10 รายการ สิ่งของต้องห้ามในการส่งพัสดุ ไปต่างประเทศ

10 Banned list package

ต้องยอมรับว่าเป็นโชคดีของคนยุคนี้ที่ไม่ว่าจะทำอะไรก็รวดเร็วทันใจไปเสียหมดไม่เว้นแม้แต่เรื่องการส่งไปรษณีย์ โดยเฉพาะการส่งพัสดุไปยังต่างประเทศที่แต่ก่อนกว่าคนที่อยู่ปลายทางจะได้รับพัสดุต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์จนคนส่งลืมไปแล้วว่าส่งพัสดุไปให้ แต่ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการปรับปรุงบริการให้ทันสมัยจึงทำให้ระยะเวลาขนส่งสั้นลงมาก เพียงไม่กี่วันพัสดุก็ถึงมือผู้รับที่อยู่ต่างประเทศอย่างปลอดภัย แต่ถึงอย่างนั้นก็ใช่ว่าจะส่งได้ทุกอย่าง เพราะมีสิ่งของบางประเภทที่ห้ามส่งไปยังต่างประเทศ ดังนั้นเราจึงมี 10 รายการ สิ่งของต้องห้ามในการส่งพัสดุ ไปต่างประเทศมาฝากซึ่งจะมีประเภทไหนบ้างนั้น มีข้อมูลน่าสนใจดังนี้

บริการขนส่งและฝากกระเป๋า

1. ธนบัตรหรือตราสารหนี้

Thai baht various,สิ่งของต้องห้ามในการส่งพัสดุ

ซึ่งคนไม่น้อยที่เข้าใจว่าสามารถนำเงินใส่ซองใส่กล่องส่งข้ามประเทศทางไปไปรษณีย์ได้ แต่ตามกฎหมายไม่สามารถส่งได้ อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการสูญหายอีกด้วย ขอแนะนำว่าให้โอนผ่านธนาคารจะปลอดภัยกว่า

2. สัตว์

เนื่องจากปัจจุบันมีกฎหมายคุ้มครองสัตว์ ทำให้การส่งสิ่งมีชีวิตทางไปรษณีย์ไม่ว่าจะในประเทศหรือต่างประเทศถือว่าเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย เพราะอาจทำให้สัตว์ขาดอากาศหายใจและเสียชีวิตได้

2.1สามารถส่งสัตว์เลี้ยงข้ามประเทศได้ทางใดบ้าง?

แบบคาร์โก้ ครบวงจร  (ในกรณีที่เจ้าของไม่ได้เดินทางด้วย หรือต้องการส่งสัตว์เลี้ยงไปก่อน)

  • อย่างแรกเลยต้องพาสัตว์เลี้ยงของคุณไปตรวจสุขภาพ และฉีดวัคซีนให้เรียบร้อย  (ฝัง Microchip, วัคซีน, Rabies Titer Test ในกรณีที่เดินทางไปประเทศที่ปลอดพิษสุนัขบ้า)
  • บริการเตรียมเอกสารที่ต้องใช้ในการเดินทาง ไม่ว่าจะเป็นใบรับรองสุขภาพสัตว์ ใบอนุญาตนำออก ฟอร์มต่างๆที่แต่ละประเทศต้องการ   หรือใบอนุญาตนำเข้าจากประเทศปลายทาง 
  • จองเที่ยวบินสำหรับสัตว์เลี้ยง
  • เดินพิธีการทางศุลกากร เมื่อสัตว์เลี้ยงไปถึงประเทศปลายทาง 
  • รับและส่งสัตว์เลี้ยงไปยังที่พักอาศัยที่ประเทศปลายทาง  

3. สิ่งเสพติด

drug

แน่นอนว่าเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ถ้ามีการตรวจพบ ผู้ส่งต้องได้รับโทษตามกฎหมาย และหากพิสูจน์ได้ว่าเป็นการส่งเพื่อจำหน่าย อาจได้รับโทษสูงสุดถึงขั้นประหารชีวิต

4. สื่อลามกอนาจาร

DVD with porn movies,สิ่งของต้องห้ามในการส่งพัสดุ

สื่อลามกอนาจาร หรือสิ่งของที่มีถ้อยคำ เครื่องหมาย ลวดลายสื่อไปทางลามกอนาจาร เนื่องจากประเทศไทยยังไม่ได้ให้การยอมรับและมีกฎหมายรองรับ จึงถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ. เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยทางวัฒนธรรม

5. วัสดุระเบิดและวัตถุไวไฟทุกชนิด

Red Firecrackers

ทั้งนี้รวมถึงสิ่งที่ติดไฟง่าย อย่างดอกไม้ไฟ ประทัด แอลกอฮอล์ น้ำมันก๊าด สารออกซิไดส์และออร์แกนิกส์เปอร์ออกไซด์ ของแข็งไวไฟ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการระเบิดได้ หากตรวจพบจะถือว่ามีความผิดตามกฎหมายทันที ยิ่งไปกว่านั้น อาจทำให้กลายเป็นเรื่องใหญ่ระหว่างประเทศอีกด้วย

บริการขนส่งและฝากกระเป๋า

6. อาวุธปืน

Guns and ammunition,สิ่งของต้องห้ามในการส่งพัสดุ

อาวุธปืนที่ประกอบเป็นอาวุธโดยสมบูรณ์ กระสุนปืน และสิ่งเทียบเคียงอาวุธหรือมีลักษณะเหมือนอาวุธ

7. สารเคมี

chemical bottle,สิ่งของต้องห้ามในการส่งพัสดุ

เนื่องจากจะก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อเจ้าหน้าที่ในระหว่างขนส่ง ซึ่งหากเป็นสารเคมีอันตรายมาก ขอแนะนำว่าต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการจัดส่งแทน ทั้งนี้ยังรวมไปถึงสารกัดกร่อน เช่น กรดเกลือ น้ำกรด อีกด้วย

8. สิ่งที่เป็นอันตรายทางชีวภาพ

bacteria

สิ่งที่เป็นอันตรายทางชีวภาพ อย่างเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส สารกัมมันตภาพรังสี สารพิษ

9. สิ่งของลอกเลียนแบบ

Immigrants sell counterfeit

สิ่งของลอกเลียนแบบ ของละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์

10. สิ่งของต้องห้ามในการขนส่งทางอากาศ

spry bottles

สิ่งของต้องห้ามในการขนส่งทางอากาศ เช่น น้ำแข็งแห้ง ก๊าซในกระป๋องสเปรย์ แบตเตอรี่ลิเธียม และอุปกรณ์ที่มีการติดตั้งแบตเตอรี่ในตัวเครื่อง

จะเห็นได้ว่า สิ่งของต้องห้ามในการส่งพัสดุ นั้นเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อเจ้าหน้าที่และผู้โดยสารคนอื่นในระหว่างขนส่งได้ ซึ่งหากมีการตรวจพบ ผู้ถือครองหรือผู้ส่งจะมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 80,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

บริการขนส่งและฝากกระเป๋า

อย่างไรก็ตาม สิ่งของบางชนิด เช่น ของมีคม ที่ทางไปรษณีย์ไทยไม่ได้ถึงกับห้ามส่ง แต่ต้องผ่านการห่อหุ้มให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อเจ้าหน้าที่ ก่อนส่งพัสดุควรศึกษารายละเอียดให้ชัดเจนก่อนทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ทำผิดกฎหมายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

อ่านเพิ่มเติม

อยากส่งพัสดุไปต่างประเทศจัง ต้องทำอย่างไรบ้าง

เปิด Trick วิธีส่งของไปต่างประเทศ รวบลัด ครบจบใน 3 ขั้นตอน

Trick วิธีส่งของไปต่างประเทศ

ยุคปัจจุบันที่แต่ละประเทศทั่วโลกได้เชื่อมต่อเข้าหากัน ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารและการเดินทางที่สะดวกสบาย ทำให้การขนส่งสินค้าต่างๆ ก็เป็นไปได้อย่างง่ายดายขึ้นด้วยเช่นกัน ไม่เพียงแต่ในภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่การส่งสินค้าส่วนตัวหลายอย่างก็สามารถทำได้ไม่ยาก หลายๆ คนที่อยากส่งของไปยังต่างประเทศ แต่ยังไม่แน่ใจในเรื่องของวิธีส่งของไปต่างประเทศผ่านการขนส่งต่างๆ ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง ในบทความนี้มีทริคง่ายๆ 3 ขั้นตอนการส่งสินค้าไปต่างประเทศ ง่ายๆ  ครบจบ เข้าใจง่าย ได้อย่างปลอดภัยมาแนะนำกัน

