผลเพราะสนามกอล์ฟของแต่ละประเทศล้วนมีลักษณะสนาม เนินหญ้า ลม และอากาศแตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่การได้ไปวัดฝีมือบนแฟร์เวย์สนามทั่วโลก เป็นหนึ่งในภารกิจสุดท้ายที่คนรักกอล์ฟทั้งหน้าเก่าหน้าใหม่ตั้งเป้าจะพิชิตให้ได้มากที่สุด 

8 เคล็ดลับเอาถุงกอล์ฟขึ้นเครื่อง

แต่ถึงอย่างนั้นมั่นใจว่าอุปสรรคที่สร้างความหนักใจให้กับคนรักกอล์ฟส่วนใหญ่เวลาเดินทางด้วยเครื่องบินคือ การนำถุงกอล์ฟขึ้นเครื่องบิน เรียกว่าแค่เริ่มหลายคนก็บ่นปวดหัวเอามือกุมขมับแล้ว โดยเฉพาะนักกอล์ฟมือใหม่ที่เพิ่งไปกอล์ฟทริปครั้งแรก เนื่องจากไม่รู้ว่าควรเลือกถุงกอล์ฟขึ้นเครื่องบินแบบไหน ควรใส่ถุงคลุมถุงกอล์ฟขึ้นเครื่องบินหรือไม่ หรือควรจัดวางอุปกรณ์กอล์ฟในถุงอย่างไรให้ปลอดภัย ไม่แตกหักระหว่างการเดินทาง 

ดังนั้นเพื่อช่วยให้นักกอล์ฟทุกคนทำตามฝันได้โดยไม่ต้องห่วงกังวลเรื่องเซ็ตอุปกรณ์กอล์ฟ วันนี้เรามีเคล็ดลับดีๆ ว่าถ้าอยากจะพาหัวไม้คู่ใจไปลุยนอกประเทศ ต้องเตรียมตัวอย่างไรมาฝาก

1. อย่างกค่าโหลด

ปกติแล้วถุงกอล์ฟที่บรรจุอุปกรณ์กอล์ฟครบเซ็ตมีน้ำหนักมากกว่า 15 กิโลกรัมขึ้นไป เพราะฉะนั้นจึงทำให้ไม่สามารถถือขึ้นเครื่องได้ ต้องโหลดถุงคลุมถุงกอล์ฟขึ้นเครื่องบินอย่างเดียว สำหรับการคิดน้ำหนักสัมภาระประเภทอุปกรณ์กอล์ฟจะคิดรวมกับสัมภาระทั้งหมดที่โหลดขึ้นเครื่องหรือ Checked baggage ซึ่งแต่ละสายการบินจะแสดงกำหนดน้ำหนักสัมภาระไว้อย่างชัดเจน โดยแตกต่างกันระหว่างประเภทตั๋วเดินทางและกลุ่มประเทศปลายทาง 

อย่างการเดินทางกับสายการบินไทยด้วยตั๋วเครื่องบินชั้นหนึ่ง หากเดินทางไปกลับกลุ่มประเทศเอเชีย ออสเตรเลีย ยุโรป  แอฟริกา และตะวันออกกลาง สามารถโหลดสัมภาระได้น้ำหนักรวมสูงสุด 50 กิโลกรัม ชั้นธุรกิจและชั้นประหยัดพิเศษน้ำหนักรวมสูงสุด 40 กิโลกรัม แต่กรณีชั้นประหยัดน้ำหนักรวมสูงสุด 20 -35 กิโลกรัม ส่วนการเดินทางไปกลับประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา สามารถโหลดสัมภาระได้จำนวน 2 ใบ ชั้นหนึ่งและชั้นธุรกิจน้ำหนักรวมสูงสุด 32 กิโลกรัม ส่วนชั้นประหยัดกำหนดน้ำหนักรวมเพียง 23 กิโลกรัม 

ดังนั้นไม่ว่าทริปไกลหรือใกล้ควรคำนวณน้ำหนักสัมภาระทั้งหมดของตัวเองทั้งขาไปและขากลับให้ละเอียด หากรู้สึกว่าน้ำหนักน่าจะเกินกว่ากำหนดให้ซื้อน้ำหนักกระเป๋าเพิ่มล่วงหน้าเพื่อลดความยุ่งยากวันเดินทาง แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่ห้ามทำคือ การลดน้ำหนักสัมภาระด้วยการเลือกถุงกอล์ฟขึ้นเครื่องบินราคาถูกที่มีน้ำหนักเบา เพื่อที่จะได้จ่ายค่าน้ำหนักกระเป๋าน้อยลง แต่เชื่อเถอะว่าไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายที่ต้องซื้อไม้กอล์ฟใหม่ทั้งหมด หากเกิดความเสียหายระหว่างการเดินทาง ส่วนคนรักกอล์ฟที่ยังไม่มีถุงกอล์ฟไว้ใช้เดินทาง แนะนำให้เลือกแบบ Travel Bag ที่มาพร้อมถุงคลุมถุงกอล์ฟขึ้นเครื่องบินและออกแบบให้เหมาะกับการนำขึ้นเครื่องบิน รับรองว่าปลอดภัยมากขึ้น 

ห่อถุงกอล์ฟด้วยพลาสติก

2. ห่อถุงกอล์ฟด้วยพลาสติกหรือห่อบับเบิ้ล

นอกจากเลือกใช้ถุงกอล์ฟที่มีถุงคลุมถุงกอล์ฟขึ้นเครื่องบินแล้ว อีกขั้นตอนที่ห้ามลืมเด็ดขาดคือ การห่อถุงกอล์ฟขึ้นเครื่องบินด้วยพลาสติกหรือบับเบิ้ลกันกระแทก เพราะนอกจากปกป้องถุงกอล์ฟจากกระเป๋าเดินทางใบอื่นที่อาจเคลื่อนกระแทกหรือทับจนถุงกอล์ฟและอุปกรณ์ข้างในได้รับความเสียหายแล้ว 

การห่อถุงกอล์ฟขึ้นเครื่องบินด้วยพลาสติกหรือบับเบิ้ลยังเป็นวิธีง่ายๆ ที่ใช้ตรวจสอบว่าถุงกอล์ฟไม่ได้ถูกรื้อค้นระหว่างเดินทางอีกด้วย หากเห็นว่าพลาสติกหรือบับเบิ้ลส่วนนอกมีร่องรอยการเปิดออก ควรรีบตรวจสอบอุปกรณ์กอล์ฟทั้งหมด เพื่อตรวจสอบว่าอยู่ครบถ้วนหรือได้รับความเสียหายหรือไม่

3. อย่าลืมทำให้กระเป๋าของเราเด่น

การหยิบกระเป๋าเดินทางผิดหรือหยิบสลับกัน เป็นหนึ่งในปัญหาคลาสสิกที่พบได้บ่อยทุกสนามบิน เหตุผลนอกจากกระเป๋าสัมภาระส่วนใหญ่จะมีรูปร่างลักษณะคล้ายกันแล้ว ยังเกิดจากความเร่งรีบอยากได้สัมภาระของตัวเองเร็วๆ 

โดยเฉพาะถุงกอล์ฟที่มีไม้กอล์ฟคู่ใจราคาแพงอยู่ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่แค่เห็นถุงกอล์ฟสีเดียวหรือมีลักษณะคล้ายกับของตัวเองเคลื่อนมาตามสายพานหลายคนก็รีบวิ่งไปหยิบไว้ทันที ซึ่งหากไหวตัวทันอาจนำกลับไปเปลี่ยนที่สายพานได้ทัน แต่ถึงอย่างนั้นก็มีไม่น้อยที่ชะล่าใจถือติดมือไปถึงที่พัก กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็ตอนเปิดออกมาพบว่าอุปกรณ์กอล์ฟทั้งหมดไม่ใช่ของตัวเอง ทำให้ต้องเสียเวลาย้อนกลับมายื่นคำร้องต่อสายการบินที่สนามบินเพื่อตามหาถุงกอล์ฟของตัวเองอีกรอบ เสียทั้งเวลาและเสี่ยงต่อการสุญหายด้วย 

ดังนั้นเพื่อตัดความปัญหาเรื่องนี้ ควรเลือกถุงคลุมถุงกอล์ฟขึ้นเครื่องบินที่มีสีและลวดลายที่โดดเด่นหรือนำผ้ามาผูกไว้ที่หูหิ้วเพื่อช่วยให้เห็นได้ง่ายขึ้นและรู้ได้ทันทีว่าเป็นถุงกอล์ฟของตัวเอง รวมทั้งยังป้องกันไม่ให้คนอื่นหยิบผิดได้อีกด้วย

ถุงกอล์ฟไม่โดดเด่น

4. ถอดหัวออกจากไม้

ข้อดีของไม้กอล์ฟรุ่นใหม่คือ สามารถถอดหัวไม้กอล์ฟหรือ Club Head ออกจากด้ามไม้กอล์ฟได้ ทำให้ง่ายต่อการจัดวางอุปกรณ์กอล์ฟทั้งหมดในถุงกอล์ฟขึ้นเครื่องบินมากขึ้น ซึ่งนอกจากช่วยลดโอกาสเกิดความเสียหายกับอุปกรณ์เวลาเคลื่อนย้ายน้อยลงแล้ว ยังสามารถพันบับเบิ้ลได้ครอบคลุมทุกส่วน แม้ว่าจะต้องเสียเวลาแกะ แต่ปลอดภัยไม้กอล์ฟคู่ใจไม่เป็นรอยแน่นอน

5. ใช้ Stiff Arm สำหรับถุงกอล์ฟ

ถึงแม้ว่าคนรักกอล์ฟส่วนใหญ่จะเลือกใช้ถุงกอล์ฟที่มีความแข็งแรง พันด้วยพลาสติก และใส่ถุงคลุมถุงกอล์ฟขึ้นเครื่องบินเพื่อให้อุปกรณ์กอล์ฟที่อยู่ด้านในปลอดภัย แต่หลังจากถุงกอล์ฟขึ้นเครื่องบินแล้ว ไม่อาจการันตีได้ว่าถุงกอล์ฟจะอยู่ในสภาพสมบูรณ์อย่างที่คิดไว้ 

เนื่องจากเมื่อถุงกอล์ฟไปอยู่รวมกับสัมภาระอื่นๆ อาจโดนทับหรือกระแทกจนเสียรูปทรง และก่อให้เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์ที่อยู่ภายในถุงกอล์ฟ 

อย่างไรก็ตามปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการอุปกรณ์ที่เรียก Stiff Arm หรืออุปกรณ์ค้ำเพื่อให้ถุงกอล์ฟอยู่ทรง มีลักษณะเป็นแท่งอลูมิเนียมอัลลอยด์และด้านบนมีหัวก้านหกเหลี่ยม แต่แนะนำว่าควรเลือก Stiff Arm ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ซึ่งแม้ว่าจะมีราคาสูง แต่มาพร้อมความแข็งแรงทนทาน ปรับระดับได้ง่าย น้ำหนักเบา และไม่เป็นสนิมใช้งานนานขึ้น

จุถุงกอล์ฟไม่ให้มีช่องว่าง

6. จุถุงกอล์ฟให้เต็ม ไม่ให้เหลือช่องว่าง

เวลาใส่อุปกรณ์ทั้งหมดลงในถุงกอล์ฟขึ้นเครื่องบิน ควรตรวจสอบพื้นที่ว่างภายในถุงกอล์ฟ หากมีพื้นที่เหลือแนะนำให้ใส่โฟม กระดาษ หรือนุ่นเข้าไปให้เต็มช่องว่างให้แน่น เนื่องจากอุปกรณ์กอล์ฟส่วนใหญ่เป็นของแข็ง หากเกิดการกระทบกันในถุงกอล์ฟระหว่างการขนย้ายอาจก่อให้เกิดการความเสียหายกับอุปกรณ์ได้ ซึ่งการลดช่องว่างด้วยโฟม กระดาษ หรือนุ่นให้เหลือน้อยที่สุด นอกจากช่วยลดโอกาสเกิดการกระแทกแล้ว ยังเป็นการลดการขยับหรือเคลื่อนที่ของอุปกรณ์กอล์ฟที่อยู่ด้านในด้วย

7. บินด้วย Direct Flight ถ้าเป็นไปได้

แน่นอนว่าการเดินทางด้วยกระเป๋าเดินทางแบบลากเพียง 1 – 2 ใบ อาจไม่มีปัญหากับการ Transfer Flight แต่สำหรับคนรักกอล์ฟที่เดินทางไปพร้อมถุงกอล์ฟที่อัดแน่นไปด้วยไม้กอล์ฟแบบครบชุด 14 อัน การ Transfer Flight อาจไม่ใช่เรื่องสนุก เพราะนอกจากต้องไปลุ้นเพื่อรอถุงกอล์ฟของตัวเองสายพานหลายรอบแล้ว ยังต้องเหนื่อยถือถุงกอล์ฟน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 15 กิโลกรัม เดินข้ามเกทหลายกิโลเมตรเพื่อต่อเครื่อง หรือถ้าเกิดปัญหาเครื่องบินดีเลย์ ไม่สามารถนำถุงกอล์ฟขึ้นเครื่องบินได้ในทันที ต้องลากถุงกอล์ฟไปมา หาที่รอกว่าจะถึง เล่นเอาหลายคนอยากนอนมากกว่าตีกอล์ฟ ทางที่ดีหากเลือกได้ควรเป็น Direct Flight ที่ได้ทั้งความสะดวกและไม่เสียเวลา 

8. ส่งถุงกอล์ฟไปก่อน

การใช้บริการจัดส่งสัมภาระของทางสนามบินหรือ 3rd Party อย่าง Airportels ในการจัดส่งถุงกอล์ฟไปยังจุดที่ต้องการล่วงหน้า ถือเป็นอีกตัวเลือกที่ดีสำหรับคนรักกอล์ฟที่จำเป็นต้อง Transfer Flight อย่างการไปกับกอล์ฟทริปกับกรุ๊ปทัวร์หรือการใช้บริการกับสายการบินที่ไม่มี Direct Flight ซึ่งข้อดีคือ ช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย ไ่ม่ต้องมานั่งกังวลใจเรื่องการโหลดถุงกอล์ฟขึ้นเครื่องบินในวันเดินทาง

ส่งถุงกอล์ฟขึ้นเครื่อง

ส่งถุงกอล์ฟด้วย AIRPORTELs ดีอย่างไร ?

