สายช้อปต้องรู้ ภาษีแบรนด์เนมคืออะไร ใครบ้างที่ต้องจ่าย ?

ปกติแล้วเวลาไปเที่ยวต่างประเทศ เรามักจะเจอสินค้าแบรนด์เนมของแท้ราคาถูกขายเต็มไปหมด ซึ่งเหตุผลที่มีราคาถูกนั้นไม่ได้แปลว่าเป็นของเลียนแบบ แต่เป็นเพราะสินค้าเหล่านั้นยังไม่ได้ถูกคิดภาษีนำเข้า จึงทำให้มีราคาถูกกว่าสินค้าแบรนด์เนมที่ขายในประเทศนั่นเอง แน่นอนว่าสายช้อปต้องไม่พลาด ที่จะซื้อของแบรนด์เนมติดไม้ติดมือหรือหิ้วกลับมาฝากคนรู้จักอย่างแน่นอน ซึ่งในไทยมียกเว้นภาษีให้สำหรับสินค้าแบรนด์เนมที่มีจุดประสงค์ในการซื้อมาใช้ส่วนตัว แต่ถ้าซื้อมาจำนวนมากเกินไป อาจโดนปรับภาษีนำเข้า จนมีราคาแพงกว่าสินค้าแบรนด์เนมที่ซื้อในประเทศไทยได้เลยทีเดียว

ดังนั้นบทความนี้จะพามารู้จักกับภาษีแบรนด์เนม หรือที่หลายๆ คนเรียกว่าภาษีหิ้วของว่าคืออะไร สินค้าใดบ้างที่ต้องเสียภาษี มีอัตราเท่าไรบ้าง เพื่อให้สายช้อปไม่ถูกปรับภาษีนำเข้าจนต้องมาเสียใจภายหลังได้

ภาษีนำเข้าคืออะไร มีอัตราอย่างไร

ภาษีนำเข้า เป็นภาษีที่จัดเก็บโดยกรมศุลกากร โดยจะเก็บภาษีจากผู้ที่นำสินค้าเข้ามาในประเทศไทยเพื่อนำภาษีนั้นไปใช้ในการพัฒนาประเทศ และเป็นการสร้างกำแพงไม่ให้สินค้าจากต่างประเทศมาทำลายการค้าภายในประเทศได้ เพราะถ้าหากไม่มีการเก็บภาษีนำเข้า ก็จะสามารถนำสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศเข้ามาขายได้อย่างง่ายดาย ซึ่งจะส่งผลให้สินค้าลักษณะเดียวกันในประเทศขายได้ยากมากขึ้น 

องค์ประกอบของภาษีนำเข้าจะมี 2 ส่วน ได้แก่

1.ภาษีนำเข้า กรมศุลกากรมีหน้าที่จัดเก็บ โดยอัตราภาษีนำเข้าที่กรมศุลกากรกำหนดไว้จะแบ่งตามชนิดของสินค้า ดังนี้

  • คิดภาษี 30% สำหรับสินค้าประเภทเสื้อผ้า หมวก เข็มขัด รองเท้า เครื่องสำอาง น้ำหอม 
  • คิดภาษี 20% สำหรับสินค้ากระเป๋าแบรนด์เนม 
  • คิดภาษี 10% สำหรับสินค้าที่เป็น CD DVD อัลบั้มเพลง ตุ๊กตา 
  • คิดภาษี 5% สำหรับสินค้านาฬิกาข้อมือ แว่นตา แว่นกันแดด 
  • ได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับสินค้าอุปกรณ์ไอทีต่างๆ แผงวงจรไฟฟ้า โทรศัพท์ กล้อง แต่ยังต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

2.ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT 7% นอกจากจะจัดเก็บภาษีนำเข้าแล้ว กรมศุลกากรจะต้องเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อนำส่งให้กรมสรรพสามิตด้วย โดยคำนวณตามราคาสินค้าที่บวกภาษีนำเข้าแล้ว

ตัวอย่างการคำนวณภาษีนำเข้า สมมุติว่าซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมมาในราคา 40,000 บาท 

  1. คิดภาษีนำเข้ากระเป๋าแบรนด์เนม 40,000×20% = 8,000 บาท 
  2. คิดภาษีมูลค่าเพิ่ม (40,000+8,000)x7% = 3,360 บาท

รวมภาษีนำเข้าที่ต้องเสีย คือ 8,000+3,360 = 11,360 บาท

สิ่งของอะไรบ้างที่เสี่ยงโดนภาษี ? 