ส่งสินค้าไปต่างประเทศ

ส่งสินค้าไปต่างประเทศ ต้องเตรียมตัวอย่างไร

วิธีส่งของไปต่างประเทศนั้นทำได้ไม่ยาก โดยสิ่งที่จำเป็นต้องรู้ก่อนคือข้อมูลต่างๆ ของสินค้าหรือพัสดุที่ต้องการส่งรวมไปถึงกฏเกณฑ์ต่างๆ ของประเทศปลายทางที่ต้องการจะส่งของไป ในการเลือกขนส่งและวิธีการส่งของไปต่างประเทศจึงควรเตรียมตัวด้วย 3 ทริคดังต่อไปนี้

1. ศึกษากฎเกณฑ์ประเทศปลายทาง และเตรียมเอกสารให้เรียบร้อย

อันดับแรกที่สำคัญที่สุดคือ ศึกษากฏเกณฑ์ของประเทศปลายทางและเตรียมเอกสารให้ครบถ้วน หลายประเทศจำเป็นที่จะต้องขอเอกสารหรือใบรับรองพัสดุ หรือสินค้าบางชนิดก่อนที่จะนำเข้าประเทศ รวมไปถึงต้องจ่ายภาษีด้วย

  • ประเทศในสหภาพยุโรปหรือ EU จะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับพัสดุทุกชิ้นที่นำเข้าประเทศ โดยมีอัตราการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่แตกต่างกันออกไปจึงควรตรวจสอบอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศที่ต้องการส่งของ และจดทะเบียนภาษีเป็นผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย
  • หากเป็นเจ้าของธุรกิจที่ต้องการส่งออกสินค้า ควรจดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลเพื่อความน่าเชื่อถือ
  • ตรวจสอบว่าสินค้าที่ต้องการส่งออกนั้นเป็นสินค้าตามที่กฏหมายกำหนดหรือไม่ หากสินค้าเป็นสินค้าตามที่กฏหมายกำหนด ให้จดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกสินค้านั้นด้วย เช่น จดทะเบียนกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำหรับผู้ที่ส่งออกผลไม้เป็นสินค้าไปยังต่างประเทศ
  • เตรียมเอกสารด้านศุลกากร ได้แก่ ใบขนส่งสินค้าขาออก ซึ่งมีข้อมูลทั่วไปของสินค้าอย่างผู้ส่งและผู้รับ ใบราคาสินค้าหรือใบแจ้งหนี้ จะต้องระบุราคาสินค้าตรงกับเอกสารอื่นๆ ใบกำกับการบรรจุหีบห่อสินค้า เป็นเอกสารที่ผู้ส่งออกให้ผู้ซื้อโดยจะต้องมีรายละเอียดทั่วไปของสินค้า เช่น น้ำหนักของสินค้า และเอกสารอย่างสุดท้ายคือคำร้องขอให้ตรวจสินค้าและบรรจุตู้สินค้า คือใบคำขอให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจสอบสินค้าว่าถูกต้องตามกฏหมายและสามารถส่งออกได้หรือไม่

2. แพ็คสิ่งของให้หนาแน่น และจ่าหน้าระบุสิ่งของให้ชัดเจน

นอกจากการเตรียมเอกสารต่างๆ เพื่อทำการส่งออกสินค้าและการส่งพัสดุแล้ว ทริคข้อต่อมาที่ควรศึกษาคือการบรรจุหีบห่อของสินค้าและพัสดุให้หนาแน่น รวมไปถึงการจ่าหน้าพัสดุให้ชัดเจนเพื่อให้การขนส่งถูกต้องและป้องกันการสูญหาย

  • ซองเอกสารห้ามปิดด้วยกาวหรือเทปกาว ให้ใช้แม็กเย็บกระดาษ
  • การส่งพัสดุเป็นกล่องห้ามใช้กาวหรือเทปกาว ให้ใช้เชือกผูกเท่านั้น
  • หากเป็นสินค้าที่เสี่ยงต่อการแตกหักหรือเสียหายในระหว่างขั้นตอนการขนส่ง ควรห่อด้วยกันกระแทกอย่างแน่นหนา
  • ตรวจสอบการจ่าหน้าซอง จะต้องเห็นรายละเอียดชัดเจน ถูกต้อง และจะต้องระบุข้อมูลของที่อยู่ในกล่องอย่างครบถ้วน เพื่อให้มีความสะดวกรวดเร็วต่อการตรวจสอบของประเทศปลายทางและป้องกันการถูกตีกลับ

3. เลือกขนส่งให้เหมาะกับสิ่งของและติดตามพัสดุ

ทริคข้อสุดท้ายคือการเลือกวิธีส่งของไปต่างประเทศที่เหมาะสมกับสินค้าที่ต้องการส่งและจะต้องติดตามเส้นทางการขนส่งสินค้าด้วย ซึ่งในการขนส่งก็มีวิธีการขนส่งที่หลากหลายทั้งทางเรือขนส่ง ขนส่งพัสดุย่อย ขนส่งทางอากาศ หรือภาคพื้นดิน เพื่อความสะดวกสบายในการขนส่งสินค้า หากขนส่งสินค้าด้วย AIRPORTELs ที่ให้บริการการขนส่งสินค้าไปยังต่างประเทศด้วยวิธีส่งของไปต่างประเทศที่หลากหลายเพื่อตอบโจทย์การขนส่งสินค้าที่เหมาะสม รวมไปถึงการให้บริการอื่นๆ เพื่ออำนวยความสะดวกก็จะช่วยให้การขนส่งสินค้าเป็นไปได้อย่างราบรื่นมากขึ้น

  • บริการหลักของ AIRPORTELs คือการส่งกระเป๋า ซึ่งมีความสะดวกสบายด้วยเคาเตอร์รับฝากส่งกระเป๋าหลายสาขา ทั้งที่สนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินดอนเมือง ห้างสรรพสินค้า Central World ห้างสรรพสินค้า MBK Center และห้างสรรพสินค้า Terminal21
  • AIRPORTELs ยังมีบริการขนส่งสินค้าและพัสดุต่างๆ นอกจากการขนส่งกระเป๋าไปยังต่างประเทศด้วยวิธีส่งของไปต่างประเทศทั้งทางอากาศ ภาคพื้นดิน ทางเรือขนส่งสินค้าและการขนส่งพัสดุย่อยอีกด้วย
รูปแบบขนส่ง

รูปแบบการขนส่ง 

เมื่อวิธีการส่งของไปต่างประเทศนั้นสามารถเลือกได้จากหลายเส้นทาง เพื่อช่วยให้สามารถตัดสินใจเลือกเส้นทางได้อย่างเหมาะสมกับพัสดุและสินค้าที่ต้องการ จึงควรศึกษาวิธีส่งของไปต่างประเทศต่างๆ ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร

1. การขนส่งทางอากาศ (Airmail) 

วิธีส่งของไปต่างประเทศวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักกันมากคือการขนส่งทางอากาศ เพราะสามารถส่งของได้อย่างรวดเร็ว

วิธีการส่ง

การขนส่งสินค้าทางอากาศหรือการขนส่งสินค้าด้วยเครื่องบิน เป็นการขนส่งที่มีทั้งการดำเนินการโดยสายการบินต่างๆ หรือบริษัทรับขนส่งสินค้าทางอากาศที่ซื้อระวางจากสายการบินมาอีกทอดหนึ่ง โดยในปัจจุบันนั้นวิธีส่งของไปต่างประเทศด้วยการขนส่งทางอากาศมีความแพร่หลายมาก ทางการขนส่งทางอากาศจึงพัฒนาให้เครื่องบินสามารถบรรจุสินค้าได้มากขึ้นและมีอุปกรณ์และบริการในการจัดส่งสินค้าที่ครบครันมากขึ้น รวมไปถึงการขยายคลังสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการในการขนส่งสินค้าทางอากาศด้วย