เนื่องจาก AIRPORTELs เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดเก็บและจัดส่งสัมภาระภายในประเทศที่มาพร้อมบริการที่หลากหลาย ทั้งการจัดสัมภาระระหว่างสนามบิน โรงแรม ห้างสรรพสินค้าภายในจังหวัดเดียวกัน การจัดส่งสัมภาระไปทั่วประเทศภายใน 1-2 วัน และบริการที่เก็บสัมภาระแบบไม่จำกัดขนาดและน้ำหนัก ช่วยให้นักเดินทางมีความสะดวก คล่องตัว ในระหว่างท่องเที่ยวหรือทำธุระมากขึ้น 

ถือว่าเป็นบริการที่ตอบโจทย์กลุ่มคนรักกอล์ฟทั้งเดินทางในประเทศและต่างประเทศ เพราะกรณีเดินทางไปกอล์ฟทริปสามารถใช้บริการจัดส่งถุงกอล์ฟตรงไปยังสนามบิน โรงแรมที่พัก หรือนัดรับที่ห้างสรรพสินค้า โดยไม่ต้องถือติดตัวไปไหนมาไหนให้หมดสนุกหรือกังวลเรื่องความปลอดภัย ด้วยทางAIRPORTELs มีระบบแจ้งสถานะผ่านภาพถ่ายทาง SMS ให้ลูกค้าทราบอย่างต่อเนื่อง พร้อมการรับประกันอีก 50,000 บาท 

สำหรับนักกอล์ฟที่เดินทางไปต่างประเทศ สามารถใช้บริการฝากสัมภาระกับทาง AIRPORTELs ในระหว่างรอโหลดถุงกอล์ฟขึ้นเครื่องบินได้เช่นกัน เนื่องจาก AIRPORTELs มีสาขาเปิดให้บริการทั้งที่สนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมือง รวมทั้ง 3 สาขาในห้างดัง อย่างสาขาเอ็มบีเคเซ็นเตอร์ สาขาเทอร์มินอล 21 อโศก สาขาเซ็นทรัลเวิลด์ พร้อมให้บริการภายใต้ระบบรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง 

ในส่วนการใช้บริการ AIRPORTELs สามารถทำได้ทั้งแบบ  WalK-in และจองผ่านช่องทางออนไลน์ ชำระค่าบริการผ่านทางบัตรเครดิต เดบิต หรือ Alipay เพิ่มความสะดวกในการใช้บริการมากยิ่งขึ้น 

จะเห็นได้ว่าการจัดการกับถุงกอล์ฟขึ้นเครื่องบินเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ ตั้งแต่การเลืองชนิดถุงกอล์ฟ ถุงคลุมถุงกอล์ฟขึ้นเครื่องบิน การจัดวางอุปกรณ์ภายในถุงกอล์ฟ การใช้อุปกรณ์เสริมเพิ่มความปลอดภัยการเลือก Direct Flight และที่สำคัญอย่าลืมซื้อน้ำหนักกระเป๋าเพิ่ม เพื่อความสะดวกในการเดินทาง แต่สำหรับคนรักกอล์ฟที่ไม่อยากเป็นกังวลการใช้บริการจัดส่งสัมภาระอย่าง Airportels เป็นอีกทางหนึ่งตัวเลือกที่ดี เพราะมั่นใจได้เลยว่าไม้กอล์ฟสุดรักสุดหวงถึงที่หมายอย่างปลอดภัย โดยไม่ต้องเหนื่อยถือเองอีกด้วย

เอาพาวเวอร์แบงค์ขึ้นเครื่องได้ไหม ต้องความจุกี่แอมป์

สำหรับใครที่กำลังเดินทางขึ้นเครื่องไม่ว่าจะไปที่ไหนก็ตาม การเอาพาวเวอร์แบงค์ขึ้นเครื่องเพื่อที่จะชาร์จแบตมือถือนับเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อที่ว่าหากมือถือใกล้แบตหมดก็จะมีพาวเวอร์แบงค์สำรองใช้ได้ แต่ต้องบอกก่อนเลยว่าพาวเวอร์แบงค์นั้นมีหลายประเภท และบางประเภทก็ไม่สามารถนำขึ้นเครื่องได้ ดังนั้นใครที่กำลังจะเดินทางไปไหนและไม่มั่นใจว่าพาวเวอร์แบงค์สามารถขึ้นเครื่องได้หรือไม่ ในบทความนี้มีคำตอบให้แน่นอน

เอาพาวเวอร์แบงค์ขึ้นเครื่องได้ไหม ต้องความจุกี่แอมป์
พาวเวอร์แบงค์คือ

พาวเวอร์แบงค์คือ

พาวเวอร์แบงค์ คือ แบตเตอรี่สำรองที่สามารถใช้ได้กับสมาร์ทโฟนต่างๆ รวมทั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ  โดยตัวเครื่องสามารถพกพาไปได้ทุกที่ สมาร์ทโฟนใกล้หมดเมื่อไหร่ก็จะสามารถชาร์จแบตเตอรี่ได้ในทันที โดยพาวเวอร์แบงค์สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้

ชนิดลิเธียม ไอออน

พาวเวอร์แบงค์ชนิดลิเธียม ไอออน จัดว่าเป็นแบตเตอรี่สำรองที่เน้นในเรื่องของพลังงานที่สูง ในขณะเดียวกันก็จะปล่อยพลังงานที่ต่ำ ที่จะช่วยเซฟพลังงานได้เป็นอย่างดี แต่ขณะที่ไม่ได้ใช้งานก็จะมีการคายประจุไฟเสมอๆ จนในที่สุดแบตหมดได้ ข้อดีก็คือพาวแบงค์นี้มีราคาที่ถูก ในขณะที่ข้อเสียก็คือเสื่อมสภาพได้ไวมากๆ 

ชนิดเธียม โพลิเมอร์

พาวเวอร์แบงค์ชนิดลิเธียม โพลิเมอร์ นับว่าเป็นแบตเตอรี่ที่ต้องบอกว่าคุณภาพสูงมากๆ เพราะแบตเตอรี่สามารถจุพลังงานได้ดี ใช้งานได้อย่างต่อเนื่องยาวๆ  คายประจุไฟช้ากว่าแบบชนิดลิเธียม ไอออน มีน้ำหนักเบา และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน แต่ราคาจะสูง

ความจุและจำนวนพาวเวอร์แบงค์ที่ขึ้นเครื่องได้

ความจุและจำนวนพาวเวอร์แบงค์ที่ขึ้นเครื่องได้

 ในส่วนนี้นับว่าเป็นเนื้อหาสำคัญที่จะมาให้คำตอบเกี่ยวกับพาวเวอร์แบงค์ขึ้นเครื่องกี่แอมป์ และจำนวนพาวเวอร์แบงค์ที่สามารถนำขั้นเครื่องบินได้ โดยข้อมูลนี้ถือว่านโยบายส่วนใหญ่ที่หลายๆ สายการบินใช้กันโดยสามารถสรุปได้ดังนี้

  • ค่าความจุไฟฟ้าน้อยกว่า 20,000 แอมป์ สามารถนำติดตัวขึ้นเครื่องได้ ในส่วนของจำนวนได้แบบไม่มีจำกัด
  • ค่าความจุไฟฟ้าน้อยกว่า 20,000  – 32,000 แอมป์ สามารถนำติดตัวขึ้นเครื่องได้ ในส่วนของจำนวนสามารถนำขึ้นได้แค่ 2 ก้อนเท่านั้น 

สำหรับความจุไฟฟ้าที่มากกว่า 32,000 แอมป์ จะไม่สามารถนำขึ้นเครื่องได้ และในกรณีที่ตัวแบตเตอรี่ไม่ได้มีการระบุประเภทของแบตเตอรี่ก็ไม่สามารถเช่นกัน และพาวเวอร์แบงค์ที่จะนำขึ้นเครื่องจะต้องให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบอย่างละเอียดเพื่อที่จะเช็คว่าเอาพาวเวอร์แบงค์ขึ้นเครื่องได้ไหม

เอาพาวเวอร์แบงค์ขึ้นเครื่องยังไง

เอาพาวเวอร์แบงค์ขึ้นเครื่องยังไง

การเอาพาวเวอร์แบงค์ขึ้นเครื่องได้ โดยปกติแล้วแต่ละสายการบินจะมีข้อกำหนดที่ชัดเจนโดยละเอียด และเมื่อถึงที่จะต้องตรวจเช็คจำเป็นที่จะต้องให้เจ้าหน้าที่ดูพาวเวอร์แบงค์ที่ตัวเองได้นำมา โดยหลัก ๆ แล้วการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่มีดังนี้

  • พาวเวอร์แบงค์ขึ้นเครื่องกี่แอมป์ ถึงจะพกขึ้นเครื่องบินได้
  • การนำพาวเวอร์แบงค์ขึ้นเครื่องสามารถนำขึ้นได้กี่ก้อน และไม่ควรเกินกี่ก้อน
  • การนำพาวเวอร์แบงค์ห้ามใส่กระเป๋าโหลดใต้เครื่อง ควรจะผ่านเจ้าหน้าที่ในการตรวจขึ้นไปที่นั่งด้วย
ทำไมห้ามโหลดพาวเวอร์แบงค์ใต้เครื่อง

ทำไมห้ามโหลดพาวเวอร์แบงค์ใต้เครื่อง

ปกติแล้วทุกๆ สายการบ้านมีข้อห้ามอย่างชัดเจนว่าห้ามทำการนำอุปกรณ์ที่มีแบตเตอรี่โหลดใต้เครื่อง เนื่องมาจากว่าแบตเตอรี่เมื่อเกิดความร้อนที่สูงมากๆ จะสามารถเป็นตัวทำให้ติดไฟได้ หรือหากเลวร้ายกว่านั้นก็เกิดการระเบิดได้ เพราะในบริเวณที่โหลดใต้ท้องเครื่องจะไม่สามารถที่จะเช็คสภาพ ณ ตรงนั้นได้ทันทีหากเกิดเหตุร้ายขึ้น เลยการนำขึ้นเครื่องไปยังที่นั่งโดยสารนับเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

วิธีเลือกพาวเวอร์แบงค์ให้ปลอดภัย

วิธีเลือกพาวเวอร์แบงค์ให้ปลอดภัย

การเลือกพาวเวอร์แบงค์ขึ้นเครื่องนับเป็นสิ่งที่ควรใส่ใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะประเด็นหลักๆ การจะเอาขึ้นได้หรือไม่อยู่ที่ความจุไฟฟ้าว่าเป็นไปตามที่กำหนดหรือไม่ แต่ทางที่ดีสำหรับคนที่ใช้พาวเวอร์แบงค์อยู่แล้ว ก็ควรเลือกซื้อพาวเวอร์แบงค์ที่มีคุณภาพและสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย โดยวิธีการเลือกมีดังนี้

ซื้อพาวเวอร์แบงค์ ให้เหมาะกับการใช้งาน

การเลือกซื้อพาวเวอร์แบงค์คือให้เหมาะกับการใช้งาน ถ้าหากพกพาวเวอร์แบงค์ที่สามารถใช้งานได้ในวันเดียว จะขอแนะนำพาวเวอร์แบงค์ที่มีความจุ 3,000 – 5,000 แอมป์ก็เพียงพอแล้ว เพราะด้วยความจุที่น้อยจึงทำให้สามารถพกพาสะดวก แต่ในกรณีที่จะเอาพาวเวอร์แบงค์ขึ้นเครื่องก็แนะนำให้เลือกมากกว่า 20,000 แอมป์เพื่อที่จะสามารถสำรองแบตเตอรี่ได้หลายๆ วันได้

ไว้ชาร์จหลายเครื่อง

การกรณีที่เลือกพาวเวอร์แบงค์ที่สามารถชาร์จได้หลายๆ เครื่อง จะเหมาะกับคนที่มีทั้งสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่จะเป็นจะต้องชาร์จพร้อมๆ กัน การเลือกจึงเป็นสิ่งที่สำคัญโดยเบื้องต้นจะต้องดูก่อนว่าตัวแบตเตอรี่ที่ซื้อมาจะมีการแชร์แบตเตอรี่กันหรือไม่ และมีจำนวนความจุไฟฟ้าอยู่ที่เท่านั้น และแน่นอนว่าในส่วนของความปลอดภัยจำเป็นต้องศึกษาให้ชัดเจน

เลือกแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ มีมาตรฐาน

สิ่งที่สามารถสร้างความมั่นใจในการเลือกซื้อแม้แต่ดูแบตเตอรี่ไม่เป็น ก็คือการเลือกแบรนด์ที่มีความน่าเชื่อถือ หรือเป็นแบรนด์ที่นิยมใช้ เพราะจุดนี้จะสามารถการันตีความปลอดภัยขณะใช้งานได้เป็นอย่างดี และมีระบบป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร แบตเตอรี่มีความร้อนสูง รวมไปถึงการระเบิดได้

ใครที่อยากจะมีแบตเตอรี่สำรอง หรือ พาวเวอร์แบงค์ขึ้นเครื่องบิน สามารถนำขึ้นเครื่องบินได้ แต่ห้ามโหลดใส่กระเป๋าใต้ท้องเครื่องบิน เบื้องต้นเจ้าหน้าที่จะมีการตรวจเช็คว่าพาวเวอร์แบงค์ที่แต่ละคนนำขึ้นเครื่องนั้น โดยดูในเรื่องของชนิดแบตเตอรี่ รวมทั้งความจุไฟฟ้าที่สามารถต่ำกว่า 20,000 จะสามารถพกได้ไม่จำกัดจำนวน และ 20,000 – 32,000 แอมป์จะพกได้เพียง 2 ก้อนเท่านั้น ดังนั้นการเลือกพาวเบอร์แบงค์สำหรับขึ้นเครื่องบินถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ และควรใส่ใจในคุณภาพและความปลอดภัยขณะซื้อก่อนนำขึ้นเครื่อง

14 วิธีจัดกระเป๋าเดินทางให้ประหยัดพื้นที่และเบาขึ้นแบบ 300%

ใกล้วันหยุดยาวเข้ามาทุกที หลายคนมีแพลนกลับบ้านต่างจังหวัด ไปเยี่ยมญาติผู้ใหญ่ บางคนอาจมีแพลนไปเที่ยวต่างจังหวัดหรือต่างประเทศในช่วงนี้ สิ่งที่สำคัญที่ต้องเตรียมตัวให้ดีคือการจัดกระเป๋า 

หลายคนอาจกำลังหาวิธีจัดกระเป๋าเดินทางที่ประหยัดเนื้อที่อยู่ เพราะนอกจากจะช่วยให้เก็บเสื้อผ้าของใช้ต่างๆ ได้เป็นระเบียบ เพิ่มพื้นที่ให้กับกระเป๋าเดินทางแล้ว ยังเป็นวิธีจัดกระเป๋าเดินทางให้เบาลงได้อีกด้วย ซึ่งมีข้อดีหลายข้อ เหมาะมากๆ กับคนที่ต้องเดินทางโดยเครื่องบิน 

14 วิธีการจัดกระเป๋าประหยัดพื้นที่

สำหรับเทคนิคการจัดกระเป๋าเดินทางทั้ง 14 วิธีที่จะเล่าให้ฟังนี้ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยกันคือ การจัดการกับเสื้อผ้าสิ่งของในกระเป๋าและการจัดการกับกระเป๋าเดินทาง ถ้าพร้อมแล้วมาดูวิธีพับผ้าจัดกระเป๋าเดินทางกันเลย

จัดกระเป๋าไม่ให้ผ้ายับ

7 เทคนิคจัดเสื้อผ้าลงกระเป๋ายังไงให้ไม่ยับ พร้อมประหยัดพื้นที่

เมื่อต้องจัดเสื้อผ้าลงกระเป๋าเดินทางหลายคนมักเจอกับปัญหาเสื้อผ้ายับเวลาที่ต้องอัดเสื้อผ้าหลายๆ ชุดลงกระเป๋า จะมีวิธีไหนบ้างที่ช่วยให้จัดเสื้อผ้าลงกระเป๋าเดินทางโดยที่เสื้อผ้าไม่ยับ พร้อมใส่ได้เลยโดยไม่ต้องรีด นอกจากเป็นระเบียบ เสื้อผ้าไม่ยับแล้ว ยังเป็นวิธีจัดกระเป๋าเดินทางประหยัดเนื้อที่อีกด้วย ช่วยให้ใส่สัมภาระได้อย่างคุ้มค่าเลยทีเดียว 

มาดู 7 วิธีพับผ้าจัดกระเป๋าเดินทางกันเลย

1. ม้วนเสื้อผ้าแทนการพับ 

วิธีจัดกระเป๋าเดินทางประหยัดพื้นที่ วิธีแรกคือการจัดการกับเสื้อผ้าด้วยการม้วนแทนการพับ เพราะการม้วนเสื้อผ้า นอกจากช่วยเพิ่มพื้นที่ให้กระเป๋าเดินทางแล้ว ยังทำให้หยิบเสื้อผ้าที่จะสวมใส่ ออกมาใช้ได้ง่าย ยังช่วยให้ผ้าไม่มีรอยยับอีกด้วย  

2. ใช้ถุง Zip Lock ช่วย

สำหรับใครที่จะไปเที่ยวหลายวันหรือไปเที่ยวต่างประเทศโดยเฉพาะเมืองหนาว แน่นอนว่าเหล่าเสื้อผ้ากันหนาวตัวหนาๆ เสื้อขนสัตว์ต่างๆ มีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักค่อนข้างเยอะ วิธีจัดกระเป๋าเดินทางประหยัดเนื้อที่คือวิธีการใช้ถุง Zip Lock เข้ามาช่วย เพราะโดยปกติเสื้อผ้าของเรามีอากาศแทรกอยู่ ทำให้กินพื้นที่ในกระเป๋าเดินทาง แต่เมื่อเราใช้ถุง Zip Lock แพ็กเสื้อผ้า จะทำให้เสื้อผ้าของเราเล็กลงได้เยอะมาก ทำให้เหลือพื้นที่ในกระเป๋าเพิ่มขึ้น จะใส่เสื้อผ้าหรือสัมภาระอื่นๆ เพิ่มก็มีพื้นที่ว่างเหลือๆ เลย

3. อะไรแตกง่ายห่อด้วยถุงเท้า

ส่วนการจัดเก็บถุงเท้าลงกระเป๋าเดินทาง เราสามารถช่วยเพิ่มพื้นที่ให้กระเป๋าเดินทางอีกนิด ด้วยการนำถุงเท้าห่อกับสัมภาระที่อาจแตกหักง่าย วิธีนี้นอกจากจะเพิ่มพื้นที่กระเป๋าเดินทางแล้ว ยังช่วยให้ป้องกันสัมภาระกระแทกและแตกหักง่ายให้ปลอดภัยอีกด้วย

4. รองเท้าใครว่าเกะกะ เอาไว้ช่วยเก็บของได้

ใครที่คิดว่าการเดินทางไปเที่ยวไม่ควรเอารองเท้าไปหลายคู่ เพราะเกะกะกระเป๋า บอกเลยว่าคุณต้องคิดใหม่ถ้ารู้เรื่องนี้ เพราะรองเท้าไม่ได้เกะกะพื้นที่กระเป๋าเดินทางอย่างที่คิด เพราะสามารถให้รองเท้าช่วยเก็บของได้ 