โดยปกติแล้วสิ่งของทั่วไป หรือของใช้ส่วนตัวที่เป็นไปตามข้อกำหนดจะไม่ถูกเก็บภาษีนำเข้าอยู่แล้ว แต่จะมีสินค้าบางอย่างที่ถูกกำหนดปริมาณการนำเข้าไว้ หรือสินค้าที่เป็นของต้องกำกัด ซึ่งต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง สินค้าเหล่านี้จำเป็นต้องเสียภาษีอย่างแน่นอน โดยสินค้าที่ต้องเสียภาษีนำเข้าและสินค้าที่เป็นของต้องกำกัด มีดังนี้

ของต้องกำกัดมีอะไรบ้าง

  • อาวุธปืน กระสุนปืน วัตถุระเบิด
  • บุหรี่ ยาสูบ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • อาหาร ยา เครื่องสำอาง และอาหารเสริม
  • พืชและส่วนต่างๆ ของพืช
  • สัตว์มีชีวิตและซากสัตว์
  • ชิ้นส่วนยานพาหนะ
  • เครื่องมือวิทยุสื่อสาร อุปกรณ์โทรคมนาคม
  • ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ พระพุทธรูป

สินค้าอะไรบ้างที่ต้องเสียภาษีนำเข้า

  • งของที่นำไปจากประเทศไทยไว้ก่อนเดินทาง จะไม่ถูกคิดมูลค่าด้วย)
  • สิ่งของที่มีลักษณะทางการค้า แม้จะมีมูลค่าต่ำกว่า 20,000 บาท
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินกว่า 1 ลิตร
  • บุหรี่เกินกว่า 200 มวน รวมไปถึงยาสูบเกินกว่า 250 กรัม

ไม่เคยรู้เรื่องนี้มาก่อน ปกติก็ซื้อแบรนด์เนมทำไมไม่ต้องจ่ายภาษี ?

หลายๆ คนมีข้อสงสัยว่าปกติก็ซื้อของแบรนด์เนมจากต่างประเทศ แต่ไม่เห็นต้องจ่ายภาษี สรุปแล้วกรมศุลกากรคิดภาษีแบรนด์เนมอย่างไรกันแน่ คำตอบคือการเรียกปรับภาษีขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ศุลกากร ซึ่งส่วนมากเจ้าหน้าที่จะยกเว้นภาษีให้กับสินค้าที่ซื้อมาเพื่อใช้การส่วนตัว โดยเจ้าหน้าที่จะพิจารณาจากลักษณะแพ็กเกจของสินค้า หากมีการแกะกล่องและนำออกมาใช้แล้ว เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะพิจารณาว่าเป็นของใช้ส่วนตัวและละเว้นการเสียภาษี แต่ในทางกลับกัน หากแพ็กเกจแบรนด์เนมที่ซื้อมายังสมบูรณ์ครบครัน ยังไม่มีการใช้งาน เจ้าหน้าที่อาจพิจารณาว่าเป็นสินค้านำเข้าในลักษณะค้าขายได้ เพราะสินค้าแบรนด์เนมที่ยังไม่แกะกล่องจะสามารถนำไปขายต่อในราคาสูงได้นั่นเอง นอกจากพิจารณาจากลักษณะแพ็กเกจแล้ว ยังพิจารณาจากจำนวนสินค้าอีกด้วย หากหิ้วของแบรนด์เนมมาจำนวนไม่มาก และไม่สำแดงพิรุธว่าจะนำไปขายต่อ เจ้าหน้าที่สามารถพิจารณาละเว้นภาษีได้

อย่างไรก็ตาม AIRPORTELs ขอแนะนำว่าหากหิ้วสินค้าแบรนด์เนมมาจำนวนมาก และไม่สามารถแกะกล่องมาใช้เองได้ครบทุกชิ้น ก็ควรไปสำแดงกับเจ้าหน้าที่เพื่อไม่ให้เสียค่าปรับแสนแพงจะดีกว่า

หากต้องชำระภาษีศุลกากรขาเข้า ต้องเตรียมตัวอย่างไร ? 