ข้อดี 

ข้อดีของวิธีส่งของไปต่างประเทศด้วยการขนส่งสินค้าทางอากาศคือใช้เวลาในการขนส่งน้อย อาจเรียกได้ว่าเป็นวิธีส่งของไปต่างประเทศที่รวดเร็วที่สุด ทำให้เหมาะกับสินค้าที่ต้องการความรวดเร็วในการขนส่งและเผยแพร่ออกสู่ตลาด รวมไปถึงสินค้าที่อาจเน่าเสียได้ง่ายด้วย

ข้อเสีย

ข้อเสียคือ การเป็นการขนส่งที่ใช้อัตราค่าบริการสูงหากเทียบกับการขนส่งแบบอื่นๆ และยังเป็นขนส่งที่อาจขึ้นอยู่กับสภาพอากาศได้ด้วย เช่น หากเกิดพายุอาจทำให้มีความล่าช้า เป็นต้น

หน่วยงานที่ให้บริการ Service นี้ในไทย

หน่วยงานที่ให้บริการขนส่งทางอากาศในประเทศไทย เช่น

  • บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน)
  • บริษัท ไทยสมายล์ แอร์เวย์ จำกัด

2. การขนส่งแบบผสม หรือแบบพัสดุย่อย SAL (Surface Air Lifted) 

เมื่อการส่งของไปต่างประเทศด้วยวิธีการขนส่งทางอากาศอาจเป็นการขนส่งที่ต้นทุนสูงไม่คุ้มค่ากับสินค้า จึงเกิดการขนส่งแบบผสมหรือแบบพัสดุย่อยที่เข้ามาช่วยผู้ส่งออกสินค้ารายย่อยหรือการขนส่งพัสดุขนาดเล็กขึ้น

วิธีการส่ง

การขนส่งแบบผสมหรือแบบพัสดุย่อย เป็นวิธีส่งของไปต่างประเทศที่พ่อค้าแม่ค้าหลายท่านนิยมใช้ เหมาะกับการส่งพัสดุขนาดเล็ก น้ำหนักเบา โดยเป็นวิธีส่งของไปต่างประเทศที่ผสมการเดินทางทั้งทางอากาศและภาคพื้นดิน คือจะจัดส่งโดยทางอากาศข้ามประเทศก่อนแล้วจึงจัดส่งด้วยรถยนต์เมื่อถึงประเทศปลายทาง

ข้อดี 

ข้อดีของวิธีส่งของไปต่างประเทศด้วยการขนส่งแบบพัสดุย่อย คือราคาที่ถูกกว่าการขนส่งทางอากาศและใช้เวลาไม่นาน เหมาะกับพัสดุขนาดเล็กและน้ำหนักเบา

ข้อเสีย

ข้อเสียของวิธีส่งของไปต่างประเทศด้วยการขนส่งแบบพัสดุย่อย คือไม่รวดเร็วเท่าการขนส่งทางอากาศ จึงอาจส่งผลเสียต่อสิ่งของที่เน่าเสียได้ง่ายหรือต้องการความรวดเร็วในการขนส่ง

หน่วยงานที่ให้บริการ Service นี้ในไทย

หน่วยงานที่ให้การบริการขนส่งแบบพัสดุย่อยในประเทศไทย เช่น

  • ไปรษณีย์ไทย

3. การขนส่งแบบภาคพื้นดิน (Surface mail)

หากเป็นการขนส่งแบบดั้งเดิม หลายคนคงคุ้นเคยกับการขนส่งสินค้าภาคพื้นดิน เพราะเป็นวิธีส่งของไปต่างประเทศที่มีความยุ่งยากน้อยกว่าวิธีอื่นๆ แต่จะมีข้อดีหรือข้อเสียอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ

วิธีการส่ง

การขนส่งสินค้าแบบภาคพื้นดิน คือวิธีส่งของไปต่างประเทศทางยานพาหนะภาคพื้นดินอย่างรถยนต์ เป็นวิธีขนส่งที่มาเป็นอันดับแรกๆ ในการอุตสาหกรรมการขนส่ง

ข้อดี 

ข้อดีของวิธีส่งของไปต่างประเทศด้วยการขนส่งแบบภาคพื้นดิน คือมีราคาถูกที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับการขนส่งแบบอื่นๆ

ข้อเสีย

ข้อเสียของวิธีส่งของไปต่างประเทศด้วยการขนส่งแบบภาคพื้นดิน คือมีระยะเวลาในการขนส่งที่ค่อนข้างนาน ไม่เหมาะกับของที่ต้องการความรวดเร็วในการขนส่งหรือของที่เน่าเสียได้อย่างอาหารหรือของสด

หน่วยงานที่ให้บริการ Service นี้ในไทย

หน่วยงานที่ให้การบริการขนส่งแบบภาคพื้นดินในประเทศไทย เช่น

  • บริษัทคาร์โก้

4. การขนส่งแบบผ่านเรือขนส่งสินค้า (Ocean Freight)

เมื่อพิจารณาจากวิธีส่งของไปต่างประเทศจะเห็นได้ว่ามีความหลากหลายทั้งวิธีขนส่งและระยะเวลาที่ใช้ในการขนส่ง อย่างไรก็ตาม สำหรับการส่งออกสินค้าบางอย่างที่ต้องการขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ การขนส่งสินค้าทางอากาศหรือทางรถยนต์อาจไม่ตอบโจทย์ จึงเกิดการขนส่งสินค้าผ่านเรือขนส่งสินค้าเพื่อรองรับการขนส่งสินค้าที่มีขนาดใหญ่หรือปริมาณมากขึ้น

วิธีการส่ง

การขนส่งสินค้าแบบผ่านเรือขนส่งสินค้า เป็นวิธีส่งของไปต่างประเทศที่ใช้การขนส่งทางเรือขนส่งทางน้ำ โดยสามารถบรรจุในตู้คอนเทนเนอร์หลากหลายขนาดได้ตามความต้องการของผู้ส่ง

ข้อดี 

ข้อดีของวิธีส่งของไปต่างประเทศด้วยการขนส่งแบบผ่านเรือขนส่งสินค้า คือสามารถส่งของไปต่างประเทศจำนวนมากต่อครั้งได้ สามารถเลือกตู้ขนส่งสินค้าที่เหมาะสมกับสินค้าได้ อีกทั้งยังต้นทุนค่อนข้างต่ำจึงทำให้มีค่าบริการไม่แพงด้วย

ข้อเสีย

ข้อเสียของการขนส่งแบบผ่านเรือขนส่งสินค้า คือใช้เวลาค่อนข้างนาน ต้องมีการถ่ายโอนสินค้าขึ้นบกอีกทอดหนึ่ง อีกทั้งไม่เหมาะกับการขนส่งพัสดุน้อยชิ้นเพราะจะทำให้ต้นทุนสูงและไม่คุ้มค่า

หน่วยงานที่ให้บริการ Service นี้ในไทย

หน่วยงานที่ให้การบริการขนส่งแบบผ่านเรือขนส่งสินค้าในประเทศไทย เช่น

  • บริษัท AGLT
  • บริษัท Ezyship
ปัญหาการขนส่งต่างประเทศ

เมื่อเกิดปัญหาในการขนระหว่างต่างประเทศทำอย่างไร ?