นำสิ่งของ สัมภาระชิ้นเล็กๆ อย่างถุงเท้า ขวดน้ำหอม ชุดชั้นใน แพ็กใส่ถุง Zip Lock ก่อน 1 ชั้น แล้วนำใส่เข้าไปในรองเท้า วิธีนี้ไม่ใช่เพียงวิธีจัดกระเป๋าเดินทางประหยัดพื้นที่เท่านั้น แต่ยังช่วยคงรูปทรงของรองเท้าไว้ได้อีกด้วย ทริปหน้าจะเอารองเท้าไปเปลี่ยนกี่คู่ก็ไม่ต้องกังวลอีกต่อไป ลองใช้เทคนิคการจัดกระเป๋าเดินทางแบบนี้ดูกันเลย

5. เสื้อชั้นในผู้หญิง ให้ซ้อนกันไว้

วิธีการจัดกระเป๋าเดินทางให้ประหยัดพื้นที่ โดยเฉพาะสาวๆ สิ่งสำคัญที่ต้องจัดการเลยคือการจัดชุดชั้นในลงกระเป๋าเดินทาง วิธีนี้ช่วยเพิ่มพื้นที่กระเป๋าและช่วยให้ชุดชั้นในปลอดภัย ไม่ถูกทับจนเสียรูปทรง ทำได้โดยจัดเรียงชุดชั้นในให้อยู่ในแนวเดียวกัน แล้วแพ็กลงถุงซิปล็อก ก่อนที่จะใส่ลงในกระเป๋าเดินทาง 

6. ใช้เข็มขัดจัดทรงเสื้อที่ต้องใส่ออกงาน

ส่วนการจัดชุดออกงาน เสื้อเชิ้ตหรือชุดที่ม้วนพับยากใส่กระเป๋าเดินทาง วิธีพับผ้าจัดกระเป๋าเดินทางที่ช่วยให้เสื้อผ้าไม่เสียทรง ให้ใช้เข็มขัดใส่ตามแนวทรงคอปกเสื้อหรือใส่ในบริเวณที่พับยาก แล้วจัดการม้วนเก็บเข้ากระเป๋าเดินทาง โดยวางไว้ด้านบนสุดของกระเป๋า เพราะเมื่อถึงที่พักแล้วจะได้รีบนำออกมาแขวนทันที แค่นี้ก็สามารถจัดชุดออกงานใส่กระเป๋าเดินทางได้แบบไม่กลัวเสียทรงแล้ว

เทคนิคจัดกระเป๋าให้เบา

7 เทคนิคจัดกระเป๋าให้เบาสบายตัว

แน่นอนว่าเรื่องน้ำหนักกระเป๋า ปัญหานี้เป็นปัญหาที่นักเดินทางโดยเครื่องบินกังวลกันมาก จะทำอย่างไรดี ถ้ามีสัมภาระที่ต้องพกเดินทางเยอะแต่น้ำหนักโหลดกระเป๋าจำกัด มาดู 7 วิธีจัดกระเป๋าเดินทางให้เบา ไม่เกินน้ำหนักกระเป๋าที่ซื้อไว้ จะได้ลองนำไปทำตามกันดูเลย

1. วางแผน Carry On ให้ดี

อย่างแรกเลย ไม่ว่าคุณจะซื้อน้ำหนักโหลดกระเป๋าไว้หรือไม่ก็ตาม อยากให้วางแผนกระเป๋าที่จะใช้ Carry On ให้ดี คุณสามารถนำกระเป๋าไปได้สูงสุด 2 ใบ แน่นอนว่าสัมภาระทุกชิ้นสำคัญแต่ไม่ควรแบกขึ้นเครื่องไปทุกชิ้น และไม่จำเป็นต้องนำของสำคัญใส่กระเป๋าโหลดใต้เครื่องทั้งหมดเพราะอาจเกิดเรื่องไม่คาดฝัน อย่างกระเป๋าที่โหลดไว้อาจดีเลย์ จนทำให้มาช้าได้ ของสำคัญที่ควรนำ Carry On ไปด้วยมีอะไรบ้าง มาเช็กกันเลย

  • เอกสารประจำตัวและเอกสารสำคัญต่างๆ 
  • เสื้อผ้าสำหรับเปลี่ยนในวันแรกเมื่อไปถึงยังที่หมาย
  • แล็ปท็อป แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก
  • เครื่องสำอาง ของใช้ส่วนตัวที่สำคัญ
  • อุปกรณ์  Gadget ต่างๆ 

ที่ต้องวางแผนการจัดสัมภาระ Carry On แบบนี้ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องแบกของหนักเกินไปและป้องกันหากเกิดเหตุกระเป๋าดีเลย์ คุณก็ยังมีสัมภาระสำคัญอยู่กับตัวเอง ทำให้แพลนเที่ยวนั้นยังดำเนินต่อไปได้แบบไม่มีสะดุดด้วย

2. วางแผนเสื้อผ้าแต่ละวันไปก่อน

เคยไหม แบกเสื้อผ้าไปก่อนเยอะๆ โดยที่ไม่ได้วางแผน เหมือนจะไปอยู่ยาวทั้งเดือน แต่ความจริงแพลนเที่ยวแค่ 3 วัน เมื่อถึงเวลาเดินทาง ต้องแบกกระเป๋าหนักหลาย 10 กิโล ซึ่งวิธีจัดกระเป๋าเดินทางให้เบา สามารถทำได้ง่ายๆ แค่วางแผนการใส่เสื้อผ้าแต่ละวัน นับให้ดีว่าต้องนำเสื้อผ้าไปด้วยกี่ตัวหรือมีตัวไหนสามารถแมตช์กันได้ไหม รวมถึงใครที่ไปเที่ยวเมืองหนาว สามารถใส่เสื้อผ้าบางชิ้นซ้ำได้ อาจวางแผนเสื้อผ้าไปแบบเสื้อ 2 ต่อกางเกง 1 ตัว แบบนี้ก็นับเป็นวิธีจัดกระเป๋าเดินทางประหยัดเนื้อที่ในกระเป๋าและช่วยไม่ให้กระเป๋าหนักเกินไปด้วย3. โกงน้ำหนักด้วยการแต่งตัวหนา ๆ ไปเลย

3. โกงน้ำหนักด้วยการแต่งตัวหนา ๆ ไปเลย

แต่สำหรับใครที่ต้องเอาเสื้อผ้าไปเยอะจริงๆ คัดแล้วก็ยังเยอะอยู่ กลัวน้ำหนักกระเป๋าเกินแต่ก็ไม่มีพื้นที่จัดเก็บใส่กระเป๋าได้แล้ว แนะนำให้ใช้วิธีโกงน้ำหนักแบบนี้เลย ใส่เสื้อผ้าที่มีไปเลย 3-4 ตัว ต่อให้ใส่เยอะยังไงก็ไม่ได้ถูกคำนวณน้ำหนักอยู่แล้ว เป็นอีกวิธีจัดกระเป๋าเดินทางให้เบาที่ไม่ผิดกฎของสายการบินด้วย 

4. ไม่ต้องเตรียมอุปกรณ์อาบน้ำ

วิธีจัดกระเป๋าเดินทางให้เบาและเพิ่มพื้นที่ให้กระเป๋าเดินทางได้ คือไม่ต้องเตรียมอุปกรณ์อาบน้ำไปด้วย เพราะอุปกรณ์ที่ใช้อาบน้ำ เครื่องใช้ส่วนตัวส่วนใหญ่เป็นของเหลว ทำให้กระเป๋ามีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นได้ และทางโรงแรมมักมีอุปกรณ์อาบน้ำให้อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องพกไป

5. ทำ Checklist ของในกระเป๋า เพื่อกันหาย

 วิธีจัดกระเป๋าเดินทางให้เบาต้องทำ Checklist เพื่อเตรียมสัมภาระที่จำเป็น วิธีนี้จะช่วยให้ไม่ลืมของสำคัญและยังช่วยป้องกันของหายได้ด้วย สัมภาระที่จำเป็นส่วนใหญ่มีอะไรบ้าง เช็กพร้อมกันตามนี้ได้เลย

  • สัมภาระสำคัญ ได้แก่ บัตรประชาชน หนังสือเดินทาง ตั๋วเครื่องบิน บัตรเครดิต เงิน ใบจองที่พักอาจเป็นในรูปแบบอีเมล อุปกรณ์สื่อสาร สมาร์ทโฟน สายชาร์จ กล้องถ่ายรูป พาวเวอร์แบงค์ และแผนการเดินทางท่องเที่ยว (ถ้ามี) 
  • เครื่องแต่งกาย ได้แก่ เสื้อ กางเกง กระโปรง ชุดชั้นใน ชุดนอน ชุดกันหนาว ถุงมือ ถุงเท้า ผ้าพันคอ (เมื่อไปประเทศอากาศหนาว) รองเท้าแตะ หมวก รวมถึงแว่นตาเครื่องประดับต่างๆ ด้วย
  • ของใช้ส่วนตัว เช่น อุปกรณ์อาบน้ำ อุปกรณ์ทำผม อาหารเสริม รวมถึงผ้าอนามัย
  • ของใช้อื่นๆ เช่น ถุงพลาสติกสำหรับใส่เสื้อผ้าใช้แล้ว กระดาษชำระ ยาทากันยุง

6. ของชิ้นใหญ่ ของหนัก วางไว้ใกล้ล้อ

อีกวิธีจัดกระเป๋าเดินทางให้เบาคือจัดการเรียงสัมภาระที่มีน้ำหนักมากไว้ด้านล่างกระเป๋า ให้ใกล้กับล้อ และสัมภาระน้ำหนักเบาวางไว้ด้านบน จะช่วยให้รู้สึกไม่หนัก ลากกระเป๋าได้สบายมากขึ้น ไม่ต้องฝืนด้วย

7. ใช้กระเป๋า Soft Case เบากว่า จุได้เยอะกว่า

อย่าลืมว่าน้ำหนักทั้งหมดไม่ได้นับแค่สัมภาระภายในกระเป๋าเท่านั้นแต่ยังรวมน้ำหนักของกระเป๋าเดินทางเข้าไปด้วย วิธีจัดกระเป๋าเดินทางให้เบา ลดน้ำหนักกระเป๋าได้เยอะ คือ เปลี่ยนมาใช้กระเป๋าเดินทางแบบ Soft Case นอกจากถือกระเป๋าเบาลงแล้ว ยังเพิ่มพื้นที่ให้กับสัมภาระอีกด้วย

การจัดกระเป๋าเบาสบาย

ทำไมต้องจัดกระเป๋าให้เบา ?

การจัดการวางแผนสัมภาระและเสื้อผ้าก่อนจัดกระเป๋าไปเที่ยวเป็นวิธีจัดกระเป๋าเดินทางให้เบาลงได้ ไม่ใช่เพียงแค่ให้มีน้ำหนักเบาลงเท่านั้น แต่ยังมีข้อดีมากมายไม่ว่าเป็น 

  • ช่วยให้ไม่ต้องเสียเงินโหลดกระเป๋า 
  • ช่วยให้น้ำหนักกระเป๋าไม่เกินตามที่สายการบินกำหนด
  • ช่วยให้เตรียมสัมภาระได้ครบ
  • ช่วยให้หยิบสัมภาระได้สะดวก 
  • ช่วยให้เดินทางสะดวก 
  • กระเป๋าเดินทางไม่เป็นภาระเวลาเดินทาง
  • ช่วยเพิ่มพื้นที่ใส่สัมภาระอื่นๆ รวมถึงของฝากได้
  • ช่วยป้องกันสัมภาระสูญหายได้
ส่งกระเป๋าที่น้ำหนักเกิน

ถ้ากระเป๋าหนักเกินไป ส่งด้วย AIRPORTELs

หากสัมภาระเยอะ คัดเท่าที่จำเป็นแล้วยังมีน้ำหนักมากอยู่ดี แบบนี้ส่งผ่าน AIRPORTELs เลย บริการรับฝากและขนส่งกระเป๋าเดินทางในประเทศไทย ให้คุณเดินทางได้อย่างสะดวกปลอดภัย ไม่ต้องกังวลกับน้ำหนักสัมภาระ ให้คุณท่องเที่ยวในประเทศไทยแบบไร้กระเป๋าเดินทาง ราคาขนส่งกระเป๋าเริ่มต้น 299 บาท ราคารับฝากกระเป๋าเริ่มต้น 100 บาท  

ก่อนเดินทางท่องเที่ยวที่ไหนก็ตาม หากได้ลองทำตามวิธีการจัดกระเป๋าเดินทางประหยัดพื้นที่ทั้ง 14 ข้อนี้ จะเห็นว่านอกจากช่วยเพิ่มพื้นที่ว่างให้กระเป๋า ช่วยให้กระเป๋าเบาลง ไม่เสียเงินโหลดค่ากระเป๋าเพิ่ม ช่วยให้กระเป๋าเดินทางเป็นระเบียบ เตรียมสัมภาระได้ครบถ้วน เทคนิคการจัดกระเป๋าเดินทางนี้ยังช่วยให้เดินทางได้สะดวก ไม่ต้องแบกกระเป๋าหนักๆ ไปเที่ยวกับตัวตลอดเวลา ให้คุณท่องเที่ยวเดินทาง ทำธุระสำคัญได้อย่างคล่องตัวนั่นเอง ไม่หวั่นแม้เกิดเหตุไม่คาดคิด

เปิด Trick วิธีส่งของไปต่างประเทศ รวบลัด ครบจบใน 3 ขั้นตอน

Trick วิธีส่งของไปต่างประเทศ

ยุคปัจจุบันที่แต่ละประเทศทั่วโลกได้เชื่อมต่อเข้าหากัน ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารและการเดินทางที่สะดวกสบาย ทำให้การขนส่งสินค้าต่างๆ ก็เป็นไปได้อย่างง่ายดายขึ้นด้วยเช่นกัน ไม่เพียงแต่ในภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่การส่งสินค้าส่วนตัวหลายอย่างก็สามารถทำได้ไม่ยาก หลายๆ คนที่อยากส่งของไปยังต่างประเทศ แต่ยังไม่แน่ใจในเรื่องของวิธีส่งของไปต่างประเทศผ่านการขนส่งต่างๆ ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง ในบทความนี้มีทริคง่ายๆ 3 ขั้นตอนการส่งสินค้าไปต่างประเทศ ง่ายๆ  ครบจบ เข้าใจง่าย ได้อย่างปลอดภัยมาแนะนำกัน

ส่งสินค้าไปต่างประเทศ

ส่งสินค้าไปต่างประเทศ ต้องเตรียมตัวอย่างไร

วิธีส่งของไปต่างประเทศนั้นทำได้ไม่ยาก โดยสิ่งที่จำเป็นต้องรู้ก่อนคือข้อมูลต่างๆ ของสินค้าหรือพัสดุที่ต้องการส่งรวมไปถึงกฏเกณฑ์ต่างๆ ของประเทศปลายทางที่ต้องการจะส่งของไป ในการเลือกขนส่งและวิธีการส่งของไปต่างประเทศจึงควรเตรียมตัวด้วย 3 ทริคดังต่อไปนี้

1. ศึกษากฎเกณฑ์ประเทศปลายทาง และเตรียมเอกสารให้เรียบร้อย

อันดับแรกที่สำคัญที่สุดคือ ศึกษากฏเกณฑ์ของประเทศปลายทางและเตรียมเอกสารให้ครบถ้วน หลายประเทศจำเป็นที่จะต้องขอเอกสารหรือใบรับรองพัสดุ หรือสินค้าบางชนิดก่อนที่จะนำเข้าประเทศ รวมไปถึงต้องจ่ายภาษีด้วย

  • ประเทศในสหภาพยุโรปหรือ EU จะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับพัสดุทุกชิ้นที่นำเข้าประเทศ โดยมีอัตราการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่แตกต่างกันออกไปจึงควรตรวจสอบอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศที่ต้องการส่งของ และจดทะเบียนภาษีเป็นผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย
  • หากเป็นเจ้าของธุรกิจที่ต้องการส่งออกสินค้า ควรจดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลเพื่อความน่าเชื่อถือ
  • ตรวจสอบว่าสินค้าที่ต้องการส่งออกนั้นเป็นสินค้าตามที่กฏหมายกำหนดหรือไม่ หากสินค้าเป็นสินค้าตามที่กฏหมายกำหนด ให้จดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกสินค้านั้นด้วย เช่น จดทะเบียนกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำหรับผู้ที่ส่งออกผลไม้เป็นสินค้าไปยังต่างประเทศ
  • เตรียมเอกสารด้านศุลกากร ได้แก่ ใบขนส่งสินค้าขาออก ซึ่งมีข้อมูลทั่วไปของสินค้าอย่างผู้ส่งและผู้รับ ใบราคาสินค้าหรือใบแจ้งหนี้ จะต้องระบุราคาสินค้าตรงกับเอกสารอื่นๆ ใบกำกับการบรรจุหีบห่อสินค้า เป็นเอกสารที่ผู้ส่งออกให้ผู้ซื้อโดยจะต้องมีรายละเอียดทั่วไปของสินค้า เช่น น้ำหนักของสินค้า และเอกสารอย่างสุดท้ายคือคำร้องขอให้ตรวจสินค้าและบรรจุตู้สินค้า คือใบคำขอให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจสอบสินค้าว่าถูกต้องตามกฏหมายและสามารถส่งออกได้หรือไม่