กรณีที่ไม่มีของต้องเสียภาษีนำเข้า สามารถเดินผ่านได้ที่ช่องไม่มีสิ่งของต้องสำแดง หรือ ช่องเขียว (Nothing to declare) ได้เลย แต่ถ้าหากมีของที่ต้องเสียภาษีให้เดินผ่านช่องมีสิ่งของต้องสำแดงหรือ ช่องแดง (Goods to declare) เพื่อชำระภาษีศุลกากรขาเข้า โดยสิ่งที่ต้องเตรียมคือ หนังสือเดินทาง และใบเสร็จรับเงินสินค้า 

ใบเสร็จรับเงินถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ภาษีแบรนด์เนมที่ต้องเสียนั้นคำนวณออกมาได้อย่างถูกต้องที่สุด เพราะหากไม่มีใบเสร็จรับเงิน เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะตีราคาจากเว็บไซต์หรือฐานข้อมูลที่จำหน่ายสินค้านั้นๆ ซึ่งสินค้าอาจถูกตีราคาถูกกว่า หรือแพงกว่าราคาจริงที่ซื้อมาได้ ดังนั้นใบเสร็จรับเงินจึงเป็นหลักฐานยืนยันที่ช่วยให้จ่ายภาษีแบรนด์เนมในราคาที่ถูกต้องได้ แต่ในกรณีที่เป็นสินค้าประเภทของสะสมที่ไม่มีราคาที่แน่นอน และมีราคาสูงมาก อาจขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ศุลกากรว่าต้องเสียภาษีเท่าไร แต่โดยปกติแล้วจะเสียภาษีในราคาที่ไม่สูงมาก

ทำยังไงไม่ให้โดนภาษีแบรนด์เนม

วิธีการหิ้วของแบรนด์เนมโดยไม่ให้โดนภาษีแบรนด์เนม คือ พยายามซื้อไม่ให้มีมูลค่ารวมทั้งหมดเกินเกณฑ์ราคา 20,000 บาท รวมถึงไม่ซื้อจำนวนมากเกินไป เพราะถึงแม้ว่าจะหิ้วมามูลค่ารวมไม่ถึง 20,000 บาท แต่การซื้อจำนวนมากอาจเข้าข่ายลักษณะเพื่อค้าขายและเสียภาษีได้ นอกจากนั้นควรแสดงเจตนาให้ชัดเจนว่าซื้อมาเพื่อใช้เป็นของส่วนตัว อย่างการแกะกล่องออกมาใช้เลย รวมไปถึงไม่ซื้อของแบรนด์เนมรุ่นเดิมซ้ำๆ กันหลายชิ้น ถึงแม้ว่าจะเป็นการซื้อเพื่อเป็นของฝากให้กับคนรู้จัก แต่เจตนานั้นไม่สามารถพิสูจน์ได้

คุ้มไหมที่ไม่สำแดงสินค้าเพื่อเลี่ยงภาษี

หากคิดจะไม่สำแดงสินค้าเพื่อเลี่ยงภาษีล่ะก็คงไม่ใช่ความคิดที่ดีนัก เพราะหากหลีกเลี่ยงไม่สำแดงสินค้า และเดินผ่านเข้าช่องเขียว อาจถูกสุ่มตรวจสัมภาระ เมื่อพบว่ามีของที่ต้องเสียภาษีอยู่ด้วย จะถูกปรับเงินสูงสุด 4 เท่าของราคาสินค้าที่รวมภาษี หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ อีกทั้งยังถูกยึดสินค้าที่นำเข้ามาด้วย เรียกได้ว่าทั้งเสียเงิน เสียของ เสียเวลา ไม่คุ้มอย่างมาก หากรู้ตัวว่ามีสินค้าที่ต้องเสียภาษีแบรนด์เนมก็ควรสำแดงต่อเจ้าหน้าที่และจ่ายภาษีอย่างถูกต้องจะดีกว่า

ภาษีนำเข้า ภาษีแบรนด์เนม หรือภาษีหิ้วของ คือภาษีที่กรมศุลกากรต้องจัดเก็บกับผู้ที่นำสินค้าเข้ามาในประเทศไทย โดยของที่ต้องเสียภาษีคือของใช้ส่วนตัวที่มีมูลค่าเกิน 20,000 บาท หรือสินค้าที่มีจำนวนมากที่เข้าข่ายลักษณะค้าขาย รวมไปถึงแอลกอฮอล์ บุหรี่ หรือยาสูบที่มีปริมาณหรือน้ำหนักเกินเกณฑ์ ส่วนของที่ไม่ต้องเสียภาษีคือของใช้ส่วนตัวที่มีมูลค่าไม่เกิน 20,000 บาท หรือแอลกอฮอล์ บุหรี่ ยาสูบที่ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด รวมถึงไม่ใช่ของต้องห้ามหรือของกำกัด และอุปกรณ์ไอทีต่างๆ แผงวงจรไฟฟ้า โทรศัพท์ กล้อง ที่ได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้า แต่ยังต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% อยู่ดี 