หากว่าสินค้าหรือพัสดุมีความเสียหาย ทางผู้ขนส่งจะมีการชดเชยโดย

  • ทั่วไปแล้วการขนส่งจะมีการชดเชยความเสียหายตามจริง หรือไม่เกินประมาณ 3,000-10,000 บาท ขึ้นอยู่กับน้ำหนักหรือกฏเกณฑ์ของขนส่งแต่ละบริษัท
  • หากเกิดความเสียหายแล้วเกิดการฟ้องร้อง จะต้องปฏิบัติตามกฏหมายของประเทศต้นทางหรือบริษัทที่ขนส่ง

วิธีส่งของไปต่างประเทศ แม้จะมีหลากหลายวิธีและหลากหลายขั้นตอนให้เตรียมตัว ไม่ว่าจะเป็นการศึกษากฏหมายการขนส่งของแต่ละประเทศหรือการเตรียมเอกสารเพื่อขอส่งออกสินค้าต่างๆ แต่หากเข้าใจทริคง่ายๆ ในการเตรียมตัวก็จะช่วยให้สามารถส่งออกสินค้าหรือส่งของไปต่างประเทศได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ จุดที่สำคัญคือการศึกษาวิธีการขนส่งทั้งทางอากาศ การขนส่งแบบผสม การขนส่งภาคพื้นดินและการขนส่งทางเรือสินค้าให้ละเอียด เพื่อให้สามารถเลือกการขนส่งที่ตอบโจทย์กับสินค้าได้มากที่สุด

มาทำความรู้จักกับ Incoterms กันเถอะ

Incoterms

หลายคนโดยเฉพาะผู้ทำการซื้อขายของระหว่างประเทศอาจเคยได้ยินได้เห็นคำว่า Incoterms มาบ้าง Incoterms คือ อะไร โดยเฉพาะคำย่อต่าง ๆ มีความหมายอย่างไร เบื้องต้นอยากให้เข้าใจก่อนว่า ด้วยการทำการค้าระหว่างประเทศนั้น แต่ละประเทศย่อมต้องพิจารณาข้อกฎหมายของตนเป็นสำคัญในการทำการซื้อขาย โดยเฉพาะเรื่องการค้าระหว่างประเทศต่างกัน อาจด้วยเพราะระบบกฎหมายแตกต่างกัน

ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาข้อพิพาทดังกล่าว หอการค้านานาชาติ จึงได้จัดทำ Incoterms ขึ้น โดยกำหนดหลักเกณฑ์และประเพณีการค้าระหว่างประเทศไว้ให้เป็นรูปแบบเดียวกัน ทั้งกำหนดเรื่องหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งถือเป็นหัวใจเป็นสำคัญ กล่าวคือ เมื่อทำการซื้อขาย ปัญหาว่าความรับผิดชอบในตัวสินค้านั้นสิ้นสุดลงเมื่อใด เป็นปัญหาสำคัญยิ่งในการซื้อขายระหว่างประเทศ ดังนั้น จึงต้องเสมือนมีกฎหมายกลางคอยควบคุมเรื่องนี้

International Chamber of Commerce,Incoterms

วิวัฒนาการ Incoterms เริ่มครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1936 และได้มีการปรับปรุงมาเรื่อย ๆ ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า Incoterms 2010 ซึ่งมีทั้งหมด 11 เทอม ลดลงจาก Incoterms 2000 ที่เดิมมี 13 เทอม เพื่อความเข้าใจ Incoterms คือ อะไร ขอยกตัวอย่าง ดังนี้

กลุ่มหนึ่ง กรณีการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศที่มีวิธีการขนส่งโดยวิธีหนึ่งวิธีใด ที่ไม่มีการขนส่งสินค้าทางทะเล หรือมีการขนส่งทางทะเลเพียงบางช่วง กล่าวคือ ไม่ได้ขนสินค้าทางทะเลเป็นหลัก เช่น

            EXW (Ex Work) คือ การซื้อขายที่กำหนดหน้าที่ผู้ขายน้อยที่สุด โดยกำหนดให้ผู้ซื้อจะต้องรับผิดชอบออกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการรับสินค้า โดยความเสี่ยงภัยหรือความรับผิดชอบในตัวสินค้า ณ สถานที่ผู้ขาย กล่าวคือ ผู้ซื้อมีหน้าที่มารับสินค้าเองจากผู้ขายที่หน้าโรงงานของผู้ขาย ผู้ขายย่อมหมดความรับผิดชอบในความเสียหายของสินค้า นับตั้งแต่พ้นโรงงานผลิต

            FCA (Free Carrier) คือ ความรับผิดชอบในความเสียหายของสินค้าของผู้ขายย่อมโอนไปยังผู้ซื้อ เมื่อผู้ขายมอบสินค้าให้แก่ผู้ขนส่ง หรือบุคคลที่ผู้ซื้อกำหนด ณ สถานที่ใด ๆ ที่ผู้ขายกำหนด ทั้งนี้ผู้ขายมีหน้าที่ส่งผ่านศุลกากรขาออกด้วย

            CPT (Carriage Paid To) คือ การส่งสินค้าที่ผู้ขายมีหน้าที่ส่งสินค้าให้ผู้ขนส่ง ซึ่งผู้ขายเป็นกำหนด (ผู้ขายเป็นผู้ว่าจ้าง) ความเสี่ยงภัยของผู้ขายย่อมโอนเมื่อส่งมอบสินค้านั้นให้แก่ผู้ขนส่ง

FAS,Incoterms

            กลุ่มสอง ใช้เฉพาะสัญญาซื้อขายที่มีการขนส่งทางทะเลเป็นหลัก โดยสถานที่ส่งของและรับของคือ ท่าเรือทั้งของประเทศผู้ซื้อ และประเทศผู้ขาย เช่น

            FAS (Free Alongside Ship) คือ ความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายหรือความเสี่ยงต่าง ๆ ในสินค้า โอนไปยังผู้ซื้อ เมื่อผู้ขายได้นำสินค้ามาวางเทียบข้างเรือผู้ขนส่งที่ผู้ซื้อกำหนด

            FOB (Free On Board) คือ ความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายหรือความเสี่ยงต่าง ๆ ในสินค้า โอนไปยังผู้ซื้อ เมื่อผู้ขายได้นำสินค้าบรรทุกลงเรือ (on board) ผู้ขนส่งที่ผู้ซื้อกำหนด

จากที่กล่าวข้างต้นน่าจะพอเห็นภาพได้บ้างว่า Incoterms คือ อะไร ซึ่งโดยหลักเป็นเรื่องการกำหนดการโอนความเสี่ยงต่าง ๆ ในสินค้านั้นว่า ความเสี่ยงภัยของผู้ขายหรือความรับผิดชอบนั้นจะโอนยังผู้ซื้อเมื่อใด รวมถึงกำหนดหน้าที่ผู้ซื้อและผู้ขายในเรื่องค่าใช้จ่ายในการขนส่งในแต่ละเทอมว่า ใครเป็นผู้รับผิดชอบ เพื่อให้ภาพขอยกตัวอย่าง ดังนี้

นาย ก ประเทศไทย สั่งซื้อเครื่องปรับอากาศ จากบริษัท A ประเทศสหรัฐอเมริกา ราคา FOB

Ship at the port

หมายความว่า ความรับผิดชอบในความเสี่ยงภัยสินค้าสูญหาย เสียหาย ของบริษัท A พ้นเมื่อได้ทำการบรรทุกสินค้าลงเรือผู้ขนส่งที่ นาย ก เป็นผู้จัดหาเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น จึงไม่ต้องพิจารณาเรื่องกรรมสิทธิ์ในตัวสินค้านั้นจะโอนแล้วหรือไม่ รวมด้วยระบุราคา FOB ย่อมหมายความว่า นาย ก มีหน้าที่เป็นผู้จัดหาผู้ขนส่ง เป็นต้น

ทำความรู้จัก Incoterms เงื่อนไขการส่งสินค้าระหว่างประเทศ ที่สำคัญควรต้องรู้

logistics, transportation,Incoterms เงื่อนไขการส่งสินค้าระหว่างประเทศ

ปัจจุบันการทำธุรกิจซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศเจริญขึ้นอย่างมาก ส่วนหนึ่งมาจากการซื้อขายมีลักษณะเป็น E-commerce กล่าวคือ การนำเทคโนโลยีมาช่วยในการอำนวยความสะดวกในการซื้อขาย อย่างไรก็ตามด้วยการซื้อขายระหว่างประเทศนั้น แต่ละประเทศย่อมมีวัฒนธรรมและกฎหมายเกี่ยวกับการค้าแตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะเรื่องสิทธิหน้าที่และความรับผิดของผู้ขายสิ้นสุดลงเมื่อใด ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาข้อพิพาทดังกล่าว หอการค้านานาชาติ (ICC) จึงได้จัดทำ Incoterms ขึ้น ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 11 เทอม ตาม Incoterms 2010 ซึ่งแก้ไขล่าสุด อย่างไรก็ตามในการซื้อขายระหว่างประเทศในความเป็นจริงแล้ว มีเทอมใน Incoterm เงื่อนไขการส่งสินค้าระหว่างประเทศ ที่ควรศึกษาอยู่จริง ๆ เพียง 4 – 5 เทอมเท่านั้น อันเป็นเทอมที่ใช้บ่อย ดังนี้