2. แพ็คสิ่งของให้หนาแน่น และจ่าหน้าระบุสิ่งของให้ชัดเจน

นอกจากการเตรียมเอกสารต่างๆ เพื่อทำการส่งออกสินค้าและการส่งพัสดุแล้ว ทริคข้อต่อมาที่ควรศึกษาคือการบรรจุหีบห่อของสินค้าและพัสดุให้หนาแน่น รวมไปถึงการจ่าหน้าพัสดุให้ชัดเจนเพื่อให้การขนส่งถูกต้องและป้องกันการสูญหาย

  • ซองเอกสารห้ามปิดด้วยกาวหรือเทปกาว ให้ใช้แม็กเย็บกระดาษ
  • การส่งพัสดุเป็นกล่องห้ามใช้กาวหรือเทปกาว ให้ใช้เชือกผูกเท่านั้น
  • หากเป็นสินค้าที่เสี่ยงต่อการแตกหักหรือเสียหายในระหว่างขั้นตอนการขนส่ง ควรห่อด้วยกันกระแทกอย่างแน่นหนา
  • ตรวจสอบการจ่าหน้าซอง จะต้องเห็นรายละเอียดชัดเจน ถูกต้อง และจะต้องระบุข้อมูลของที่อยู่ในกล่องอย่างครบถ้วน เพื่อให้มีความสะดวกรวดเร็วต่อการตรวจสอบของประเทศปลายทางและป้องกันการถูกตีกลับ

3. เลือกขนส่งให้เหมาะกับสิ่งของและติดตามพัสดุ

ทริคข้อสุดท้ายคือการเลือกวิธีส่งของไปต่างประเทศที่เหมาะสมกับสินค้าที่ต้องการส่งและจะต้องติดตามเส้นทางการขนส่งสินค้าด้วย ซึ่งในการขนส่งก็มีวิธีการขนส่งที่หลากหลายทั้งทางเรือขนส่ง ขนส่งพัสดุย่อย ขนส่งทางอากาศ หรือภาคพื้นดิน เพื่อความสะดวกสบายในการขนส่งสินค้า หากขนส่งสินค้าด้วย AIRPORTELs ที่ให้บริการการขนส่งสินค้าไปยังต่างประเทศด้วยวิธีส่งของไปต่างประเทศที่หลากหลายเพื่อตอบโจทย์การขนส่งสินค้าที่เหมาะสม รวมไปถึงการให้บริการอื่นๆ เพื่ออำนวยความสะดวกก็จะช่วยให้การขนส่งสินค้าเป็นไปได้อย่างราบรื่นมากขึ้น

  • บริการหลักของ AIRPORTELs คือการส่งกระเป๋า ซึ่งมีความสะดวกสบายด้วยเคาเตอร์รับฝากส่งกระเป๋าหลายสาขา ทั้งที่สนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินดอนเมือง ห้างสรรพสินค้า Central World ห้างสรรพสินค้า MBK Center และห้างสรรพสินค้า Terminal21
  • AIRPORTELs ยังมีบริการขนส่งสินค้าและพัสดุต่างๆ นอกจากการขนส่งกระเป๋าไปยังต่างประเทศด้วยวิธีส่งของไปต่างประเทศทั้งทางอากาศ ภาคพื้นดิน ทางเรือขนส่งสินค้าและการขนส่งพัสดุย่อยอีกด้วย
รูปแบบขนส่ง

รูปแบบการขนส่ง 

เมื่อวิธีการส่งของไปต่างประเทศนั้นสามารถเลือกได้จากหลายเส้นทาง เพื่อช่วยให้สามารถตัดสินใจเลือกเส้นทางได้อย่างเหมาะสมกับพัสดุและสินค้าที่ต้องการ จึงควรศึกษาวิธีส่งของไปต่างประเทศต่างๆ ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร

1. การขนส่งทางอากาศ (Airmail) 

วิธีส่งของไปต่างประเทศวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักกันมากคือการขนส่งทางอากาศ เพราะสามารถส่งของได้อย่างรวดเร็ว

วิธีการส่ง

การขนส่งสินค้าทางอากาศหรือการขนส่งสินค้าด้วยเครื่องบิน เป็นการขนส่งที่มีทั้งการดำเนินการโดยสายการบินต่างๆ หรือบริษัทรับขนส่งสินค้าทางอากาศที่ซื้อระวางจากสายการบินมาอีกทอดหนึ่ง โดยในปัจจุบันนั้นวิธีส่งของไปต่างประเทศด้วยการขนส่งทางอากาศมีความแพร่หลายมาก ทางการขนส่งทางอากาศจึงพัฒนาให้เครื่องบินสามารถบรรจุสินค้าได้มากขึ้นและมีอุปกรณ์และบริการในการจัดส่งสินค้าที่ครบครันมากขึ้น รวมไปถึงการขยายคลังสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการในการขนส่งสินค้าทางอากาศด้วย

ข้อดี 

ข้อดีของวิธีส่งของไปต่างประเทศด้วยการขนส่งสินค้าทางอากาศคือใช้เวลาในการขนส่งน้อย อาจเรียกได้ว่าเป็นวิธีส่งของไปต่างประเทศที่รวดเร็วที่สุด ทำให้เหมาะกับสินค้าที่ต้องการความรวดเร็วในการขนส่งและเผยแพร่ออกสู่ตลาด รวมไปถึงสินค้าที่อาจเน่าเสียได้ง่ายด้วย

ข้อเสีย

ข้อเสียคือ การเป็นการขนส่งที่ใช้อัตราค่าบริการสูงหากเทียบกับการขนส่งแบบอื่นๆ และยังเป็นขนส่งที่อาจขึ้นอยู่กับสภาพอากาศได้ด้วย เช่น หากเกิดพายุอาจทำให้มีความล่าช้า เป็นต้น

หน่วยงานที่ให้บริการ Service นี้ในไทย

หน่วยงานที่ให้บริการขนส่งทางอากาศในประเทศไทย เช่น

  • บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน)
  • บริษัท ไทยสมายล์ แอร์เวย์ จำกัด

2. การขนส่งแบบผสม หรือแบบพัสดุย่อย SAL (Surface Air Lifted) 

เมื่อการส่งของไปต่างประเทศด้วยวิธีการขนส่งทางอากาศอาจเป็นการขนส่งที่ต้นทุนสูงไม่คุ้มค่ากับสินค้า จึงเกิดการขนส่งแบบผสมหรือแบบพัสดุย่อยที่เข้ามาช่วยผู้ส่งออกสินค้ารายย่อยหรือการขนส่งพัสดุขนาดเล็กขึ้น

วิธีการส่ง

การขนส่งแบบผสมหรือแบบพัสดุย่อย เป็นวิธีส่งของไปต่างประเทศที่พ่อค้าแม่ค้าหลายท่านนิยมใช้ เหมาะกับการส่งพัสดุขนาดเล็ก น้ำหนักเบา โดยเป็นวิธีส่งของไปต่างประเทศที่ผสมการเดินทางทั้งทางอากาศและภาคพื้นดิน คือจะจัดส่งโดยทางอากาศข้ามประเทศก่อนแล้วจึงจัดส่งด้วยรถยนต์เมื่อถึงประเทศปลายทาง

ข้อดี 

ข้อดีของวิธีส่งของไปต่างประเทศด้วยการขนส่งแบบพัสดุย่อย คือราคาที่ถูกกว่าการขนส่งทางอากาศและใช้เวลาไม่นาน เหมาะกับพัสดุขนาดเล็กและน้ำหนักเบา

ข้อเสีย

ข้อเสียของวิธีส่งของไปต่างประเทศด้วยการขนส่งแบบพัสดุย่อย คือไม่รวดเร็วเท่าการขนส่งทางอากาศ จึงอาจส่งผลเสียต่อสิ่งของที่เน่าเสียได้ง่ายหรือต้องการความรวดเร็วในการขนส่ง

หน่วยงานที่ให้บริการ Service นี้ในไทย

หน่วยงานที่ให้การบริการขนส่งแบบพัสดุย่อยในประเทศไทย เช่น

  • ไปรษณีย์ไทย

3. การขนส่งแบบภาคพื้นดิน (Surface mail)

หากเป็นการขนส่งแบบดั้งเดิม หลายคนคงคุ้นเคยกับการขนส่งสินค้าภาคพื้นดิน เพราะเป็นวิธีส่งของไปต่างประเทศที่มีความยุ่งยากน้อยกว่าวิธีอื่นๆ แต่จะมีข้อดีหรือข้อเสียอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ

วิธีการส่ง

การขนส่งสินค้าแบบภาคพื้นดิน คือวิธีส่งของไปต่างประเทศทางยานพาหนะภาคพื้นดินอย่างรถยนต์ เป็นวิธีขนส่งที่มาเป็นอันดับแรกๆ ในการอุตสาหกรรมการขนส่ง

ข้อดี 

ข้อดีของวิธีส่งของไปต่างประเทศด้วยการขนส่งแบบภาคพื้นดิน คือมีราคาถูกที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับการขนส่งแบบอื่นๆ

ข้อเสีย

ข้อเสียของวิธีส่งของไปต่างประเทศด้วยการขนส่งแบบภาคพื้นดิน คือมีระยะเวลาในการขนส่งที่ค่อนข้างนาน ไม่เหมาะกับของที่ต้องการความรวดเร็วในการขนส่งหรือของที่เน่าเสียได้อย่างอาหารหรือของสด

หน่วยงานที่ให้บริการ Service นี้ในไทย

หน่วยงานที่ให้การบริการขนส่งแบบภาคพื้นดินในประเทศไทย เช่น

  • บริษัทคาร์โก้

4. การขนส่งแบบผ่านเรือขนส่งสินค้า (Ocean Freight)

เมื่อพิจารณาจากวิธีส่งของไปต่างประเทศจะเห็นได้ว่ามีความหลากหลายทั้งวิธีขนส่งและระยะเวลาที่ใช้ในการขนส่ง อย่างไรก็ตาม สำหรับการส่งออกสินค้าบางอย่างที่ต้องการขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ การขนส่งสินค้าทางอากาศหรือทางรถยนต์อาจไม่ตอบโจทย์ จึงเกิดการขนส่งสินค้าผ่านเรือขนส่งสินค้าเพื่อรองรับการขนส่งสินค้าที่มีขนาดใหญ่หรือปริมาณมากขึ้น

วิธีการส่ง

การขนส่งสินค้าแบบผ่านเรือขนส่งสินค้า เป็นวิธีส่งของไปต่างประเทศที่ใช้การขนส่งทางเรือขนส่งทางน้ำ โดยสามารถบรรจุในตู้คอนเทนเนอร์หลากหลายขนาดได้ตามความต้องการของผู้ส่ง

ข้อดี 

ข้อดีของวิธีส่งของไปต่างประเทศด้วยการขนส่งแบบผ่านเรือขนส่งสินค้า คือสามารถส่งของไปต่างประเทศจำนวนมากต่อครั้งได้ สามารถเลือกตู้ขนส่งสินค้าที่เหมาะสมกับสินค้าได้ อีกทั้งยังต้นทุนค่อนข้างต่ำจึงทำให้มีค่าบริการไม่แพงด้วย

ข้อเสีย

ข้อเสียของการขนส่งแบบผ่านเรือขนส่งสินค้า คือใช้เวลาค่อนข้างนาน ต้องมีการถ่ายโอนสินค้าขึ้นบกอีกทอดหนึ่ง อีกทั้งไม่เหมาะกับการขนส่งพัสดุน้อยชิ้นเพราะจะทำให้ต้นทุนสูงและไม่คุ้มค่า

หน่วยงานที่ให้บริการ Service นี้ในไทย

หน่วยงานที่ให้การบริการขนส่งแบบผ่านเรือขนส่งสินค้าในประเทศไทย เช่น

  • บริษัท AGLT
  • บริษัท Ezyship
ปัญหาการขนส่งต่างประเทศ

เมื่อเกิดปัญหาในการขนระหว่างต่างประเทศทำอย่างไร ?

หากว่าสินค้าหรือพัสดุมีความเสียหาย ทางผู้ขนส่งจะมีการชดเชยโดย

  • ทั่วไปแล้วการขนส่งจะมีการชดเชยความเสียหายตามจริง หรือไม่เกินประมาณ 3,000-10,000 บาท ขึ้นอยู่กับน้ำหนักหรือกฏเกณฑ์ของขนส่งแต่ละบริษัท
  • หากเกิดความเสียหายแล้วเกิดการฟ้องร้อง จะต้องปฏิบัติตามกฏหมายของประเทศต้นทางหรือบริษัทที่ขนส่ง

วิธีส่งของไปต่างประเทศ แม้จะมีหลากหลายวิธีและหลากหลายขั้นตอนให้เตรียมตัว ไม่ว่าจะเป็นการศึกษากฏหมายการขนส่งของแต่ละประเทศหรือการเตรียมเอกสารเพื่อขอส่งออกสินค้าต่างๆ แต่หากเข้าใจทริคง่ายๆ ในการเตรียมตัวก็จะช่วยให้สามารถส่งออกสินค้าหรือส่งของไปต่างประเทศได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ จุดที่สำคัญคือการศึกษาวิธีการขนส่งทั้งทางอากาศ การขนส่งแบบผสม การขนส่งภาคพื้นดินและการขนส่งทางเรือสินค้าให้ละเอียด เพื่อให้สามารถเลือกการขนส่งที่ตอบโจทย์กับสินค้าได้มากที่สุด

วิธีรับมือ เมื่อกระเป๋าเดินทาง สูญหาย-ล่าช้า-ส่งผิด ต้องทำอย่างไร ?

การเดินทางผ่านสายการบิน ไม่ว่าในประเทศหรือนอกประเทศ มีปัญหาอย่างหนึ่งที่พบได้บ่อยนั่นคือ กระเป๋าดีเลย์หรือกระเป๋าเดินทางหาย ซึ่งเรื่องนี้อาจเกิดได้กับทุกคน และแน่นอนว่าการเกิดเรื่องแบบนี้จะเป็นปัญหาต่อตารางเวลา ที่แต่ละคนตั้งใจวางแผนไว้เมื่อถึงจุดหมาย และอาจส่งผลเสียในหลายๆ ด้าน จนชวนหัวเสีย สำหรับวันนี้เราจะพาไปดูวิธีการรับมือ ป้องกัน หรือแก้ปัญหาเหล่านี้กันว่าสามารถทำได้อย่างไรได้บ้าง

วิธีรับมือ เมื่อกระเป๋าเดินทาง สูญหาย-ล่าช้า-ส่งผิด ต้องทำอย่างไร ?
ทำไมการขนส่งกระเป๋าเดินทางถึงเกิดปัญหา

ทำไมการขนส่งกระเป๋าเดินทางถึงเกิดปัญหา

กระเป๋าไม่ได้เข้าสู่การเช็กอินกระเป๋าไม่ได้เข้าสู่การเช็กอิน

ในบางครั้งขณะที่เราต้องการจะโหลดกระเป๋าใต้เครื่อง จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำการเช็กอินที่สายการบิน รวมทั้งให้เช็กอินกระเป๋า เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำการติดแท็กให้ โดยสิ่งเหล่านี้เราจะต้องสังเกตว่าเจ้าหน้าที่ทำครบหรือไม่มีการตกหล่น จะช่วยแก้ปัญหากระเป๋าดีเลย์ได้

กระเป๋าถูกขโมย

สำหรับกระเป๋าถูกขโมย อันนี้ต้องบอกว่าเป็นกรณีส่วนน้อยมากๆ ที่จะเกิด เมื่อคุณได้ทำการเช็กอินกระเป๋าเรียบร้อย โหลดใต้เครื่องเสร็จสรรพ และออกสู่จุดหมายปลายทาง แต่ในขณะที่กำลังรอกระเป๋าไหลลงจากสายพาน อาจเกิดการถูกขโมยกระเป๋าได้ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ กระเป๋าเดินทางหายกับการถูกขโมยมีหลายรูปแบบเลยทีเดียว 

กระเป๋าถูกส่งไปผิดเที่ยวบิน

สิ่งที่สามารถพบได้บ่อยในสายการบิน คือ การส่งกระเป๋าเดินทางไปผิดเที่ยวบิน ซึ่งในจุดนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่แย่ที่สุด เพราะกระเป๋าของเราอาจบินข้ามไปอีกประเทศ กว่าจะได้คืนหรือจะได้กลับมา จำเป็นที่จะต้องรอไฟลต์บินมาลงยังสนามบินหรือสถานที่ที่เราอยู่ เพื่อส่งมอบกระเป๋า โดยใช้เวลารอนานหลายชั่วโมง บางทีอาจจะเป็นวันได้

กระเป๋าค้างอยู่ที่สนามบิน

ในกรณีนี้สามารถเกิดขึ้นได้อยู่บ่อยๆ หลังจากที่เราได้ทำการเช็กอินกระเป๋าเป็นที่เรียบร้อย แต่เจ้าหน้าที่ลืมส่งโหลดใต้ท้องเครื่อง หรือหากการเช็กอินผิดพลาด อาจทำให้กระเป๋าเดินทางค้างอยู่ที่สนามบินโดยไม่รู้ตัว

เมื่อกระเป๋าเดินทางเรามีปัญหาต้องทำอย่างไร ?