ส่วนใครที่ซื้อของแบรนด์เนมแต่ไม่อยากเสียภาษีนำเข้า ให้ซื้อของที่มูลค่าไม่มากและไม่ซื้อจำนวนมากเกินไป หรือใช้วิธีแกะกล่องแล้วใช้งานเลยเพื่อแสดงเจตนาว่าเป็นของใช้ส่วนตัว แต่ AIRPORTELs ไม่แนะนำให้หลีกเลี่ยงการสำแดงสินค้าเพื่อเลี่ยงภาษี เพราะไม่คุ้มค่า อาจเสียค่าปรับหรือถูกจำคุกได้

ภาษีนำเข้าคืออะไรแล้วทำไมต้องจ่ายด้วยเนี่ยย!

tax import

หลายคนโดยเฉพาะผู้ประกอบธุรกิจค้าขายสินค้าระหว่างประเทศ คงเคยได้ยินคำว่า ภาษีนำเข้า ภาษีส่งออก แต่ก็ไม่รู้ว่ามันคืออะไร เบื้องต้นพึงเข้าใจก่อนว่าภาษีนั้นมีหลายประเภท เช่น ภาษีบุคคลธรรมดา ภาษีนิติบุคคล ซึ่งมีฐานภาษีซึ่งคิดแตกต่างกันออกไป ภาษีนำเข้า ภาษีส่งออก ก็เช่นเดียวกัน จะมีการเสียภาษีต่อเมื่อมีการนำเข้าหรือส่งออกสินค้า คำถามต่อไปว่าทำไมต้องเสียภาษี ต้องเข้าใจว่าการที่ประเทศหนึ่งส่งออกสินค้าไปอีกประเทศหนึ่งย่อมต้องหมายถึง ประเทศนั้นได้ใช้ทรัพยากรในการผลิตสินค้านั้น แต่กลับมิได้ใช้เพราะมีการส่งออก จึงมีการเก็บภาษีส่งออกเพื่อตอบแทนรัฐนั้นบ้าง และขณะเดียวการที่ประเทศหนึ่งนำเข้าสินค้าอีกประเทศหนึ่งย่อมหมายความว่า สินค้านั้นอาจกระทบต่อการผลิตสินค้าภายในประเทศที่มีการนำเข้า จึงสมควรที่ต้องเก็บภาษีนำเข้าเช่นเดียวกันเพื่อตอบแทนรัฐนั้นบ้าง จากที่กล่าวมา ภาษีนำเข้า คือ ภาษีที่รัฐจัดเก็บเมื่อมีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ หรือที่คุ้นเคยกันดีในคำว่า กำแพงภาษี

            จากข้างต้นน่าจะพอทราบเหตุผลโดยคร่าว ๆ แล้วว่า ภาษีนำเข้า คือ อะไร คำถามต่อไปซึ่งเป็นเรื่องสำคัญว่าจำเป็นหรือไม่ ต้องเสียภาษีนำเข้าทุกครั้งเมื่อนำเข้าสินค้า คำตอบคือ ไม่จำเป็น เพราะอาจมีการยกเว้นภาษี เนื่องจากเป็นการนำเข้ามาเพื่อเป็นตัวอย่างสินค้า รวมถึงอาจไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี De minimis กล่าวคือ สินค้านั้นมีราคาต่ำกว่าที่ประเทศที่นำเข้านั้นกำหนดที่ต้องเสียภาษี เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกากำหนดค่า De minimis ไว้ที่ 800 ดอลลาร์ หมายความว่า หากนำเข้าสินเข้าจากประเทศอื่น ราคาต่ำกว่า 800 ดอลลาร์ ผู้นำเข้าในประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ต้องเสียภาษี หรือในส่วนของประเทศไทยกำหนดค่า De minimis ไว้ที่ 1500 บาท หากนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศราคาต่ำกว่า 1500 บาท ผู้นำเข้าก็ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า เป็นต้น

            อย่างไรก็ตามกำแพงภาษียังถือเป็นสิ่งจำเป็นอยู่ โดยเฉพาะในสินค้าบางประเภทจำพวกสินค้าฟุ่มเฟือย บางประเทศจึงยังเก็บภาษีนำเข้าที่สูง หากจัดลำดับทุกประเทศในโลกแล้ว 10 ประเทศที่เก็บภาษีสูงสุดในโลกได้แก่ประเทศดังต่อไปนี้