COST INSURANCE FREIGHT CONCEPT,Incoterms เงื่อนไขการส่งสินค้าระหว่างประเทศ

FOB (Free on Board) คือ การซื้อขายที่กำหนดหน้าที่ผู้ขายสินค้าพ้นความผิดในการที่สินค้านั้นสูญหาย หรือเสียหาย เมื่อสินค้าบรรทุกลงเรือ (on Board) ที่ผู้ซื้อเป็นผู้จัดหา ดังนั้น หากความเสียหายเกิดขึ้นไม่ว่าเวลาใด ก่อนมีการบรรทุกสินค้าลงเรือ ไม่ว่ากรรมสิทธิ์จะโอนไปยังผู้ซื้อแล้วหรือไม่ตามกฎหมายประเทศนั้น ๆ ผู้ขายยังคงมีหน้าที่รับผิดเสมอ กลับกันหากสินค้าบรรทุกลงเรือแล้ว เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นหลังจากนี้ ผู้ซื้อก็ไม่อาจโทษผู้ขายได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ในเรื่องพิธีการศุลกากร ผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบเฉพาะพิธีการศุลกากรเพื่อการส่งออกเท่านั้น ส่วนพิธีการเพื่อการนำเข้าเป็นหน้าที่ของผู้ซื้อ

            Incoterms เงื่อนไขการส่งสินค้าระหว่างประเทศ ประเภทเทอม FOB เหมาะสำหรับผู้ซื้อที่สามารถจัดการติดต่อว่าจ้างขนสินค้าได้เอง รวมถึงสามารถทำพิธีการศุลกากรขาเข้าได้

Delivery terms

            EXW (Ex Work) คือ การซื้อขายที่กำหนดข้อตกลงให้ผู้ขายปฏิบัติการชำระหนี้ ณ สถานที่ของผู้ขาย กล่าวคือ ความเสี่ยงภัยในความรับผิดเพื่อการสูญหาย เสียหาย ย่อมโอนไปยังผู้ซื้อ เมื่อผู้ขายมอบของแก่ผู้ซื้อหน้าโรงงานของผู้ขายหรือสถานที่อื่น ๆ ที่ผู้ขายกำหนด อาจกล่าวได้ EXW กำหนดหน้าที่และความรับผิดของผู้ขายน้อยสุดเมื่อเปรียบเทียบกับ Incoterm ในเทอมอื่น ๆ เพราะผู้ขายแทบไม่ต้องทำหน้าที่อะไร รวมถึงไม่ต้องดำเนินพิธีการทางศุลกากรใด ๆ ทั้งสิ้น

            Incoterms เงื่อนไขการส่งสินค้าระหว่างประเทศประเภทเทอม EXW เหมาะสำหรับผู้ซื้อที่มีความสามารถในการจัดหาผู้ขนส่ง และสามารถดำเนินพิธีทางศุลกากรขาออกประเทศต้นและศุลกากรขาเข้าประเทศปลายทาง ดังนั้น หากผู้ซื้อสินค้าไม่สามารถดำเนินการตามได้ข้างต้น ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะซื้อขายสินค้าในเทอมนี้ เพราะภาระมากสุด

            CFR (Cost and Freight) คือ การซื้อขายสินค้าที่กำหนดให้ผู้ขายพ้นความผิดหากสินค้านั้นสูญหาย หรือเสียหายเมื่อสินค้าบรรทุกลงเรือ (on Board) อย่างไรก็ตามผู้ขายมีหน้าที่จัดหาขนส่ง แต่ไม่มีหน้าที่ทำประกันภัยในสินค้านั้น หากผู้ขายจะทำต้องดำเนินการเอง อย่างไรก็ตามผู้ขายยังคงมีหน้าที่ดำเนินพิธีทางศุลกากรขาออกประเทศผู้ผลิตหรือผู้ขายต้นทางนั้น แต่ไม่รวมถึงพิธีทางศุลกากรขาเข้าประเทศผู้นำเข้าปลายทาง

            Incoterms เงื่อนไขการส่งสินค้าระหว่างประเทศประเภทเทอม CFR เหมาะสำหรับอำนวยความสะดวกให้ผู้ซื้อสินค้า โดยผู้ซื้อมีหน้าที่เพียงไปรับสินค้า ณ ท่าเรือที่ปลายทางกำหนด พร้อมดำเนินพิธีทางศุลกากรขาเข้า ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ขนส่ง การดำเนินการพิธีทางศุลกากรขาออก เป็นหน้าที่ของผู้ขาย

            CIF (Cost Insurance and Freight) คือ การซื้อขายสินค้าที่กำหนดให้ ผู้ขายพ้นความผิดหากสินค้านั้นสูญหาย หรือเสียหายเมื่อสินค้าบรรทุกลงเรือ (on Board) อย่างไรก็ตามผู้ขายมีหน้าที่เป็นผู้จัดหาขนส่ง รวมถึงมีหน้าที่เอาประกันเกี่ยวกับสินค้านั้น เพื่อคุ้มภัยขั้นต่ำตามที่กำหนดไว้ในข้อ C ของหน่วยรับประกันภัยทางทะเล รวมถึงมีหน้าที่ดำเนินพิธีทางศุลกากรขาออกประเทศผู้ผลิตหรือผู้ขายต้นทางนั้น แต่ไม่รวมถึงพิธีทางศุลกากรขาเข้าประเทศผู้นำเข้าปลายทาง

            Incoterms เงื่อนไขการส่งสินค้าระหว่างประเทศ ประเภทเทอม CIF เหมาะสำหรับอำนวยความสะดวกผู้ซื้อมากขึ้น โดยผู้ซื้อเพียงแต่ไปรับสินค้าและดำเนินพิธีทางศุลกากรขาเข้า ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ขนส่ง และประกันภัย เป็นหน้าที่ของผู้ขายสินค้า อย่างไรก็ตามความเสี่ยงภัยในความเสียหายสินค้าของผู้ซื้อเริ่มตั้งแต่ประเทศผู้ส่งของต้นทางแล้ว

Container terminal,Incoterms เงื่อนไขการส่งสินค้าระหว่างประเทศ

            จากที่กล่าวมาข้างต้น Incoterms เงื่อนไขการส่งสินค้าระหว่างประเทศถือเป็นเรื่องหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบธุรกิจซื้อขายระหว่างประเทศควรศึกษา เพื่อให้การซื้อขายมีความเป็นสากลเข้าใจตรงกันในเรื่องการโอนความเสี่ยงภัยเมื่อหากเกิดปัญหาขึ้น อีกทั้งยังเป็นตัวกำหนดหน้าที่อื่น ๆ เช่น พิธีทางศุลกากร หน้าที่การจัดหาผู้ขนส่ง เป็นต้น ซึ่งย่อมช่วยทำให้การซื้อขายสะดวกมากขึ้น ตลอดจนทำให้การระงับข้อพิพาทซึ่งอาจเกิดขึ้น สามารถยุติได้อย่างรวดเร็วเพราะมีหลักเกณฑ์ความเข้าใจตรงกัน

จะเกิดอะไรขึ้นกับพัสดุที่ถูกจับได้ว่าเลี่ยงภาษี!?