เมื่อกระเป๋าเดินทางเรามีปัญหาต้องทำอย่างไร ?

สำหรับใครที่ทำการโหลดกระเป๋าขึ้นเครื่องเสร็จไปสู่จุดหมายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขณะที่กำลังรอกระเป๋าโหลดตามสายพาน กลับพบว่า กระเป๋าเดินทางหาย หรือทำไมกระเป๋าดีเลย์ เมื่อเทียบกับคนที่ขึ้นเครื่องมาด้วยกัน งานนี้ต้องบอกเลยว่าอย่าเพิ่งตกใจ แต่ให้รีบทำตามรายละเอียดด้านล่าง ดังต่อไปนี้

ติดต่อเจ้าหน้าที่ติดต่อเจ้าหน้าที่

หลังจากที่ได้รู้ว่ากระเป๋าเดินทางหายระหว่างรอบริเวณสายพาน เพราะรอกระเป๋าแต่กลับไม่มาสักที สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการอยู่บริเวณสายพานหรือจะแจ้งเจ้าหน้าที่ที่จุดรับแจ้งของหาย รวมทั้งสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่สายการบินที่คุณใช้บริการได้ด้วย โดยเจ้าหน้าที่จะขอข้อมูลแท็กกระเป๋าเพื่อทำการเช็ก รวมถึงสอบถามช่องทางการติดต่อ เพื่อบอกว่าสามารถคืนกระเป๋าเดินทางให้เราได้เมื่อไรและอย่างไร 

ติดต่อประกันการเดินทาง

ในกรณีที่ได้ทำประกันการเดินทางเอาไว้ หากเกิดกรณีกระเป๋าสูญหายหรือเกิดกระเป๋าดีเลย์ ให้ทำการติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ได้ทำประกันเอาไว้ หรือสามารถใช้บัตรเครดิตที่มีประกันการเดินทาง เพื่อติดต่อได้เช่นกัน ซึ่งในกรณีนี้คือจะได้รับเงินชดเชยหลังจากที่กระเป๋าหาย โดยเบื้องต้นมีเกณฑ์เยียวยาสากลอยู่ที่ 10% ของเงินเอาประกันสูงสุด ในทุกๆ 6 ชั่วโมง ที่กระเป๋ามีการล่าช้า และอาจต้องดูเงื่อนไขที่คุณได้ทำประกันการเดินทางไว้ตั้งแต่แรก

คุยกับสายการบินเรื่องการชดเชย

สำหรับใครที่ไม่ได้ทำประกันการเดินทางไว้ ทางสายการบินจะต้องรับผิดชอบที่ทำให้กระเป๋าดีเลย์หรือกระเป๋าหาย โดยเบื้องต้นเราจำเป็นต้องถ่ายรูปกระเป๋า รวมทั้งสัมภาระในกระเป๋าพร้อมเก็บแท็กกระเป๋าไว้ ส่วนนี้เป็นสิ่งสำคัญมากๆ ที่จะทำให้ได้รับค่าชดเชยตามอย่างควรจะได้ในกรณีสูญหาย แต่ถ้าหากเป็นเรื่องดีเลย์ มีการชดเชยเช่นกันแต่เป็นอีกเงื่อนไขหนึ่ง เมื่อได้กระเป๋ามาเป็นที่เรียบร้อย เจ้าหน้าที่จะส่งกระเป๋าไปให้ยังที่พักโดยทันที

ก่อนไปเที่ยวควรเตรียมตัวเผื่อกระเป๋าดีเลย์ กระเป๋าหาย อย่างไร

ก่อนไปเที่ยวควรเตรียมตัวเผื่อกระเป๋าดีเลย์ กระเป๋าหาย อย่างไร

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระเป๋าดีเลย์หรือกระเป๋าสูญหาย จึงควรมีการเตรียมตัวเอาไว้ก่อน ไม่ให้เกิดเรื่องวุ่นวายขึ้นระหว่างทริปบิน โดยสามารถทำได้ตามวิธีต่างๆ ดังนี้

ถ่ายภาพกระเป๋าก่อนแพ็กเอาไว้

การถ่ายสภาพกระเป๋าก่อนการแพ็กนับเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อที่จะได้รู้ว่ากระเป๋าเดินทางของเรามีลักษณะแบบไหน มีจุดไหนที่ชำรุดหรือไม่เรียบร้อยอย่างไร และจากนั้นจึงค่อยนำข้าวของใส่ลงกระเป๋าให้เรียบร้อย ในกรณีที่กระเป๋าหายหรือชำรุดสามารถใช้ภาพนี้แจ้งเจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นการยืนยันในภายหลังได้

จำหรือถ่ายภาพน้ำหนักกระเป๋าเราเอาไว้

ในขณะที่กำลังเช็กอินและอยู่ในช่วงกำลังชั่งน้ำหนักกระเป๋าในจุดนี้เราสามารถถ่ายภาพเก็บไว้ได้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่ได้ทำการดำเนินการจริง ๆ ในจุดนี้ก็สามารถใช้เป็นหลักฐานได้เช่นกัน

บินด้วย Direct Flight

การเลือกไฟลต์บินแบบ Direct Flight หรือคือสายการบินที่บินตรงไปยังจุดหมาย โดยไม่มีการเปลี่ยนเครื่อง ระหว่างประเทศ ในจุดนี้จะสามารถป้องกันกระเป๋าดีเลย์ได้เป็นอย่างดี เพราะถ้าเป็นไฟลต์ที่จำเป็นต้องเปลี่ยนเครื่องระหว่างการเดินทาง กระเป๋าอาจตกหล่นได้

ถามสนามบินเสมอว่า กระเป๋าเราจะไปไฟลต์ไหน

ในขณะที่ให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจเช็กและติดแท็กที่กระเป๋า ให้เราถามไปตรงๆ เลยว่ากระเป๋าเราไปไฟลต์ไหน การถามแบบนี้ถือว่าเป็นการรีเช็กว่าเจ้าหน้าที่มีการทำตามขั้นตอนที่ถูกต้องหรือไม่ และสามารถลดความกังวลใจของเราได้

จัด Carry On เอาไว้เผื่อกระเป๋าดีเลย์

สำหรับใครที่ต้องการความปลอดภัย แม้เกิดการกระเป๋าดีเลย์ จำเป็นที่จะต้องจัดเตรียมข้าวของใส่กระเป๋าที่จะ Carry On หรือก็คือกระเป๋าที่เราสามารถถือขึ้นเครื่องได้ ในจุดนี้ต้องเช็กด้วยว่าการนำกระเป๋าขึ้นไปยังโซนที่นั่ง สามารถเอาอะไรขึ้นไปได้บ้าง อะไรที่ไม่สามารถเอาขึ้นไปได้ และจำกัดน้ำหนักอยู่ที่จำนวนเท่าไร ก่อนการแพ็กกระเป๋าจริง

ส่งกระเป๋าไปก่อน 

การส่งกระเป๋าไปยังจุดหมายปลายทางก่อนที่เราจะขึ้นเครื่องเพื่อบิน จะสามารถสร้างความมั่นใจได้ว่ากระเป๋าจะไม่ดีเลย์หรือหายไปได้แน่นอน เมื่อเราไปถึงจุดหมายปลายทาง สามารถนำกระเป๋าออกมาได้ตามเงื่อนไขของสายการบิน

ใช้ Air Tag เพื่อป้องกันกระเป๋าถูกขโมย 

Air Tag คืออุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับติดกระเป๋าเดินทาง เพื่อที่จะเช็กว่ากระเป๋าเดินทางอยู่ในจุดไหน โดยใช้การเชื่อมต่อกับสมาร์ตโฟนที่สามารถให้กระเป๋าส่งสัญญาณเตือน และบอกทิศทางว่าเราสามารถพบกระเป๋าได้ที่จุดใด 

ไปเช็กอินก่อนเวลามาก ๆ 

การไปเช็กอินก่อนเวลามากๆ จะสามารถลดความผิดพลาดทั้งตัวเราและเจ้าหน้าที่ได้ ในขณะเช็กอินและทำการติดแท็กกระเป๋าเพื่อโหลดลงเครื่อง ซึ่งจุดนี้ ทางเราอาจจะสามารถขอเจ้าหน้าที่เช็กดูว่ากระเป๋าติดแท็กถูกไฟลต์ ข้อมูลถูกต้องหรือเปล่า แต่ถ้าหากไปในเวลากระชั้นชิด จะยื่งทำให้เกิดความผิดพลาดได้มากยิ่งขึ้น

สรุปแล้ว เมื่อเกิดกรณีกระเป๋าดีเลย์หรือกระเป๋าเดินทางหาย ทางเลือกในการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด คือการติดต่อเจ้าหน้าที่สนามบิน เพื่อตามหาว่ากระเป๋าเดินทางไปตกหล่นอยู่ที่ไหน โดยทางสนามบินก็จะหาทางแก้ไข เพื่อชี้แจงเรื่องกระเป๋าหายให้ หรือหากไม่เจอจริง ๆ ทางสายการบินก็พร้อมที่จะชดเชยให้ แต่เพื่อความชัวร์ ควรมีการเตรียมตัวป้องกันก่อนเดินทาง นับเป็นเรื่องที่ดีที่สุดที่จะสามารถลดความผิดพลาดของสายการบิน และเราจะสามารถสื่อสารกับสายการบินได้ง่ายยิ่งขึ้น

ลิสต์ 20 สิ่งที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบิน มัดรวมครบ จัดเต็ม ไม่มีพลาด

ยุคสมัยที่ผู้คนสามารถจองตั๋วเครื่องบินผ่านแอปพลิเคชันมือถือ อีกทั้งสายการบินยังขยันออกโปรโมชันมายั่วยวนกิเลส จนทำให้บัตรเครดิตในมือหลายๆ คนต้องสั่น 

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการเดินทางด้วยเครื่องบินกลายเป็นหนึ่งในการเดินทางที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าการขึ้นเครื่องบินจะไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่สำหรับคนส่วนใหญ่ แต่ผู้คนก็มักหลงลืมเกี่ยวกับเรื่องมาตรการความปลอดภัย โดยเฉพาะในเรื่องของสิ่งที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบิน 

ลิสต์ 20 สิ่งที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบิน

บ่อยครั้งที่ผู้โดยสารถูกบังคับให้ต้องทิ้งสินค้าที่เพิ่งซื้อหรือครีมแพงๆ ไว้ที่สนามบิน เนื่องจากลืมไปว่าของเหล่านั้นเป็นของต้องห้ามขึ้นเครื่อง 

AIRPORTELs จึงอยากชวนทุกคนมาพูดคุยถึง สิ่งของห้ามขึ้นเครื่อง 20 อย่าง พร้อมถึงสาเหตุที่พวกมันถูกแบนจากเครื่องบิน รวมไปถึงบทลงโทษสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนกฏของสายการบินอีกด้วย ถ้าพร้อมแล้วไปอ่านต่อกันได้เลย

ของเหลว

1. ของเหลว

สาเหตุที่ของเหลวกลายมาเป็นสิ่งที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบิน เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี 2006 หลังจากที่เจ้าหน้าที่ตำรวจอังกฤษได้ทำการจับกุมกลุ่มผู้ก่อการร้าย ซึ่งมีเป้าหมายในการลักลอบนำสารระเบิดขึ้นไปบนเครื่องบินของสายการบินอังกฤษหลายสายที่มุ่งหน้าไปยังเมืองต่างๆ ทั้งในแคนาดาและสหรัฐอเมริกา โดยลักลอบนำสารระเบิดใส่ในขวดน้ำหวาน เพื่อหลบเลี่ยงการตรวจจับ และวางแผนที่จะนำไปใช้ในการจุดชนวนบนเครื่องบิน โชคดีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถขัดขวางแผนการก่อการร้ายได้เสียก่อน หลังจากเหตุการณ์นั้น ทำให้ของเหลวทุกชนิดกลายเป็นสิ่งของห้ามขึ้นเครื่องมาจนถึงทุกวันนี้

ในปัจจุบัน สายการบินอนุญาตให้ผู้โดยสารสามารถนำของเหลวใส่กระเป๋า Carry-on ได้ โดยแต่ละชิ้นต้องบรรจุในภาชนะที่ไม่เกิน 100 มิลลิลิตร และรวมกันทั้งหมดไม่เกิน 1,000 มิลลิลิตร หากต้องการพกพาของเหลวขึ้นเครื่องบิน ควรทำการเตรียมตัวดังนี้:

  • แบ่งของเหลวใส่ภาชนะบรรจุ สามารถหาซื้อชุดพกพาของเหลวได้ตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป โดยมักเป็นเซ็ตขวดใส่ของเหลวแบบใส ที่มีขนาดไม่เกิน 100 มิลลิลิตร
  • ใส่ขวดของเหลวในถุงซิปล็อกใส นำของเหลวทั้งหมดที่พกติดตัวขึ้นเครื่อง ใส่ในถุงพลาสติกใส และแสดงต่อเจ้าหน้าที่ ณ ที่จุดตรวจความปลอดภัย
  • โหลดของเหลวที่เกินปริมาณที่กำหนด สำหรับของเหลวที่มีปริมาณมากกว่า 100 มิลลิลิตร ควรทำการโหลดเข้าใต้เครื่องบิน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในระหว่างขึ้นเครื่อง
  • ของเหลวที่ซื้อจากร้าน Duty Free ที่สนามบิน ห้ามทำการแกะออกจากบรรจุภัณฑ์หรือมีร่องรอยฉีกขาด ใส่ในถุงพลาสติกปิดผนึก และต้องมีใบเสร็จเป็นหลักฐานยืนยันว่าเพิ่งซื้อสินค้ามาจาก Duty Free ที่ท่าอากาศยาน มิฉะนั้นของที่เพิ่งซื้ออาจกลายเป็นสิ่งของห้ามขึ้นเครื่องได้

ของเหลวที่อนุโลมให้นำขึ้นเครื่องได้

ทั้งนี้มีของเหลวบางชนิดที่ได้รับการยกเว้นให้สามารถพกพาเกิน 100 มิลลิลิตรขึ้นเครื่องบินได้ โดยควรพกพาในปริมาณที่จำเป็นต้องใช้ในระหว่างการเดินทางบนเครื่องบินเท่านั้น และต้องทำการแจ้งเจ้าหน้าที่ ณ จุดตรวจความปลอดภัยก่อนทุกครั้ง เพื่อไม่ให้ผิดกฏสิ่งของต้องห้ามขึ้นเครื่อง   

ของเหลวประเภทยา

สำหรับผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยสามารถนำยาที่เป็นของเหลว เช่น ยาน้ำ ยาแบบฉีดเข้าใต้ผิวหนัง หรือแบบสเปรย์พ่น ขึ้นเครื่องได้ โดยต้องมีฉลากและเอกสารกำกับยาที่เป็นชื่อของผู้โดยสาร สามารถนำขึ้นไปในปริมาณที่เพียงพอสำหรับไฟล์ทบินเท่านั้น

อาหารที่ต้องพกพา

ผู้ที่มีปัญหาทางด้านโภชนาการที่ต้องทานอาหารแบบพิเศษตามคำแนะนำของแพทย์ สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อขออนุญาตนำอาหารเหลวขึ้นมาบนเครื่องได้ อาหารแบบพิเศษได้รับข้อยกเว้นจากการเป็นสิ่งของห้ามขึ้นเครื่อง เพราะถือเป็นสิ่งของที่ใช้ในการรักษาความเจ็บป่วยแบบจำเพาะบุคคล และเป็นอาหารที่ผู้โดยสารไม่สามารถหาได้ในขณะที่อยู่บนเครื่องบิน

อาหารหรือนมสำหรับเด็กทารก

อาหารหรือนมสำหรับทารกไม่ถือเป็นสิ่งที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบิน เพราะเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้ระหว่างการเดินทาง หลังจากได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย พ่อแม่หรือผู้ปกครองที่เดินทางพร้อมเด็กอ่อน สามารถพกอาหารสำหรับทารก เช่น นมแม่ นมกล่อง หรืออาหารบดในปริมาณที่พอเหมาะขึ้นเครื่องได้ โดยไม่ขัดต่อกฏของสายการบิน