Capital Building at Ngerulmud,ภาษีนำเข้า

1. ปาเลา (Palau)

สาธารณรัฐปาเลาตั้งอยู่บริเวณหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจากประเทศฟิลิปปินส์ ประมาณ 500 กิโลเมตร อัตราภาษีนำเข้าโดยเฉลี่ย 29.9 %

Basseterre,ภาษีนำเข้า

2. เซนต์คิตส์และเนวิส (St.Kitts and Nevis)

สหพันธรัฐ เซนต์คิตส์และเนวิส ตั้งอยู่บริเวณหมู่เกาะลีเวิร์ด แถบทะเลแคริบเบียน อัตราภาษีนำเข้าโดยเฉลี่ย 21.1 %

flags of Bermuda

3. เบอร์มิวดา (Bermuda)

ดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ห่างจากสหรัฐอเมริกาประมาณ 580 ไมล์ อัตราภาษีนำเข้าโดยเฉลี่ย 20.9 %

Bahamas sign

4. บาฮามาส (Bahamas)

เครือรัฐบาฮามาส ตั้งอยู่บริเวณมหาสมุทรแอตแลนติก เหนือประเทศคิวบา อัตราภาษีนำเข้าโดยเฉลี่ย 18.6 %

Solomon Islands

5. หมู่เกาะโซโลมอน (Solomon Islands)

ตั้งอยู่บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ใกล้ประเทศปาปัวนิวกินี และเป็นส่วนหนึ่งของเครือจักรภพ อัตราภาษีนำเข้าโดยเฉลี่ย 18.5 %

Flag of benin,ภาษีนำเข้า

6. สาธารณรัฐเบนิน (Benin)

ตั้งอยู่บริเวณแอฟริกาตะวันตก ชื่อเดิมโฮมีย์ อยู่ติดกับประเทศไนจีเรียทางตะวันออก อัตราภาษีนำเข้าโดยเฉลี่ย 17.8 %

Flag of djibouti,ภาษีนำเข้า

7. สาธารณรัฐจิบูติ (Djibouti)

ตั้งอยู่ในบริเวณแอฟริกาตะวันออก พรมแดนตะวันออกเฉียงใต้ติดกับประเทศโซมาเลีย  อัตราภาษีนำเข้าโดยเฉลี่ย 17.6 %

Gabon oil industry,ภาษีนำเข้า คือ

8. สาธารณรัฐกาบอง (Gabon)

ตั้งอยู่บริเวณของทวีปแอฟริกา มีพรมแดนติดกับประเทศแคเมอรูน คองโก อัตราภาษีนำเข้าโดยเฉลี่ย 16.9 %

Cayman Islands.,ภาษีนำเข้า คือ

9. หมู่เกาะเคย์แมน (Cayman Islands)

อาณาโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ตั้งอยู่บริเวณทะเลแคริบเบียนฝั่งตะวันตก บริเวณใต้ประเทศคิวบา อัตราภาษีนำเข้าโดยเฉลี่ย 16.7 %

10000 central african CFA,ภาษีนำเข้า คือ

10. สาธารณรัฐแอฟริกากลาง (Central Africa Republic)

ตั้งอยู่บริเวณกลางทวีปแอฟริกา เป็นประเทศไม่มีอาณาเขตติดทะเล ประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ แคเมอรูน คองโก ยูกันดา ชาด อัตราภาษีนำเข้าโดยเฉลี่ย 16.4 %

จากที่กล่าวมาน่าจะพอเข้าใจได้บ้างว่า ภาษีนำเข้า คือ อะไร มีความจำเป็นอย่างไรในการต้องเก็บ และเกี่ยวข้องกับเรื่อง De minimis อย่างไร รวมถึงอันดับประเทศที่เก็บภาษีนำเข้าสูงสุดในโลก อย่างไรก็ตามในความจริงแล้วภาษีนำเข้า ถือเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการจัดการเศรษฐกิจของประเทศ และโดยที่รัฐแต่ละรัฐมีสภาพแตกต่างกัน ดังนั้น ความจำเป็นในการเก็บภาษี และใช้มาตรการทางภาษีนำเข้าจึงแตกต่างกัน กล่าวคือ หากรัฐใดมีสภาพคล่องการส่งออกมาก ก็ไม่มีความจำเป็นต้องเก็บภาษีนำเข้ามาก ในทางตรงข้ามหากรัฐใดมีมูลค่าส่งออกสินค้าได้น้อย การเก็บภาษีนำเข้าย่อมมีความจำเป็น ที่จะเก็บราคาสูงเพื่อป้องกันการขาดดุลการค้า เป็นต้น