airport customs declare sign,พัสดุที่เลี่ยงภาษี

เป็นที่ทราบกันดีว่า ในการส่งพัสดุหรือรับพัสดุจากต่างประเทศนั้น หากมิได้เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมายใด ๆ แล้ว ผู้ส่งหรือผู้รับนั้นจะต้องเป็นผู้เสียภาษีอากรเพื่อการส่งออกหรือเพื่อการนำเข้าแล้วแต่กรณี อย่างไรก็ตาม หากปรากฏว่ามีการจงใจส่งของหรือ พัสดุที่เลี่ยงภาษี หรือหนีภาษีนั้น ย่อมถือเป็นความผิดตามกฎหมายศุลกากร โดยเบื้องต้นหากเป็นการตรวจพบก่อนส่งพัสดุกล่าวคือ กรอกใบ CN22 ผิดจากความเป็นจริง หากยังอยู่ในอำนาจแก้ไขได้ เช่น ยังอยู่ที่ทำการไปรษณีย์หรือผู้รับขนส่งอื่น ก็คงไม่เป็นอะไร แต่หากของหรือพัสดุนั้นส่งออกไปแล้วถูกตรวจพบโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร ซึ่งปกติมักทำการตรวจโดยการสุ่ม หรือตรวจเฉพาะของหรือพัสดุที่ต้องสงสัยจริง ๆ หากพบว่ามีลักษณะจงใจหลบหนีหรือหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรย่อมอาจต้องถูกดำเนินคดีได้ โดยความผิดตามกฎหมายศุลกากรนี้ สามารถแยกออกได้เป็น 5 ฐานความผิดสำคัญดังนี้

Security agent,พัสดุที่เลี่ยงภาษี

1. ความผิดฐานลักลอบหนีภาษี

ลักษณะความผิดคือ การนำของซึ่งยังมิได้เสียภาษีอากรโดยถูกต้องหรือมิได้ผ่านพิธีการศุลกากรโดยถูกต้อง นำเข้าหรือส่งออกไปราชอาณาจักร กล่าวคือ หากของนั้นต้องเสียภาษีแต่มิได้เสียภาษี หรือของนั้นไม่จำต้องเสียภาษี แต่ก็มิได้กระทำให้ถูกกระบวนการพิธีการศุลกากรตามกฎหมาย เหล่านี้ถือเป็นความผิดฐานลักลอบหนีภาษีทั้งสิ้น ระวางโทษคือ ปรับ 4 เท่าของราคาภาษีนั้น หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ พร้อมริบของนั้น

2. ความผิดฐานหลีกเลี่ยงค่าภาษี

ลักษณะความผิดคือ การส่งของหรือพัสดุโดยผ่านพิธีการศุลกากรโดยถูกต้อง แต่กระทำการใด ๆ เพื่อให้ชำระค่าภาษีน้อยลง เช่น สำแดงปริมาณน้ำหนักน้อยกว่าความเป็นจริง หรือที่เรียกว่า การสำแดงเท็จ ทั้งนี้การส่งของหรือ พัสดุที่เลี่ยงภาษี นี้ กำหนดความผิดไว้ทำนองเดียวกับการหนีภาษีคือ ระวางโทษ ปรับ 4 เท่าของราคาภาษีนั้น หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ พร้อมริบของนั้น แต่ในกรณีเป็นการหลีกเลี่ยงโดยการซุกซ่อนกับสิ่งอื่นที่ต้องเสียภาษี นอกจากปรับ 4 เท่าตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว ให้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 1 เท่าด้วย หรือประมาณอีก 10 %

3. ความผิดฐานสำแดงเท็จ

ลักษณะความผิดคือ การนำเข้าหรือส่งออกไม่ตรงกับเอกสารหลักฐานที่แสดง ซึ่งมีหลายกรณี เช่น ปลอมหรือใช้เอกสารปลอม หรือแจ้งเท็จแก่เจ้าหน้าที่ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน

4. ความผิดฐานนำของต้องกำกัดหรือของต้องห้ามเข้ามาหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร

ของต้องกำกัด คือ ของต้องจำกัดการนำเข้าหรือส่งออกนั่นเอง กล่าวคือ เป็นของที่สามารถนำเข้าหรือส่งออกได้ แต่ต้องมีการขออนุญาตก่อน เช่น การนำเข้าสารเคมีอันตรายเข้ามาภายในประเทศ ต้องขออนุญาตหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น กระทรวงอุตสาหกรรมก่อนเสมอ ส่วนของต้องห้ามคือ สิ่งผิดกฎหมายที่ไม่อาจนำเข้าหรือส่งออกราชอาณาจักรเพื่อการค้าได้เด็ดขาด เช่น ยาเสพติด

5. ความผิดฐานฝ่าฝืนพิธีศุลกากร

ลักษณะความผิดคือ การมิได้ปฏิบัติตามพิธีการศุลกากรให้ถูกต้องตามกฎหมายศุลกากร หรือกฎหมายอื่น เช่น มิได้ยื่นคำขอตามแบบพิธีในการขนสินค้าขาเข้า ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกิน 1,000 บาท เป็นต้น

Export cleared approval stamp,พัสดุที่เลี่ยงภาษี

จากที่กล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า หากเราส่งของหรือ พัสดุที่เลี่ยงภาษี หรือหนีภาษี โทษทางกฎหมายศุลกากรนั้นค่อนข้างมีบทลงโทษรุนแรง โดยมีทั้งโทษปรับ และโทษจำคุก โดยหากถูกเจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจพบเมื่อกระทำผิดแล้ว ก็ยากที่จะแก้ตัวให้พ้นผิด ต้องถูกส่งดำเนินคดี ส่งฟ้องต่อศาลต่อไป โดยแม้หากผู้กระทำผิด ยินดีจ่ายค่าปรับสูงสุด อธิบดีศุลกากรอาจใช้ดุลพินิจสั่งไม่ฟ้องก็ได้ แต่กระนั้นก็มิได้ลบล้างความผิดแต่อย่างใด ดังนั้น ก่อนที่จะส่งหรือนำเข้าของ หรือพัสดุต่าง ๆ ควรตรวจสอบราคาสิ่งของและเงื่อนไขการส่งให้ชัดเจน

ถ้าต้องส่งสินค้าตัวอย่างกลับประเทศ…แต่ไม่อยากเสียภาษีนำเข้า?

rubber stamp,ไม่อยากเสียภาษีนำเข้า

เมื่อกล่าวถึงเรื่องภาษี เชื่อว่าหลายคนโดยเฉพาะผู้ประกอบธุรกิจค้าขาย ถือเป็นเรื่องหนึ่งที่อาจสร้างความปวดหัวไม่มากก็น้อย ส่วนหนึ่งอาจเพราะความยุ่งยากในระบบกฎหมายภาษี ด้วยเพราะภาษีนั้นมีหลายประเภท เช่น ภาษีบุคคลธรรมดา ภาษีนิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ยิ่งโดยเฉพาะผู้ประกอบธุรกิจส่งออกนำเข้าสินค้า ก็จะมีภาษีนำเข้า ภาษีส่งออก ภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า มีภาษีหลายอย่างมากที่เกี่ยวข้องในชีวิตของเรา ยิ่งมีธุรกิจมาก ยิ่งมีโอกาสเสียภาษีมากเท่านั้น สำหรับในวงการกฎหมายกล่าวว่า สิ่งที่ไม่อาจหลีกหนีในชีวิตมี 2 อย่างคือ ความตายและภาษี ซึ่งก็เป็นเรื่องจริง เพราะไม่ว่าอย่างไรแล้วชีวิตเราทุกคนจะต้องเสียภาษีอย่างน้อยในหนึ่งอย่างตามที่กล่าวข้างต้น เช่น เมื่อไปซื้อสินค้า สิ่งที่อยู่ในมูลค่าสินค้าทุกชิ้นคือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (vat) เป็นต้น

อย่างไรก็ตามมิใช่ว่าเราจำเป็นจะต้องเสียภาษีครบทุกประเภทโดยไม่มีข้อยกเว้นแต่อย่างใด อาจกล่าวได้ว่าในกฎทุกกฎย่อมมีข้อยกเว้นเสมอ ภาษีก็เช่นเดียวกัน มิใช่ว่าเมื่อมีรายได้เกิดขึ้นจำเป็นต้องเสียภาษีเสมอไป หากมีการวางแผนภาษีที่ดีย่อมช่วยลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้อย่างมาก ซึ่งเรื่องนี้ในทางวิชาการภาษีถือเป็นการกระทำถูกกฎหมาย เพราะไม่ใช่การหลบเลี่ยงหรือหนีภาษี กรณีเหล่านี้ถือเป็นความผิด เมื่อถูกจับได้ย่อมมีโทษทั้งจำคุกและปรับ ดังนั้น คำถามที่ว่าหาก ไม่อยากเสียภาษีนำเข้า สามารถทำได้หรือไม่ คำตอบคือ ทำได้