2. แบตเตอรี่สำรอง (Power Bank) 

2. แบตเตอรี่สำรอง (Power Bank) 

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ได้ประกาศให้มีการกำหนดเกณฑ์ของแบตเตอรี่ลิเธียมที่สามารถพกพาขึ้นเครื่องได้ โดยมีเกณฑ์ดังนี้:

  • แบตเตอรี่ลิเธียมที่มีความจุไฟ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 100 Wh (20,000 mAh) – ไม่อนุญาตให้โหลดใต้ท้องเครื่อง แต่สามารถพกพาติดตัวขึ้นเครื่องบินได้
  • แบตเตอรี่ลิเธียมที่มีความจุไฟ มากกว่าหรือเท่ากับ 100 – 160 Wh (20,000 – 32,000 mAh) – ไม่อนุญาตให้โหลดใต้ท้องเครื่อง แต่สามารถพกพาติดตัวขึ้นเครื่องบินได้ คนละไม่เกิน 2 ชิ้น
  • แบตเตอรี่ลิเธียมที่มีความจุไฟ มากกว่า 160 Wh (32,000 mAh) ขึ้นไป – ไม่อนุญาตให้โหลดใต้ท้องเครื่องและห้ามพกพาติดตัวขึ้นเครื่องบิน

ดังนั้นก่อนออกเดินทาง อย่าลืมเช็กค่าความจุไฟของแบตเตอรี่สำรอง เพราะอาจกลายเป็นสิ่งของห้ามขึ้นเครื่องโดยไม่รู้ตัว และทำให้ต้องทิ้งไว้ที่จุดตรวจความปลอดภัยที่สนามบินอย่างน่าเสียดาย

ขาตั้งกล้อง (Tripod)

3. ขาตั้งกล้อง (Tripod) 

สำหรับไอเท็มชนิดนี้ อาจมีการถกเถียงกันอยู่พอสมควร เพราะบางสายการบินก็อนุญาตให้นำขึ้นเครื่อง แต่บางสายการบินก็เป็นสิ่งที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบิน สาเหตุหลักเป็นเพราะขนาดของขาตั้งกล้องที่บ่อยครั้งมีความยาวเกินกระเป๋า Carry-on หรืออาจถูกเข้าใจผิดว่าเป็นอาวุธได้ ดังนั้นหากคิดที่จะพกพาขึ้นเครื่องแล้ว ควรเช็กว่ามีความยาวไม่เกินเกณฑ์ที่สายการบินกำหนดหรืออาจเลือกโหลดใต้เครื่องเลยก็เป็นทางออกที่ดีเช่นเดียวกัน

อาหารที่มีกลิ่นแรง

4. อาหารที่มีกลิ่นแรง

ไม่แปลกที่อาหารที่มีกลิ่นแรง เช่น ทุเรียน กะปิ ปลาร้า หรืออาหารทะเลตากแห้ง จะกลายเป็นของต้องห้ามขึ้นเครื่อง เพราะอาจส่งกลิ่นรบกวนผู้โดยสารคนอื่นๆ ระหว่างการเดินทาง โดยเฉพาะในเที่ยวบินระยะไกล คงไม่มีใครอยากต้องมาทนกับกลิ่นเหม็นตลอดทั้งไฟล์ท ทางที่ดีที่สุดควรทำการแพ็คให้มิดชิดและโหลดลงใต้ท้องเครื่องเลยจะดีที่สุด 

อาวุธ ของมีคม 

5. อาวุธ ของมีคม 

ของมีคมทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น กรรไกร มีดพก คัตเตอร์ หรือแม้กระทั่งกรรไกรตัดเล็บ ล้วนเป็นสิ่งของห้ามขึ้นเครื่อง เพราะอาจถูกใช้เป็นอาวุธโดยผู้ไม่ประสงค์ดีได้ หากต้องการพกของมีคม ให้ใส่ไว้ในกระเป๋าโหลดใต้ท้องเครื่อง เพื่อไม่เป็นการฝ่าฝืนกฏความปลอดภัยของสนามบิน 

สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์

6. สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์

สำหรับเมืองไทย เรื่องของสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์นั้น อาจยังไม่ได้มีการตรวจขันอย่างเข้มงวดเท่าไหร่นัก แต่หากเดินทางไปในประเทศที่มีมาตรการตรวจสอบอย่างจริงจังแล้ว อาจโดนยึดสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ที่พกติดตัวไปด้วย ทางออกที่ดีที่สุดคือการเลือกใช้สินค้าของแท้ เพราะนอกจากเป็นการสนับสนุนแบรนด์เจ้าของลิขสิทธิ์แล้ว ยังไม่เสี่ยงละเมิดกฏหมายลิขสิทธิ์อีกด้วย

 ของประดับมูลค่าแพง

7. ของประดับมูลค่าแพง

ของประดับและของมีค่าเป็นไอเท็มที่ถูกบางสายการบินกำหนดให้เป็นของต้องห้ามขึ้นเครื่อง เพราะกลัวในเรื่องของการโจรกรรมหรือการสูญหายระหว่างเที่ยวบิน ดังนั้นหากจะทำการพกติดตัว ควรระมัดระวังเป็นพิเศษเพราะเหตุไม่คาดฝันนั้นอาจเกิดขึ้นได้เสมอ

วัตถุไวไฟ วัตถุระเบิด

8. วัตถุไวไฟ วัตถุระเบิด

ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ไฟแช็ก ไม้ขีดไฟ หรือ ประทัด สีสเปรย์ และดอกไม้ไฟ ล้วนเป็นสิ่งของห้ามขึ้นเครื่อง เพราะอาจปะทุและทำให้เกิดอุบัติเหตุกับผู้โดยสารคนอื่นๆ บนเที่ยวบินได้ จึงเป็นสิ่งของที่ไม่ควรพกพาติดตัวในขณะเดินทางเป็นอย่างยิ่ง

สารฟอกขาว (Bleach)

9. สารฟอกขาว (Bleach)

สารฟอกขาวทั้งชนิดน้ำและชนิดผงเป็นสิ่งที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบิน ทั้งนี้ยังรวมไปถึง สารที่มีฤทธิกัดกร่อนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำกรด สารหนู หรือ สารกำจัดแมลง สารเหล่านี้เป็นสารอันตราย ซึ่งหากเกิดรั่วไหลในระหว่างเที่ยวบิน อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย จึงไม่ได้รับอนุญาตให้นำขึ้นไปบนเครื่องบิน 

เนื้อสัตว์ของสดหรือแช่เเข็ง

10. เนื้อสัตว์ของสดหรือแช่เเข็ง

บางประเทศอาจมีข้อกำหนดเรื่องการนำเข้าเนื้อสัตว์หรือของสดเข้าประเทศ เพราะกลัวว่าอาจส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมหรือเป็นการนำโรคและพาหะเข้าสู่ประเทศ ส่วนของแช่แข็งนั้น หากแพ็คหรือจัดเก็บไม่ดีก็อาจจะละลาย และส่งกลิ่นรบกวนผู้โดยสารคนอื่นๆ ในระหว่างการเดินทางได้ 

สารเสพติด

11. สารอันตรายต่างๆ หรือสารเสพติด

แน่นอนว่าสารเสพติดเป็นของต้องห้ามขึ้นเครื่อง ที่ไม่สามารถพกพาติดตัวได้ ไม่ว่าจะเป็นนอกเครื่องบินหรือบนเครื่องบินก็ตาม ทั้งนี้ควรระมัดระวังเรื่องข้อกฏหมายของแต่ละประเทศ เช่น การซื้อสินค้าที่ผสมสารเสพติด เช่น กัญชา เพราะอาจถูกกฏหมายในประเทศต้นทาง แต่อาจผิดกฏหมายร้ายแรงในประเทศปลายทาง จึงควรศึกษาข้อกฏหมายของแต่ละประเทศให้ดีก่อนออกเดินทางเสมอ

วัตถุที่แตกง่าย

12. วัตถุที่แตกง่าย

ระหว่างการเดินทางด้วยเครื่องบินนั้น อาจเจอสภาพอากาศแปรปรวน เครื่องตกหลุมอากาศ ซึ่งแรงกระแทก อาจทำให้ข้าวของบนเครื่องเสียหายได้ ดังนั้นวัตถุที่แตกได้ง่าย เช่น แก้ว หรือกระจก จึงเป็นสิ่งที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบิน เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารทุกคน 

สัตว์บางชนิด และสัตว์ มีพิษ

13. สัตว์มีพิษ สัตว์ดุร้าย

สายการบินบางแห่ง บางประเทศอนุญาตให้ผู้โดยสารสามารถนำสัตว์เลี้ยงขนาดเล็ก เช่น สุนัข หรือแมว ขึ้นมาบนเครื่องบินได้ แต่สำหรับสัตว์มีพิษและสัตว์ดุร้ายนั้น ถือเป็นสิ่งที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบินโดยเด็ดขาด เพราะอาจเป็นอันตรายต่อคนอื่นๆ บนเที่ยวบินได้ 

14. ไม้ตียุงไฟฟ้า

หลายคนอาจแปลกใจว่าทำไมไม้ตียุงไฟฟ้า จึงเป็นของต้องห้ามขึ้นเครื่อง สาเหตุเพราะอุปกรณ์ทุกชนิดที่สามารถนำมาดัดแปลงเป็นอาวุธได้นั้น จะไม่ได้รับอนุญาตให้พกพาขึ้นเครื่องได้นั่นเอง เพราะฉะนั้นหากไม่อยากโดนยึดไม้ตียุงละก็ ไม่ควรนำไม้ตียุงไฟฟ้ามาด้วยจะดีที่สุด

อุปกรณ์กีฬาบางชนิด

15. อุปกรณ์กีฬา

เหตุผลของการห้ามนำอุปกรณ์กีฬาบางชนิดขึ้นเครื่องคือ อุปกรณ์เหล่านี้สามารถดัดแปลงมาเป็นอาวุธได้นั่นเอง เป็นเรื่องที่อาจขัดใจนักกีฬาหลายๆ คน แต่เพื่อความปลอดภัยแล้วก็ไม่ควรฝ่าฝืนกฏ และทำการโหลดอุปกรณ์กีฬาลงใต้เครื่องบิน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหากับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย

PC และ Labtop บางชนิด

16. โทรศัพท์หรือ Notebook บางรุ่น

โดยปกติแล้ว โทรศัพท์มือถือและโน้ตบุ๊คไม่ได้เป็นสิ่งของห้ามขึ้นเครื่อง สามารถพกพาขึ้นเครื่องบินได้โดยไม่มีปัญหา แต่อาจเกิดเหตุการณ์ที่มือถือหรือโน้ตบุ๊คบางรุ่น ที่ทางแบรนด์ยอมรับว่ามีปัญหาตั้งแต่กระบวนการผลิต ทำให้เสี่ยงต่อการระเบิด หรือก่อให้เกิดอุบัติเหตุระหว่างการใช้งาน จนสายการบินต้องทำการแบน อาจเกิดขึ้นได้ไม่บ่อยนัก แต่เป็นอีกสิ่งที่ควรระวังก่อนการเดินทาง เพราะอาจถูกปฎิเสธไม่ให้ขึ้นเครื่องบินได้  

17. แม่เหล็ก

สำหรับแม่เหล็กอันเล็กๆ เช่น แม่เหล็กติดตู้เย็น อาจไม่เป็นปัญหา แต่หากเป็นแม่เหล็กขนาดใหญ่ หรืออุปกรณ์ที่ก่อให้เกิดสนามแม่เหล็ก ถือเป็นสิ่งที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบิน เพราะสามารถส่งสัญญานรบกวนเข็มทิศ จนอาจส่งผลต่อการทำงานของอุปกรณ์อื่นๆ บนเครื่องบินได้ 

อุปกรณ์สื่อสารบางชนิด

18. อุปกรณ์รักษาความปลอดภัย

กุญแจมือ กระบองท่อน หรือ อุปกรณ์วิทยุสื่อสาร (อาจไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานในบางประเทศ) แม้ว่าจะไม่ใช่ของมีคมก็ตาม แต่ก็ถือเป็นสิ่งของห้ามขึ้นเครื่องด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย

อาวุธ หรืออุปกรณ์ป้องกันตัว

19. อุปกรณ์ป้องกันตัว 

ไม่ว่าจะเป็น สนับมือ เครื่องช็อตไฟฟ้าแบบพกพา หรือสเปรย์พริกไทย ล้วนถูกจัดให้เป็นของอันตรายและเป็นสิ่งของต้องห้ามขึ้นเครื่อง เช่นเดียวกับอาวุธปืนและของมีคม

20. กระเป๋าสัมภาระที่มีแบตเตอรี่ชนิดลิเธียม

ในปัจจุบันมีกระเป๋าแบบสมาร์ตแบ็ก ที่ถูกออกแบบมาให้มีฟังก์ชันต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น GPS ติดตาม หรือมีแบตเตอรี่สำรองที่สามารถชาร์ตมือถือได้ระหว่างเดินทาง ข่าวร้ายก็คือกระเป๋าสัมภาระดังกล่าวนั้น ถูกองค์กรด้านการบินนานาชาติกำหนดให้เป็นสิ่งที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบิน เพราะมีแบตเตอรี่ลิเธียมที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้นั่นเอง โดยมีการอนุโลมให้สามารถนำขึ้นเครื่องได้ หากสามารถถอดแบตเตอรี่ออก และไม่ใช้งานแบตเตอรี่สำรองในขณะเดินทาง หากไม่สามารถทำได้ ทางสายการบินอาจทำการปฎิเสธให้ผู้โดยสารเดินทางไปพร้อมกับกระเป๋า

โทษและมาตรการเมื่อผู้โดยสารทำผิดกฏ

โทษและมาตรการเมื่อผู้โดยสารทำผิดกฏ

แน่นอนว่าการไม่ปฏิบัติตามกฏของสายการบิน เช่น การลักลอบนำของต้องห้ามขึ้นเครื่อง  ย่อมตามมาด้วยบทลงโทษ ซึ่งมาตรากฏหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของสนามบินนั้น มีโทษค่อนข้างรุนแรง โดยมีบทลงโทษ ดังนี้: 

นำสิ่งต้องห้ามมาถึงหน้าด่านตรวจ

หากเจ้าหน้าที่ตรวจค้นเจอวัตถุหรือสิ่งที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบิน เช่น ของเหลว เจล หรือของมีคม เจ้าหน้าที่สามารถปฏิเสธไม่ให้ผู้โดยสารผ่านการตรวจไปได้ จนกว่าของที่เป็นสิ่งต้องห้ามจะถูกทิ้งหรือทำลาย และหากผู้โดยสารทำการขัดขวาง หรือหลีกเลี่ยงการตรวจค้นสิ่งของห้ามขึ้นเครื่อง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เมื่อสิ่งต้องห้ามหลุดตรวจและถูกบนในเกตหรือเครื่องบิน

ผู้อยู่ในอากาศยานในระหว่างรอการบิน หากถูกตรวจพบเจอสิ่งที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องไว้ในครอบครอง ผู้โดยสารต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท 

เมื่อสิ่งต้องห้ามหลุดตรวจและไปถึงด่านตรวจขาออก

โทษของการครอบครองสิ่งของต้องห้าม อาจมีความหนักเบาแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของสิ่งที่ครอบครอง โดยเจ้าหน้าที่อากาศยานมีหน้าที่ รายงานและส่งมอบตัวผู้โดยสารที่กระทำผิดหลังจากที่เครื่องได้ลงจอด ให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการลงโทษตามมาตรากฏหมายของประเทศปลายทาง

การเดินทางด้วยเครื่องบินนั้นเป็นการเดินทางที่สะดวกรวดเร็ว แต่มีกฏระเบียบมากมายที่จำเป็นต้องรู้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในระหว่างเดินทาง โดยเฉพาะในเรื่องของสิ่งที่ห้ามเอาขึ้นเครื่องบิน เพราะความไม่รู้อาจทำให้ต้องเสียเวลา เสียทรัพย์สิน และเสียความรู้สึกในขณะเดินทาง หรือแย่ที่สุดอาจโดนปรับและต้องโทษโดยไม่รู้ตัวอีกด้วย 

AIRPORTELs หวังว่าบทความนี้จะช่วยไขความกระจ่างเกี่ยวกับสิ่งของห้ามขึ้นเครื่องให้กับทุกคน เดินทางครั้งต่อไปจะได้เตรียมตัวกันให้พร้อม จะได้เช็กอินกันได้ลื่นปรื้ดไม่มีสะดุด เดินทางได้สมูธตลอดทั้งทริป

มาจัดกระเป๋าเดินทางกัน check list พกของไปให้ครบไม่มีขาด

หากพูดถึงเรื่องไปเที่ยว ไม่ว่าใครก็อยากจะไปกันทั้งนั้น แต่ก่อนที่จะไปเที่ยวได้ ก็ต้องจัดกระเป๋าไปเที่ยวกันก่อน ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายๆ คนน่าจะไม่ชอบกัน เพราะว่าขี้เกียจ ไม่รู้จะเริ่มต้นจัดกระเป๋ายังไง ยังไม่รวมที่คิดไม่ออกว่าควรหยิบอะไรไปบ้างดี ถ้าหยิบไปแล้วจะได้ใช้ไหม หรือจะลืมอะไรไปบ้างหรือเปล่า ดังนั้น การจัดกระเป๋าไปเที่ยวตาม Checklist กระเป๋าเดินทาง จึงถือว่าเป็นทางออกที่สามารถช่วยแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ โดย Checklist กระเป๋าเดินทางที่ AIRPORTELs นำมาฝากในบทความนี้จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย!