De minimiss คาถาไล่ภาษี – คืออะไร

De minimis

หากพูดถึง De minimis เชื่อว่าหลายคนคงเกิดคำถามแรกว่ามันคืออะไร อันที่จริงแล้ว De minimis เกี่ยวข้องอย่างมากกับผู้ประกอบธุรกิจการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะหากเป็นผู้ขายที่ส่งสินค้าไปต่างประเทศด้วยแล้ว หากไม่ทราบเรื่องนี้ย่อมเสียผลประโยชน์อย่างมาก ต่อคำถามว่า De minimis คือ อะไร สรุปสั้น ๆ ก็คือ การยกเว้นภาษีนำเข้าประเทศนั้น ๆ เมื่อราคาสินค้าไม่ถึงเกณฑ์กำหนดต้องเสีย

ถึงตรงนี้อาจสงสัยอีกว่าภาษีนำเข้าคืออะไร คงต้องกล่าวว่า ในการที่ประเทศหนึ่ง ส่งสินค้าไปอีกประเทศหนึ่ง พึงเข้าใจก่อนว่าการเสียภาษีจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง 1. ภาษีส่งออก เสียให้กับประเทศต้นทางผู้ผลิต และ 2. ภาษีนำเข้า เสียให้กับประเทศปลายทางผู้นำเข้าสินค้านั้น หากถามต่อไปอีกว่าทำไมต้องเสียภาษี 2 ครั้ง ทั้งนำเข้าและส่งออก ก็เพราะสินค้าบางอย่างเป็นสินค้าที่ผลิตได้ยากมีจำกัด การเสียภาษีส่งออกย่อมเสมือนเสียค่าธรรมเนียมให้รัฐต้นทางประเทศผู้ผลิตได้รับผลประโยชน์บ้าง

tax exempt

ส่วนภาษีนำเข้าเพื่อปกป้องภาคธุรกิจของประเทศนั้นจากสินค้าประเทศอื่นที่อาจผลิตได้ถูกกว่า ซึ่งหากนำเข้าโดยไม่ควบคุมย่อมกระทบภาคธุรกิจในประเทศตนอย่างแน่นอน จึงต้องมีการเก็บภาษี หรือที่มักได้ยินเสมอว่า กำแพงภาษี

เมื่อกล่าวถึงกำแพงภาษี สิ่งที่ตรงข้ามก็คือ De minimis นั่นเอง ถึงตรงนี้น่าจะพอเห็นภาพได้บ้างแล้วว่า De minimis คือ อะไร ประเด็นต่อไป ทำไมต้อง De minimis และ De minimis มีประโยชน์อย่างไร ตามที่กล่าวข้างต้น ปกติแล้วในการส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ นอกจากต้องเสียภาษีเพื่อการส่งออกประเทศต้นทางแล้ว ยังต้องเสียภาษีเพื่อการนำเข้าในประเทศนั้น ๆ ด้วย แต่ด้วย De minimis เราสามารถขอยกเว้นภาษีเพื่อการนำเข้าประเทศนั้น ๆ ได้ หากมูลค่าสินค้าของเราที่ส่งไปนั้นไม่ถึงเกณฑ์กำหนดที่ต้องเสีย

money American dollars,De minimis คือ

ตัวอย่าง นาย A ผู้ขายในประเทศไทยส่งสินค้ามูลค่า 20,000 บาท หรือประมาณ 606 ดอลลาร์ ไปยังนาย B ผู้ซื้อในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ De minimis ประเทศสหรัฐอเมริกา กำหนดไว้ที่ 800 ดอลลาร์ หรือประมาณ 27,000 บาท การส่งสินค้าครั้งนี้จึงไม่เกินกำหนด และไม่ต้องเสียภาษีเพื่อการนำเข้าในประเทศสหรัฐอเมริกา