Taxes Money Financial,ไม่อยากเสียภาษีนำเข้า

ตามที่กล่าวไว้แล้วเราสามารถวางแผนภาษีได้โดยไม่ผิดกฎมาย หากเรา ไม่อยากเสียภาษีนำเข้า ควรวางแผนภาษีให้เข้าเงื่อนไขตามกฎหมายกำหนด ซึ่งมีหลายอย่างดังนี้

            1. หากเป็นของที่ส่งออกไปและส่งกลับเข้ามาภายในระยะเวลา 1 ปี โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณะอย่างใด โดยในขณะส่งออกมีการทำใบรับสุทธิสำหรับนำกลับเข้ามา (ระยะเวลาข้างต้นอาจขยายได้ตามที่อธิบดีศุลกากรกำหนด)

            2. เป็นของที่เคยนำเข้ามา และส่งออกกลับไปเพื่อซ่อมแซม โดยกลับเข้ามาภายในระยะเวลา 1 ปี โดยในขณะส่งออกมีการทำใบรับสุทธิสำหรับนำกลับเข้ามา (ระยะเวลาข้างต้นอาจขยายได้ตามที่อธิบดีศุลกากรกำหนด)

            3. ของที่นำติดตัวเข้ามาหรือนำเข้ามาและส่งออกกลับไปไม่เกิน 6 เดือนนับแต่วันเข้ามา ทั้งนี้ต้องเป็นสิ่งที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย เช่น ของเพื่อใช้การแสดงละคร อาวุธปืน เครื่องกระสุน ตัวอย่างสินค้า เป็นต้น

            4. รางวัล เหรียญตรา ที่ต่างประเทศมอบให้แก่บุคคลที่อยู่ในราชอาณาจักร เมื่อนำเข้ามาย่อมได้รับการยกเว้น ทั้งนี้ตามความเหมาะสม

            5. ของส่วนตัวที่นำติดตัวเข้ามาตามสมควรและพอแก่วิชาชีพ เช่น สุรา 1 ลิตร บุหรี่ 200 มวน

            6. ของตกแต่งบ้านเรือนที่ติดตัวนำเข้ามา ในกรณีย้ายภูมิลำเนากลับ

            7. ตัวอย่างสินค้าที่ใช้เพียงแค่เป็นตัวอย่างเท่านั้นไม่มีราคาซื้อขายได้

            8. ยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในราชการ

saving money concept,ไม่อยากเสียภาษีนำเข้า

จากที่กล่าวมานี้เป็นเพียงตัวอย่างว่า หากผู้ประกอบการ ไม่อยากเสียภาษีนำเข้า การวางแผนภาษีเพื่อยกเว้นภาษีต่าง ๆ ย่อมช่วยลดค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นได้อย่างมาก ดังนั้น เมื่อผู้ประกอบการนำเข้าสินค้าควรพิจารณาข้อยกเว้นต่าง ๆ เช่น ตามตัวอย่างที่กล่าวมาในขั้นต้นว่า พอเข้าช่องทางหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อความน่าเชื่อถือ ควรระบุให้ชัดเจนตั้งแต่ต้นทางประเทศผู้ส่งออก เช่น นำสินค้าเพื่อเข้ามาเป็นตัวอย่าง ควรให้ประเทศผู้ส่งออกต้นทางระบุให้ชัดเจน เพื่อความสะดวกในการทำเรื่องขอยกเว้นภาษีนำเข้าต่อไป

อยากส่งพัสดุไปต่างประเทศจัง ต้องทำอย่างไรบ้าง

Logistics and transportation,วิธีส่งพัสดุไปต่างประเทศ

ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้าทำให้การติดต่อสื่อสารเพื่อซื้อขายสินค้ามีความสะดวกมากขึ้น โดยเฉพาะการทำธุรกิจขายสินค้าในสื่อโซเชียลต่าง ๆ ซึ่งจัดเป็นการทำธุรกิจแบบ E-commerce อย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญในการซื้อขายสินค้านั่นคือ การได้รับสินค้า ซึ่งหากแค่จัดส่งให้ลูกค้าภายในประเทศก็คงไม่มีอะไรยุ่งยากมากนัก แต่กรณีลูกค้าผู้ซื้ออยู่ต่างประเทศ เชื่อได้ว่าการส่งสินค้าคงเป็นคำถามสำคัญของผู้ขายสินค้า ดังนั้น เพื่อความเข้าใจในขั้นตอนดังกล่าวจึงขอนำเสนอ วิธีส่งพัสดุไปต่างประเทศ เบื้องต้น ดังนี้

customs declaration,วิธีส่งพัสดุไปต่างประเทศ

สำหรับการส่งสินค้าทางไปรษณีย์ กรณีเป็นผู้ค้าขายทั่วไป เบื้องต้นคงต้องเลือกประเภทรูปแบบการขนส่งก่อน ซึ่งมีอยู่ 3 รูปแบบหลัก คือ

1. การขนส่งทางอากาศ (Airmail) ข้อดี ส่งถึงเร็วสุด ข้อเสีย ราคาแพงสุด

2. การขนส่งแบบผสม หรือแบบพัสดุย่อย SAL (Surface Air Lifted) ข้อดี ส่งเร็ว ราคาไม่แพงมาก ข้อเสีย อาจเร็วไม่พอในสินค้าบางชนิด เช่น ของสดเสียง่าย หรือต้องการสินค้าด่วน

3. การขนส่งแบบภาคพื้นดิน (Surface mail) ข้อดี ราคาถูกสุด ข้อเสีย ส่งถึงช้าสุด

จากนั้นเมื่อเลือกวิธีการขนส่งแล้ว สิ่งต่อไปที่สำคัญที่สุดคือ เรื่องเอกสารการจัดส่ง โดยในกรณีส่งพัสดุด้วยระบบไปรษณีย์ มีเพียงการกรอกข้อมูลสำคัญลงใบ CN22 (Customs Declaration) คือ ใบระบุสินค้า เหตุผลการจัดส่ง รวมทั้งราคา ชื่อผู้ส่ง และผู้รับสินค้า อย่างไรก็ตามการส่งของไปต่างประเทศจะต้องยินยอมให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรอาจสุ่มตรวจสิ่งของภายในได้

documents graph,วิธีส่งพัสดุไปต่างประเทศ

กรณีส่งของต่างประเทศโดยผู้ประกอบธุรกิจเพื่อการส่งออก

1. ในกรณีเป็นผู้ประกอบธุรกิจ การจดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลย่อมเป็นเรื่องสำคัญในความน่าเชื่อถือสถานะบุคคล

2. จดทะเบียนภาษีเป็นผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากการขายสินค้าหรือบริการ ย่อมต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งสิ้น

3. จดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกสินค้านั้น ๆ ในกรณีกฎหมายกำหนด เช่น การส่งผลไม้ไปต่างประเทศ ต้องจดทะเบียนกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นต้น

4. จัดทำเอกสารด้านงานศุลกากร ซึ่งประกอบด้วยใบสำคัญดังต่อไปนี้

4.1 ใบขนส่งสินค้าขาออก คือ ใบระบุข้อมูลสินค้าทั่วไป เช่น ชื่อผู้ส่ง ผู้รับ สินค้า วิธีการขนส่งสินค้า ราคาสินค้า รวมถึงเอกสารแนบ ใบกำกับสินค้าขนย้าย คือ ใบระบุต้นทางการขนย้าย เพื่อระบุที่มาการขนย้ายที่ผ่านมา

4.2 ใบราคาสินค้า (Invoice) คือ ใบแจ้งหนี้หรือใบกำกับสินค้า ทั้งนี้ราคาที่ระบุในเอกสารต่าง ๆ ต้องตรงตามเอกสาร invoice