วิธีจัดกระเป๋าเดินทางให้ครบ
Checklist ช่วยจัดกระเป๋าเดินทาง

Checklist กระเป๋าเดินทางจาก AIRPORTELs

การจัดกระเป๋าไปเที่ยวนั้นควรเริ่มจากการแบ่งหมวดสิ่งของก่อนว่ามีหมวดหมู่อะไรบ้าง เพื่อที่จะได้จัดลำดับความสำคัญของสิ่งของว่าควรจะเริ่มต้นหยิบอะไรใส่กระเป๋าก่อนดี และถ้าหากกระเป๋าเต็มจะได้ตัดสิ่งของที่มีความจำเป็นน้อยที่สุดออกไปได้ โดย Checklist กระเป๋าเดินทางที่ AIRPORTELs ลิสต์มาให้นั้น สามารถแบ่งออกเป็นทั้งหมด 3 หมวดหมู่ ได้แก่ ของใช้จำเป็น ปัจจัย 4 และของเบ็ดเตล็ด โดยแต่ละหมวดหมู่มีรายละเอียด ดังนี้

ของใช้จำเป็นที่ต้องมีในกระเป๋าเดินทาง มีอะไรบ้าง

“ของใช้ที่จำเป็น” เป็น Checklist กระเป๋าเดินทางหมวดหมู่แรกที่ควรให้ความสำคัญในการจัดกระเป๋าไปเที่ยวเป็นอย่างมาก เพราะสิ่งของเหล่านี้จำเป็นต่อการไปเที่ยวและการใช้ชีวิต หากลืมหรือขาดหายไป อาจส่งผลให้เกิดปัญหาตามมาได้อย่างแน่นอน โดยสิ่งของที่ไม่ควรลืมอย่างเด็ดขาด มีดังนี้

หนังสือเดินทาง

หนังสือเดินทาง ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเป็นสิ่งที่จะแสดงและยืนยันตัวตนของเราได้ หากลืมอาจทำให้ไม่สามารถออกนอกประเทศหรือไม่สามารถเข้าประเทศปลายทางได้ ดังนั้น จึงไม่ควรลืม ควรพกติดตัวไว้เสมอและควรเก็บรักษาไว้ให้ดีที่สุด

Boarding Pass หรือหลักฐานการจองไฟล์ทของสายการบิน

Boarding Pass เป็นหลักฐานในการจองไฟล์ทของสายการบิน ว่าเราจองไว้ในชื่อเราจริงไหม จองไว้วันที่เท่าไร เดินทางเวลาไหน และเดินทางกับสายการบินอะไร เพื่อที่จะได้ทำการเช็กอิน ป้องกันการตกเครื่อง และเดินทางได้อย่างถูกต้อง

สำเนาของหนังสือเดินทางและหลักฐานการจองไฟล์ทของสายการบิน

ถึงแม้เราจะมีหนังสือเดินทาง และ Boarding Pass ตัวจริงอยู่ในมือแล้ว แต่การมีสำเนาสำรองไว้ประมาณ 1-2 ชุด จะช่วยให้เราอุ่นใจได้มากขึ้น เพราะอาจเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดได้ เช่น หนังสือเดินทาง หรือ Boarding Pass หาย หรือได้รับความเสียหาย จะได้มีสำเนาที่นำมาใช้แทนกันได้ 

เงินต่างประเทศ หรือเงินดอลล่าร์

ก่อนเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ ควรทำการแลกเงินเป็นสกุลเงินของประเทศที่เราจะไปเที่ยวเสียก่อน ในกรณีที่บางสถานที่รับแต่เงินสดเท่านั้น จะได้มีเงินสดไว้ใช้จ่าย และควรแลกไปในจำนวนที่เพียงพอ หรืออาจแลกเงินเป็นสกุลดอลลาร์เผื่อไว้ เพราะถ้าหากเงินที่แลกมาไม่พอ สามารถใช้เงินดอลลาร์แทนได้

Power Bank และสายชาร์จ อุปกรณ์ IT

Power Bank สายชาร์จ หรืออุปกรณ์ IT ต่างๆ รวมถึงอินเทอร์เน็ต เป็นสิ่งที่ควรเตรียมไว้ก่อนการเดินทาง เพราะการไปเที่ยวนั้นต้องใช้มือถือในการติดต่อสื่อสาร ถ่ายรูป หรืออัปเดตลงโซเชียลเป็นหลัก รวมถึงการใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อหาข้อมูลต่างๆ ของสถานที่ท่องเที่ยว อินเทอร์เน็ตที่ดีทำให้ค้นหาได้รวดเร็ว ไม่ต้องหงุดหงิดเมื่อรอข้อมูล ส่วนแบตเตอรี่ที่ลดลงไปตามการใช้งานหรือหมดในระหว่างวัน หากมีแบตสำรองพกติดตัวไว้ก็นำมาชาร์จได้ตลอด ไม่ต้องกลัวแบตหมด

อแดปเตอร์แปลงไฟตามประเทศปลายทาง

หัวปลั๊กไฟในแต่ละประเทศนั้นมีลักษณะไม่เหมือนกันและมีกระแสไฟที่ไม่เท่ากัน ยกตัวอย่าง เช่น

  • ประเทศญี่ปุ่น ใช้ปลั๊ก Type A และ B ที่มีกำลังไฟ 100V 50Hz
  • ประเทศเกาหลีใต้ ใช้ปลั๊ก Type C และ F ที่มีกำลังไฟ 110V/220V 60Hz
  • ประเทศสิงคโปร์ ใช้ปลั๊ก Type C, G และ M ที่มีกำลังไฟ 230V 50Hz
  • ประเทศไต้หวัน ใช้ปลั๊ก Type A และ B ที่มีกำลังไฟ 110V 60Hz
  • ประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้ปลั๊ก Type A และ B ที่มีกำลังไฟ 120V 60Hz 
  • ประเทศอังกฤษ ใช้ปลั๊ก Type G ที่มีกำลังไฟ 230V 50Hz

ดังนั้น จึงควรเตรียมหัวปลั๊กแปลงไฟของแต่ละประเทศปลายทางด้วยทุกครั้ง หรืออาจจะใช้หัวปลั๊กแปลงไฟแบบ Universal ที่สามารถแปลงปลั๊กได้ทุกลักษณะ 

บัตรเครดิตกลุ่ม Visa หรือ MasterCard 

การพกบัตรเครดิตที่เป็น Visa หรือ Mastercard เป็นอีกสิ่งที่ควรพกติดตัวไว้เมื่อไปต่างประเทศ โดยส่วนใหญ่มักจะรับเฉพาะ 2 กลุ่มนี้เท่านั้น เพราะมีบริการที่ครอบคลุมมากกว่าบัตรแบบอื่นๆ เช่น กดเงิน หรือรูดจ่ายด้วยบัตรได้ทันที เป็นต้น

อุปกรณ์การทำงาน ในกรณีที่เป็น Workation 

หากใครไปท่องเที่ยวแบบ Workation ต้องห้ามลืมจัดกระเป๋าไปเที่ยวพร้อมอุปกรณ์ในการทำงานให้ครบ ไม่ว่าจะเป็นโน้ตบุ๊ค เมาส์ คีย์บอร์ด ที่ชาร์จโน้ตบุ๊ค แท็บเล็ต หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่สำคัญต่อการทำงาน เพราะหากลืมสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาจทำให้การทำงานไม่สะดวก แถมยังอาจหาซื้อใหม่ที่ต่างประเทศได้ยากอีกด้วย

กลุ่มปัจจัย 4 

“กลุ่มปัจจัย 4” เป็น Checklist กระเป๋าเดินทางหมวดหมู่ที่ 2 สำหรับการจัดกระเป๋าไปเที่ยวที่สำคัญรองลงมาจากของใช้จำเป็น เพราะถ้าหากลืม หรือทำหาย ยังสามารถหาซื้อใหม่ได้ โดยสิ่งของต่างๆ ในหมวดปัจจัย 4 ที่ควรจัดใส่ในกระเป๋าไปเที่ยว มีดังนี้

เสื้อผ้า กางเกง

การเลือกเสื้อผ้าและกางเกง ในการจัดกระเป๋าไปเที่ยว ควรดูก่อนว่าไปกี่วัน ไปสถานที่แบบไหนบ้าง และประเทศที่เราจะไปนั้นมีสภาพอากาศเป็นอย่างไร เพื่อที่จะได้คำนวณได้ถูกว่าควรจะเตรียมไปกี่ชุด และควรเลือกเสื้อผ้าแบบไหนไปให้เหมาะสมกับสถานที่และสภาพอากาศมากที่สุด

ชั้นใน

ชุดชั้นใน เป็นอีกสิ่งที่สำคัญไม่แพ้เสื้อผ้า และกางเกง โดยการเตรียมชุดชั้นใน ให้คำนวณจากวันที่ไปเหมือนกับการเตรียมเสื้อผ้าว่าในหนึ่งวันเราจะต้องใส่กี่ตัว เพื่อที่จะได้เตรียมไปได้ถูก แต่ต้องเตรียมไปเผื่อมากกว่าที่คำนวณไว้ประมาณ 2-3 ชุด เผื่อเกิดกรณีฉุกเฉินจะได้มีใส่ และไม่ต้องกังวลว่าจะหาซื้อได้ที่ไหนบ้าง 

ชุดว่ายน้ำ

สำหรับใครที่มีแพลนเที่ยวทะเล ควรพกชุดว่ายน้ำไปด้วย หรือใครที่จองที่พักที่มีสระว่ายน้ำ และคิดว่าจะลงไปเล่นน้ำ อาจจะเตรียมชุดว่ายน้ำไปเผื่อด้วยได้ เพราะว่าในบางที่มีข้อกำหนดว่าจะต้องใส่ชุดว่ายน้ำลงเล่นน้ำเท่านั้น

รองเท้า-ถุงเท้า

รองเท้าและถุงเท้า เป็นอีกสิ่งที่ควรเตรียมให้ดี โดยอาจจะใส่รองเท้าผ้าใบไป พร้อมกับเตรียมรองเท้าแตะ และรองเท้าผ้าใบสำรองไปอีกอย่างละ 1 คู่ รวมถึงถุงเท้าที่ควรเตรียมไปให้พอดี หรือเตรียมไปเผื่อมากกว่าเดิมประมาณ 1-2 คู่  เผื่อเกิดอาการเจ็บเท้า ถุงเท้าขาด หรือเกิดกรณีฉุกเฉินจะได้มีรองเท้าและถุงเท้าเปลี่ยน

ยาสามัญ

ยาสามัญประจำบ้าน เช่น ยาแก้ปวด ยาแก้ไอ ยาแก้แพ้ ยาแก้ปวดท้อง หรือยาแก้ท้องเสีย รวมถึงยาดม หรือยาแก้เมารถ เมาเรือ ก็ควรพกติดกระเป๋าไว้ เพราะว่าเวลาไปเที่ยว อาจจะต้องเจอกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เดินเยอะ กินอาหารหลากหลาย หรือขึ้น-ลงรถบ่อยๆ จนทำให้เกิดอาการป่วยต่างๆ เช่น ปวดหัว ปวดขา ปวดท้อง หรือเมารถตามมาได้ ทั้งนี้ ควรศึกษาก่อนด้วยว่าประเทศปลายทางนั้นมีข้อห้ามในการนำเข้ายาบางชนิดหรือไม่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในการนำเข้ายาผิดกฎหมาย

อาหารแห้ง อาหารฉุกเฉิน

อาหารแห้งหรืออาหารฉุกเฉิน เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป น้ำพริก น้ำจิ้ม หรืออาหารสำเร็จรูปอื่นๆ เป็นสิ่งที่หลายๆ คนนิยมใส่ไว้ในการจัดกระเป๋าไปเที่ยว เผื่อกลัวว่าอาหารที่ประเทศอื่นจะไม่ถูกปาก ทำให้กินได้ไม่เยอะหรือกินไม่อิ่ม จนทำให้เกิดอาการหิวตอนดึกนั่นเอง 

อาหารเสริม วิตามิน

สำหรับใครที่ต้องทานอาหารเสริมหรือวิตามินเป็นประจำ ควรแพ็กใส่กล่องหรือซองให้พอดีตามจำนวนเวลา และวันที่ไปเที่ยว เพื่อที่จะได้ไม่ต้องพกไปทั้งกระปุก แถมยังช่วยประหยัดพื้นที่และน้ำหนักของกระเป๋า ทั้งนี้ ควรศึกษาก่อนด้วยว่าประเทศปลายทางนั้นมีข้อห้ามในการนำเข้าอาหารเสริม หรือวิตามินบางชนิดหรือไม่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในการนำเข้ายาที่ผิดกฎหมาย

กลุ่มเบ็ดเตล็ด

Checklist กระเป๋าเดินทางสำหรับจัดกระเป๋าไปเที่ยวหมวดหมู่สุดท้าย คือ สิ่งของเบ็ดเตล็ด โดยหมวดหมู่นี้จะมีความสำคัญน้อยที่สุดในการจัดกระเป๋าไปเที่ยว เพราะว่าเป็นสิ่งของที่สามารถหาซื้อได้ง่าย หรือใช้ของอย่างอื่นทดแทนได้ เพื่อช่วยลดสัมภาระหรือน้ำหนักกระเป๋า โดยสิ่งของต่างๆ ในหมวดหมู่เบ็ดเตล็ด มีดังนี้

เครื่องสำอางค์ เครื่องประทินผิว

เครื่องสำอางหรือสกินแคร์ เป็นสิ่งของที่สามารถหาซื้อได้ในต่างประเทศ โดยเราอาจจะพกไปแค่ชีตมาส์ก ครีมกันแดด แป้งฝุ่น ลิปสติกแท่งโปรด คอนซีลเลอร์ และที่เขียนคิ้ว ส่วนที่เหลือนั้นอาจจะไปซื้อต่างประเทศแทนได้ เพื่อประหยัดน้ำหนักกระเป๋า แถมยังได้ชอปปิงของใหม่อีกด้วย

เครื่องประดับ พร็อพถ่ายรูป

เครื่องประดับหรือพร็อพถ่ายรูป อย่างเช่น แว่นตา หมวก ต่างหู กระเป๋า หรือเครื่องประดับอื่นๆ อาจพกไปแค่เครื่องประดับชิ้นโปรดและกระเป๋าใบโปรดเท่านั้น เพื่อลดสัมภาระที่ไม่จำเป็นออกไป ประหยัดน้ำหนักกระเป๋า แล้วค่อยไปซื้อของใหม่ หรือไปเช่าที่หน้างานแทนได้

กล้องถ่ายรูป 

ถ้าหากไม่ได้ไปถ่ายรูปที่ต้องนำมาใช้งานหรือถ่ายแค่ลงโซเชียล อาจจะไม่จำเป็นที่ต้องพกกล้องถ่ายรูปไป และใช้กล้องโทรศัพท์มือถือถ่ายแทน เพราะในปัจจุบันนั้นกล้องโทรศัพท์มือถือมีสเปกสูงเหมือนกับกล้องถ่ายรูป แถมยังไม่ต้องแบกให้เมื่อยอีกด้วย

ไฟฉาย เทียน ไฟแช็ก ไม้ขีดไฟ

ไฟฉาย เทียน ไฟแช็ก หรือไม้ขีดไฟ เป็นสิ่งที่ไม่ค่อยจำเป็นเท่าไหร่นัก เพราะมีโอกาสที่จะได้ใช้น้อยมาก หรืออาจพกไปแค่ไฟฉายก็เพียงพอ แต่ถ้าหากพื้นกระเป๋าเต็มแล้ว สามารถตัดออกไปได้เช่นกัน

อื่น ๆ

สิ่งของอื่นๆ ที่สามารถหาซื้อได้ที่ปลายทางได้ง่าย ไม่ค่อยมีโอกาสได้ใช้ หรือไม่มีความจำเป็น ควรตัดออกไปเลย เช่น ตุ๊กตา ผ้าห่ม ยากันยุง หรือของจิปาถะอื่นๆ เพื่อช่วยลดสัมภาระ และน้ำหนักกระเป๋าที่อาจเกินได้โดยที่ไม่จำเป็น

การจัดกระเป๋าเดินทาง

ทำ Checklist ช่วยจัดกระเป๋าเดินทางดีอย่างไร มีเทคนิคอะไรบ้าง ?