จากที่กล่าวมา เห็นได้ว่าย่อมเป็นผลดีทั้งต่อทางเราในฐานะคนขายสินค้า และผู้รับปลายทางในฐานะคนซื้อสินค้า โดยเป็นการลดต้นทุน ทำให้สินค้านั้นมีราคาถูกลง จูงใจให้ผู้บริโภคในประเทศนั้น ๆ สั่งซื้อสินค้าจากเราในฐานะผู้ขายมากขึ้น เพราะหากประเทศปลายทางนั้นมีการเก็บภาษีเพื่อการนำเข้า ต่อให้สินค้าเราราคาถูกกว่าท้องตลาด แต่เมื่อรวมภาษีแล้วอาจแพงกว่า คงไม่มีลูกค้ารายใดสั่งซื้อสินค้าของเราอย่างแน่นอน

Big flag background,De minimis คือ

อย่างไรก็ตามในเรื่องการ De minimis แต่ละประเทศกำหนดอัตราไม่เท่ากัน ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของผู้ขายสินค้านั้นด้วย ที่ต้องศึกษารายละเอียดให้ดี โดยขอยกตัวอย่างประเทศสำคัญดังนี้

สหรัฐอเมริกา 800 ดอลลาร์ หรือประมาณ 27,000 บาท

สหราชอาณาจักร 150 ยูโร หรือประมาณ 7,500 บาท

ญี่ปุ่น 10,000 เยน หรือประมาณ 3,000 บาท

เกาหลีใต้ 150 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 5,000 บาท (ประมาณ 195,000 วอน)

จีน 50 หยวน หรือประมาณ 300 บาท

มาเลเซีย 500 ริงกิต หรือประมาณ 4,000 บาท

สิงคโปร์ 400 ดอลลาร์สิงคโปร์ หรือประมาณ 9,700 บาท

จากที่กล่าวมาน่าจะพอทราบแล้วว่า De minimis คือ อะไร อย่างไรก็ตาม ด้วยแต่ละประเทศกำหนดราคา De minimis แตกต่างกัน ดังนั้น ในการส่งสินค้าไปยังประเทศใด ผู้ขายจึงควรต้องหาข้อมูลก่อนว่า ประเทศนั้น ๆ กำหนด De minimis ยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้านั้นมีมูลค่าเท่าใด

จะเกิดอะไรขึ้นกับพัสดุที่ถูกจับได้ว่าเลี่ยงภาษี!?

airport customs declare sign,พัสดุที่เลี่ยงภาษี

เป็นที่ทราบกันดีว่า ในการส่งพัสดุหรือรับพัสดุจากต่างประเทศนั้น หากมิได้เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมายใด ๆ แล้ว ผู้ส่งหรือผู้รับนั้นจะต้องเป็นผู้เสียภาษีอากรเพื่อการส่งออกหรือเพื่อการนำเข้าแล้วแต่กรณี อย่างไรก็ตาม หากปรากฏว่ามีการจงใจส่งของหรือ พัสดุที่เลี่ยงภาษี หรือหนีภาษีนั้น ย่อมถือเป็นความผิดตามกฎหมายศุลกากร โดยเบื้องต้นหากเป็นการตรวจพบก่อนส่งพัสดุกล่าวคือ กรอกใบ CN22 ผิดจากความเป็นจริง หากยังอยู่ในอำนาจแก้ไขได้ เช่น ยังอยู่ที่ทำการไปรษณีย์หรือผู้รับขนส่งอื่น ก็คงไม่เป็นอะไร แต่หากของหรือพัสดุนั้นส่งออกไปแล้วถูกตรวจพบโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร ซึ่งปกติมักทำการตรวจโดยการสุ่ม หรือตรวจเฉพาะของหรือพัสดุที่ต้องสงสัยจริง ๆ หากพบว่ามีลักษณะจงใจหลบหนีหรือหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรย่อมอาจต้องถูกดำเนินคดีได้ โดยความผิดตามกฎหมายศุลกากรนี้ สามารถแยกออกได้เป็น 5 ฐานความผิดสำคัญดังนี้

Security agent,พัสดุที่เลี่ยงภาษี

1. ความผิดฐานลักลอบหนีภาษี

ลักษณะความผิดคือ การนำของซึ่งยังมิได้เสียภาษีอากรโดยถูกต้องหรือมิได้ผ่านพิธีการศุลกากรโดยถูกต้อง นำเข้าหรือส่งออกไปราชอาณาจักร กล่าวคือ หากของนั้นต้องเสียภาษีแต่มิได้เสียภาษี หรือของนั้นไม่จำต้องเสียภาษี แต่ก็มิได้กระทำให้ถูกกระบวนการพิธีการศุลกากรตามกฎหมาย เหล่านี้ถือเป็นความผิดฐานลักลอบหนีภาษีทั้งสิ้น ระวางโทษคือ ปรับ 4 เท่าของราคาภาษีนั้น หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ พร้อมริบของนั้น