4.3 ใบกำกับการบรรจุหีบห่อสินค้า (Packing list) คือ เอกสารที่ผู้ขายออกให้แก่ผู้ซื้อ แจ้งรายละเอียดทั่วไปเกี่ยวกับสินค้า เช่น ปริมาณน้ำหนัก วิธีการบรรจุ เป็นต้น

4.4 คำร้องขอให้ตรวจสินค้าและบรรจุตู้สินค้า คือ ใบร้องขอเพื่อให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรทำการตรวจสินค้านั้นว่าชอบด้วยกฎหมายสามารถส่งออกได้หรือไม่ ก่อนที่จะบรรจุสินค้านั้นเข้าตู้สินค้าเพื่อส่งออกต่อไป

จากที่กล่าวมาเป็นเพียง วิธีส่งพัสดุไปต่างประเทศ เบื้องต้น ในเรื่องเอกสารที่เกี่ยวข้องทางด้านศุลกากรเพื่อการส่งออกในสินค้าทั่วไป กล่าวคือ หากเป็นสินค้าเฉพาะที่ต้องมีการขออนุญาต วิธีส่งพัสดุไปต่างประเทศ ในกรณีผู้ประกอบเป็นธุรกิจก็ต้องมีความซับซ้อนมากขึ้น เช่น สิ่งของที่ต้องควบคุม ต้องขออนุญาตพิเศษจากหน่วยงานที่ควบคุมนั้น ๆ เพื่อนำมาประกอบพิธีทางศุลกากรขาออก เพื่อเสียอากรขาออก จากนั้นจึงไปดำเนินการเรื่องการขนส่ง ซึ่งต้องนำเอกสารการอนุญาตที่ออกโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรไปให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อไป จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนการขนส่ง ซึ่งจะมีเอกสารเฉพาะอีก เช่น Bill of Lading เอกสารระบุการบรรทุกของลงเรือ เป็นเอกสารยืนยันว่าผู้ขนส่งได้รับของแล้ว เป็นต้น

How to ทำให้ค่าส่งสินค้าไปต่างประเทศมีราคาถู้กกถูกก!

Global business,ส่งของไปต่างประเทศแบบประหยัด

ปัจจุบันการขายของออนไลน์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะสะดวก แถมประหยัด ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน ทำให้ทุกคนสามารถเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ได้ และสามารถขายของได้ทั่วโลก เพียงแค่มีของหรือสินค้าที่น่าสนใจ อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการขายของออนไลน์ ไม่ยิ่งหย่อนกว่าตัวสินค้าคือ เรื่องการจัดส่งสินค้าโดยเฉพาะกรณีส่งของไปต่างประเทศ  หากสามารถ ส่งของไปต่างประเทศแบบประหยัด ได้ ก็ย่อมช่วยลดต้นทุนส่วนนี้ได้ มีกำไรมากขึ้น ฉะนั้น จึงขอนำเสนอเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการ ส่งของไปต่างประเทศแบบประหยัด ดังนี้

Packages are transported,ส่งของไปต่างประเทศแบบประหยัด

เทคนิคการแพคและการกระจายสินค้าให้เล็กลง

เป็นที่ทราบกันดีว่า ยิ่งสินค้านั้นมีน้ำหนักและขนาดใหญ่ อัตราค่าขนส่งก็สูงมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น หากสามารถทำให้สินค้ามีขนาดเล็กลงก็ย่อมทำให้ผู้ขาย ส่งของไปต่างประเทศแบบประหยัด มากขึ้น ดังนี้

1. กล่องสินค้า เป็นที่ทราบกันดีว่ายิ่งกล่องสินค้ามีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งมีราคาแพง ดังนั้น ควรเลือกขนาดที่พอดีกับสินค้า หากสินค้าชิ้นใดแตกหักง่าย อาจใส่เม็ดโฟมหรือพลาสติกกันกระแทก พร้อมเขียนกำกับให้ชัดเจนว่าแตกง่าย แต่พึงระลึกไว้เสมอว่า ยิ่งใส่มากยิ่งค่าใช้จ่ายมาก ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการห่อนั้น พลาสติกกันกระแทกไม่จำเป็นต้องหนามาก เว้นแต่ของแตกหักง่ายจริง ๆ จุดสำคัญคือ ไม่ควรให้มีช่องว่าง ทำให้ของในกล่องเคลื่อนไปมาได้ แค่นี้ก็ลดแรงกระแทกได้มากแล้ว

2. กระจายสินค้า หากของที่จะส่งมีจำนวนมาก สามารถแยกกันได้ โดยเฉพาะกล่องไม่เกิน 2 กิโลกรัม สามารถส่งเป็นแบบพัสดุย่อยทางอากาศได้ ซึ่งราคาค่าส่งย่อมถูกกว่าการส่งแบบชิ้นใหญ่เพียงชิ้นเดียว แต่ทั้งนี้ต้องบรรจุอยู่ในกล่องไม่เกินขนาด 30 x 45 x 20 ซม. หรือกว้างยาวสูง รวมกันไม่เกิน 90 ซม. ห้ามใช้กาวหรือเทปเด็ดขาด แต่ให้ผูกเชือกและใช้ลวดเย็บแทน มิฉะนั้นจะกลายเป็นจดหมายทางอากาศ ซึ่งเสียค่านำส่งแพงกว่ากันมาก

3. ในกรณีที่เป็นสิ่งยืดหยุ่นง่าย เช่น เสื้อผ้า กางเกง อาจเลือกส่งโดยวิธีพับใส่ถุงไปรษณีย์ แทนการแพ็คใส่กล่อง ซึ่งประหยัดค่ากล่องไปได้มาก ส่วนพวกสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือ หรือสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ สามารถบรรจุใส่ซองไปรษณีย์ปกติเพียงแต่ให้มีพลาสติกกันกระแทกก็เพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องแพ็คใส่กล่องไปรษณีย์แต่อย่างใด

Post envelope closeup,ส่งของไปต่างประเทศแบบประหยัด

การจัดการภาษีปลายทาง หรือภาษีเพื่อการนำเข้าสินค้า

นอกจากนี้ในเรื่องการส่งของ ผู้ขายควรศึกษาภาษีนำเข้าประเภทสินค้าของประเทศนั้น ๆ ด้วย เพราะสินค้าแต่ละประเภทย่อมเสียภาษีนำเข้าแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามหากเป็นการส่งของมูลค่าไม่มาก และผู้ขายระบุเป็นของขวัญ ของชำร่วย (Gift) หรือสินค้าตัวอย่าง (Sample) บนใบ CN22 (Customs Declaration) หรือ ใบ ป.62 ระบุว่าเป็น Gift หรือ Sample แล้วแต่กรณี หากสินค้าชิ้นนั้นมีมูลค่าไม่ถึงเกณฑ์ที่ประเทศนั้นกำหนดจะต้องเสีย เช่น สหรัฐอเมริกา หากสินค้านั้นไม่เกิน 800 เหรียญ (ราว 27,000 บาท) ญี่ปุ่น 10,000 เยน (ราว 3,000 บาท) ผู้รับของก็ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีสินค้าเพื่อการนำเข้าของประเทศนั้น เป็นต้น อย่างไรก็ตามในการระบุราคาสินค้า ผู้ขายควรระบุราคาให้ใกล้เคียงความเป็นจริงไม่แตกต่างจนเกินเหตุ  

จากที่กล่าวมา ปัจจุบันธุรกิจการขายสินค้าออนไลน์มีการขยายตัวมากขึ้น ผู้ซื้อและผู้ขายไม่จำเป็นต้องอยู่ในประเทศเดียวกัน อย่างไรก็ตามการขนส่งระหว่างประเทศย่อมทำให้ต้นทุนสินค้านั้นสูงขึ้น หากผู้ขายสามารถ ส่งของไปต่างประเทศแบบประหยัด ได้ ย่อมช่วยลดภาระต้นทุนในส่วนนี้ มีกำไรมากขึ้นได้ ดังนั้น การศึกษาข้อมูลการขนส่ง เช่น ประเภทที่เหมาะสมในการขนส่งสินค้านั้น ๆ ย่อมถือเป็นสิ่งสำคัญไม่ควรมองข้าม