สำหรับข้อดีของการทำ Checklist กระเป๋าเดินทาง เพื่อช่วยจัดกระเป๋าไปเที่ยวให้ง่ายขึ้น มีดังนี้

  • ช่วยให้จัดกระเป๋าไปเที่ยวได้อย่างมีระเบียบ
  • สามารถตรวจสอบได้ง่ายว่าลืมอะไรหรือไม่
  • นำไปแต่สิ่งของที่มีความจำเป็น
  • ไม่ต้องมานั่งกังวลว่าเตรียมของครบหรือเปล่า
  • ช่วยให้จัดกระเป๋าไปเที่ยวได้เร็วขึ้น เพราะรู้ว่าต้องหยิบอะไรบ้าง

โดยเทคนิคสำคัญในการทำ Checklist กระเป๋าเดินทาง มีอยู่ 2 เทคนิคด้วยกัน ได้แก่

  • การทำ Checklist 2 ฉบับ เพื่อเช็กของทั้งขาไปและขากลับ 
  • การทำ Checklist 2 แบบ สำหรับกระเป๋าเดินทางที่จะโหลดลงใต้เครื่องและกระเป๋าที่จะถือขึ้นเครื่อง เพื่อที่จะได้รู้ว่าควรใส่อะไรไว้ที่กระเป๋าไหน จะได้หาของได้ง่ายขึ้น 

การทำ Checklist กระเป๋าเดินทาง สามารถช่วยให้การจัดกระเป๋าไปเที่ยวนั้นเป็นเรื่องง่ายขึ้นได้ แถมยังช่วยให้จัดได้อย่างรวดเร็ว และสะดวกมากขึ้น เพราะรู้ว่าจะต้องใช้ของอะไรบ้าง และควรให้ความสำคัญกับสิ่งของในหมวดหมู่ไหนก่อน ที่สำคัญคือ ช่วยให้เราสามารถตรวจสอบได้ว่าเราจัดของที่จำเป็นต้องใช้ครบหรือไม่ แล้วยังช่วยให้จัดกระเป๋าได้อย่างเป็นระเบียบมากขึ้

วิธีวัดกระเป๋าเดินทางไม่ให้พลาด คุ้มทุกทริป สบายทุกการเดินทาง

หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้คนช็อตฟีลเวลาเที่ยวมากที่สุดคือการเสียค่าโหลดกระเป๋าแบบไม่รู้ตัว ซึ่งหนึ่งในเหตุผลก็คือ การวัดขนาดกระเป๋าเดินทางไปผิดวิธีนั่นเอง บางคนอาจจะชะล่าใจว่าเป็นเรื่องง่ายๆ แต่บ่อยครั้งก็ยังมีคนที่เข้าใจผิดอยู่มาก AIRPORTELs จึงได้รวบรวมเทคนิควิธีการวัดกระเป๋าเดินทาง แบบเข้าใจง่ายๆ ครบจบทุกขั้นตอน เพื่อให้การเดินทางครั้งต่อไปของทุกคนเป็นไปอย่างราบรื่นไม่มีสะดุด ถ้าพร้อมแล้วตามไปดูกันเลย

ทำไมต้องวัดกระเป๋าเดินทาง

โดยปกติแล้ว สายการบินจะจำกัดจำนวน และขนาดของกระเป๋า Carry-on หรือ สัมภาระที่อนุญาตให้ผู้โดยสารนำขึ้นเครื่อง ซึ่งแต่ละสายการบินก็จะมีระเบียบและข้อกำหนดที่แตกต่างกันออกไป หากผู้โดยสารไม่ปฎิบัติตามข้อกำหนดเรื่องขนาดกระเป๋าเดินทางของสายการบินแล้ว สายการบินสามารถปฏิเสธที่จะให้ผู้โดยสารนำสัมภาระขึ้นเครื่องได้ และให้ทำการโหลดสัมภาระลงใต้ท้องเครื่องแทน ทำให้ต้องเสียเวลา เสียความรู้สึก และเสียเงินเพิ่มโดยไม่จำเป็น ในกรณีที่เลวร้ายที่สุด อาจทำให้เกิดความล่าช้าจนตกไฟล์ท ต้องทำการเลื่อนหรือจองตั๋วใหม่จนปวดหัว นอกจากนี้แบรนด์กระเป๋าบางแบรนด์ก็บอกขนาดกระเป๋าเดินทางที่รวมความสูงของล้อ แต่บางแบรนด์ก็ไม่รวม ยิ่งทำให้เกิดความสับสน และทำให้มีปัญหาตอนขึ้นเครื่อง การทำความเข้าใจกับข้อกำหนดของสายการบิน และการวัดขนาดกระเป๋าเดินทาง จึงเป็นเรื่องที่สำคัญและควรทำเป็นอย่างมากก่อนการเดินทางทุกครั้ง

เงื่อนไขขนาดกระเป๋า Carry On ของแต่ละสายการบินเป็นอย่างไร ? 

สายการบินส่วนใหญ่ อนุญาตให้ผู้โดยสารสามารถนำสัมภาระขึ้นเครื่องได้ทั้งหมด 2 ชิ้น คือกระเป๋าสะพายหรือเป้ขนาดเล็กสำหรับเก็บของใช้ส่วนตัวเช่น พาสปอร์ต โทรศัพท์มือถือ หรือหนังสือ ที่สามารถเก็บไว้ในช่องเก็บของใต้ที่นั่ง และกระเป๋าสัมภาระแบบล้อเลื่อนหรือกระเป๋าเดินทางขนาดเล็กอีก 1 ใบ 

  • โดยเฉลี่ยแล้ว กระเป๋าพกพาติดตัวควรมีขนาดไม่เกิน 37.5 เซนติเมตร (15 นิ้ว) 
  • กระเป๋าเดินทางขนาดเล็กไม่เกิน 56x36x23 เซนติเมตร (ไซส์กระเป๋าเดินทางล้อเลื่อน 14-16 นิ้ว) 
  • น้ำหนักไม่เกิน 5-7 กิโลกรัม 

หากทำการชั่งและวัดขนาดกระเป๋าเดินทางก่อนไปสนามบิน ก็จะช่วยลดโอกาสในการเจอดราม่าเรื่องการนำกระเป๋าขึ้นเครื่องอย่างแน่นอน

อย่างไรก็ตาม แต่ละสายการบินมีนโยบายเกี่ยวกับเรื่องขนาดและน้ำหนักของกระเป๋า Carry-on ที่แตกต่างกันออกไป และสายการบินสามารถเปลี่ยนแปลงนโยบายได้ตลอดเวลา จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องทำการตรวจสอบเกี่ยวกับกฎระเบียบก่อนออกเดินทาง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเกี่ยวกับสัมภาระที่อาจเกิดขึ้นได้

วิธีวัดขนาดกระเป๋าเดินทาง 

จะออกเดินทางทั้งที อย่าให้ทริปดีๆ ต้องมาสะดุดเพราะปัญหาเรื่องขนาดกระเป๋าเดินทาง  มาดูเทคนิคและวิธีวัดขนาดกระเป๋าเดินทางที่ถูกต้องเพื่อการเดินทางที่ราบรื่นกันดีกว่า โดยมีขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้

  • เช็คนโยบายของสายการบินที่ใช้บริการ เข้าไปที่เว็บไซต์หรือโทรเข้าไปสอบถามสายการบินเกี่ยวกับน้ำหนักและขนาดของสัมภาระที่อนุญาตให้ผู้โดยสารนำขึ้นเครื่อง
  • วัดขนาดกระเป๋า วัดขนาดกระเป๋าเดินทางที่ต้องการนำขึ้นเครื่องด้วยสายวัด ว่าอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถใช้เป็นกระเป๋า Carry-on ได้หรือไม่ โดยควรวัดให้ครบทั้งสามด้านคือ ความยาว ความสูง และความกว้าง ในส่วนของความสูงของกระเป๋านั้น ควรวัดตั้งแต่ล้อไปจนถึงขอบบนของกระเป๋าเพื่อความแน่ใจ เพราะสายการบินหลายแห่งก็ยังคงนับรวมความสูงของล้อกระเป๋าด้วย
  • แพ็คสัมภาระให้เหมาะกับทริป ไม่พกสัมภาระเยอะจนเกินไป และควรนำเพียงสัมภาระที่จำเป็นติดตัวไป เพื่อการเดินทางที่ราบรื่นและเพิ่มความคล่องตัวในการเดินทาง
  • วัดรอบที่สอง เพื่อความถูกต้อง หลังจากที่เก็บสัมภาระทั้งหมดใส่ลงในกระเป๋า ในบางครั้งกระเป๋าอาจหนาขึ้นเพราะมีการเปิดใช้ส่วนขยาย หรือมีสัมภาระที่ทำให้ขนาดกระเป๋าเดินทางเปลี่ยนไป จึงควรมีการวัดขนาดกระเป๋าเดินทางรอบที่สองเพื่อให้มั่นใจว่าขนาดกระเป๋าขึ้นเครื่องที่รวมสัมภาระนั้นยังคงอยู่ภายใต้ข้อกำหนดที่ทางสายการบินอนุญาต
  • ชั่งน้ำหนักกระเป๋า นอกจากขนาดของกระเป๋าแล้ว ทางสายการบินยังมีข้อกำหนดในเรื่องของน้ำหนักกระเป๋าอีกด้วย จึงควรทำการเช็คให้แน่ใจว่ากระเป๋าไม่หนักจนเกินไป จะได้ไม่เจอค่าปรับที่คาดไม่ถึง

เลือกกระเป๋าเดินทางขนาดไหนดี

นอกจากขนาดกระเป๋าขึ้นเครื่องแล้ว กระเป๋าสัมภาระที่โหลดใต้ท้องเครื่องก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน เพราะยิ่งน้ำหนักกระเป๋าน้อยลงเท่าไหร่ ก็จะยิ่งช่วยเซฟเงินที่สามารถนำไปใช้ระหว่างทริปได้เยอะมากขึ้นเท่านั้น มาดูกันว่ากระเป๋าแต่ละขนาด จะเหมาะกับทริปแบบไหนบ้าง

              กระเป๋าเดินทาง 16 – 21 นิ้ว

ขนาดกระเป๋าเดินทางที่เหมาะมากๆ สำหรับทริปสั้นๆ เช่น ไปงานแต่งงาน งานเลี้ยง หรือการเดินทางไปติดต่อธุรกิจในระยะเวลาสั้นๆ สามารถใส่เสื้อผ้าสำหรับ 1-3 วันได้แบบพอดีๆ และสำหรับหลายๆ สายการบินก็อนุญาตให้ผู้โดยสารใช้กระเป๋าขนาด 16 นิ้วเป็นกระเป๋า Carry-on ช่วยเพิ่มความคล่องตัว และไม่ต้องไปมัวรอกระเป๋าเมื่อถึงสนามบินอีกด้วย

             กระเป๋าเดินทาง 24 – 26 นิ้ว

ขนาดกระเป๋าเดินทางขนาดกลาง สามารถจุเสื้อผ้าและสัมภาระสำหรับทริปไม่เกินหนึ่งสัปดาห์ และยังเหลือที่ว่างพอให้ใส่ของฝากได้เล็กน้อย ใช้เป็นกระเป๋าโหลดใต้ท้องเครื่องได้สบายๆ เหมาะสำหรับทริปท่องเที่ยวสั้นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นกระเป๋าเดินทางไซส์มาตรฐานที่ควรมีติดบ้านเอาไว้ เผื่อเจอโปรฯ ทริปไฟลุก ปุบปับเมื่อไหร่ก็พร้อมลากกระเป๋าไปทันที

             กระเป๋าเดินทาง 29 – 32 นิ้ว

กระเป๋าเดินทางไซส์ใหญ่ที่สุด ใช้โหลดใต้ท้องเครื่องอย่างเดียวเท่านั้น เหมาะสำหรับการเดินทางที่ต้องไปอยู่ระยะยาวกว่าหนึ่งสัปดาห์ขึ้นไป ไม่ว่าจะไปเที่ยว ไปเรียน หรือย้ายไปทำงาน ก็พกพาสัมภาระไปได้แบบจุใจ โดยเฉพาะการเดินทางไปประเทศที่มีอากาศหนาว ต้องพกเสื้อโค้ทหรือเสื้อคลุมหนาๆ ก็สามารถใส่ได้สบายๆ เป็นขนาดกระเป๋าเดินทางที่โดนใจ สายช้อป สายแฟชั่น หรือสายเดินทางต่างประเทศ เพราะเก็บของได้จุแบบสุดๆ นอกจากนี้ยังเหมาะกับผู้ที่เดินทางเป็นครอบครัว โดยเฉพาะครอบครัวที่ลูกยังเล็กเพราะมักต้องมีสัมภาระติดตัวเยอะ

ทั้งนี้ ขนาดกระเป๋าเดินทางที่เลือก อาจเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ของแต่ละคน และสภาพภูมิอากาศของจุดมุ่งหมาย เช่น แม้ว่าจะเป็นทริปสั้นๆ แต่หากเป็นที่ที่มีอากาศหนาวก็มีความจำเป็นที่จะต้องใช้กระเป๋าใบใหญ่ เพราะต้องใช้เก็บเสื้อโค้ทหรือแจ็คเก็ตที่มีความหนา หรือหากเป็นการเดินทางไปพักกับเพื่อนหรือหอพักที่ซักเสื้อผ้าได้ ก็อาจไม่มีความจำเป็นที่ต้องพกเสื้อผ้าไปให้ครบจำนวนวันที่เดินทาง เป็นต้น

ถ้าโดนบังคับโหลดเพราะน้ำหนัก หรือขนาดเกิน ทำอย่างไร ?

ฝันร้ายของนักเดินทางทุกคน คือการต้องมาแก้ปัญหาเรื่องสัมภาระขึ้นเครื่องในระหว่างการเดินทาง โดยเฉพาะเมื่อเจอปัญหากระเป๋าโดนบังคับโหลดเพราะมีน้ำหนักหรือขนาดเกิน เพราะไม่ได้ชั่งและวัดขนาดกระเป๋าเดินทางก่อนมาที่สนามบิน แต่หากตกอยู่ในสถานการณ์ดังกล่าวแล้วก็สามารถแก้ไขได้ง่ายๆ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • ใช้น้ำหนักกระเป๋าโหลดให้เป็นประโยชน์ ในกรณีที่ยังพอมีน้ำหนักเหลือในกระเป๋าโหลด ให้ลองทำการย้ายของจากกระเป๋า Carry-on ไปในกระเป๋าโหลดแทน เพื่อช่วยลดน้ำหนักของกระเป๋าขึ้นเครื่องให้น้อยลง 
  • ใช้บริการส่งกระเป๋ากลับบ้าน ในกรณีที่ขนาดกระเป๋าขึ้นเครื่องใหญ่เกินไปจนไม่สามารถนำขึ้นเครื่องได้ ในบางครั้งการต้องเสียเงินเพิ่มเพื่อโหลดสัมภาระ อาจมากพอๆ กับค่าตั๋วเดินทางเลยทีเดียว ดังนั้นการตัดสินใจส่งสัมภาระกลับบ้านในสถานการณ์คับขันจึงกลายทางเลือกที่ดีที่สุด โดยสามารถเลือกใช้บริการขนส่งสัมภาระที่สนามบิน เช่น บริการของ AIRPORTELs มืออาชีพด้านการรับส่งสิ่งของและสัมภาระจากสนามบิน ส่งตรงถึงจุดหมายภายในวันเดียวกัน มีจุดบริการทั้งที่สนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมือง และยังมีจุดให้บริการตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ไม่ว่าจะเป็น เซ็นทรัลเวิร์ด มาบุญครอง และ เทอร์มินอล 21 สามารถรับส่งสัมภาระจากสนามบินได้แบบง่ายๆ ในราคาแบบสบายกระเป๋า

อย่าให้ทริปเดินทางต้องเริ่มต้นด้วยปัญหากระเป๋าน้ำหนักเกินจนต้องจ่ายเงินเพิ่ม หรือขนาดกระเป๋าขึ้นเครื่องใหญ่จนต้องโดนบังคับโหลด เพียงทำการชั่งและวัดขนาดกระเป๋าเดินทางก่อนเริ่มทริป ก็จะช่วยทำให้การเช็คอินกระเป๋าเป็นไปอย่างราบรื่นตลอดทริปเดินทาง แต่หากต้องการให้การเดินทางครั้งต่อไปสมูธแบบไร้กังวล อย่าลืมเรียกใช้บริการขนส่งสัมภาระจาก AIRPORTELs เพื่อนคู่ใจนักเดินทาง ให้คุณเก็บเวลาไปกังวลเรื่องการหามุมถ่ายรูป และปล่อยให้เรื่องกระเป๋าเป็นหน้าที่ของเรา