2. ความผิดฐานหลีกเลี่ยงค่าภาษี

ลักษณะความผิดคือ การส่งของหรือพัสดุโดยผ่านพิธีการศุลกากรโดยถูกต้อง แต่กระทำการใด ๆ เพื่อให้ชำระค่าภาษีน้อยลง เช่น สำแดงปริมาณน้ำหนักน้อยกว่าความเป็นจริง หรือที่เรียกว่า การสำแดงเท็จ ทั้งนี้การส่งของหรือ พัสดุที่เลี่ยงภาษี นี้ กำหนดความผิดไว้ทำนองเดียวกับการหนีภาษีคือ ระวางโทษ ปรับ 4 เท่าของราคาภาษีนั้น หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ พร้อมริบของนั้น แต่ในกรณีเป็นการหลีกเลี่ยงโดยการซุกซ่อนกับสิ่งอื่นที่ต้องเสียภาษี นอกจากปรับ 4 เท่าตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว ให้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 1 เท่าด้วย หรือประมาณอีก 10 %

3. ความผิดฐานสำแดงเท็จ

ลักษณะความผิดคือ การนำเข้าหรือส่งออกไม่ตรงกับเอกสารหลักฐานที่แสดง ซึ่งมีหลายกรณี เช่น ปลอมหรือใช้เอกสารปลอม หรือแจ้งเท็จแก่เจ้าหน้าที่ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน

4. ความผิดฐานนำของต้องกำกัดหรือของต้องห้ามเข้ามาหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร

ของต้องกำกัด คือ ของต้องจำกัดการนำเข้าหรือส่งออกนั่นเอง กล่าวคือ เป็นของที่สามารถนำเข้าหรือส่งออกได้ แต่ต้องมีการขออนุญาตก่อน เช่น การนำเข้าสารเคมีอันตรายเข้ามาภายในประเทศ ต้องขออนุญาตหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น กระทรวงอุตสาหกรรมก่อนเสมอ ส่วนของต้องห้ามคือ สิ่งผิดกฎหมายที่ไม่อาจนำเข้าหรือส่งออกราชอาณาจักรเพื่อการค้าได้เด็ดขาด เช่น ยาเสพติด

5. ความผิดฐานฝ่าฝืนพิธีศุลกากร

ลักษณะความผิดคือ การมิได้ปฏิบัติตามพิธีการศุลกากรให้ถูกต้องตามกฎหมายศุลกากร หรือกฎหมายอื่น เช่น มิได้ยื่นคำขอตามแบบพิธีในการขนสินค้าขาเข้า ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกิน 1,000 บาท เป็นต้น

Export cleared approval stamp,พัสดุที่เลี่ยงภาษี

จากที่กล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า หากเราส่งของหรือ พัสดุที่เลี่ยงภาษี หรือหนีภาษี โทษทางกฎหมายศุลกากรนั้นค่อนข้างมีบทลงโทษรุนแรง โดยมีทั้งโทษปรับ และโทษจำคุก โดยหากถูกเจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจพบเมื่อกระทำผิดแล้ว ก็ยากที่จะแก้ตัวให้พ้นผิด ต้องถูกส่งดำเนินคดี ส่งฟ้องต่อศาลต่อไป โดยแม้หากผู้กระทำผิด ยินดีจ่ายค่าปรับสูงสุด อธิบดีศุลกากรอาจใช้ดุลพินิจสั่งไม่ฟ้องก็ได้ แต่กระนั้นก็มิได้ลบล้างความผิดแต่อย่างใด ดังนั้น ก่อนที่จะส่งหรือนำเข้าของ หรือพัสดุต่าง ๆ ควรตรวจสอบราคาสิ่งของและเงื่อนไขการส่งให้ชัดเจน

ถ้าต้องส่งสินค้าตัวอย่างกลับประเทศ…แต่ไม่อยากเสียภาษีนำเข้า?

rubber stamp,ไม่อยากเสียภาษีนำเข้า

เมื่อกล่าวถึงเรื่องภาษี เชื่อว่าหลายคนโดยเฉพาะผู้ประกอบธุรกิจค้าขาย ถือเป็นเรื่องหนึ่งที่อาจสร้างความปวดหัวไม่มากก็น้อย ส่วนหนึ่งอาจเพราะความยุ่งยากในระบบกฎหมายภาษี ด้วยเพราะภาษีนั้นมีหลายประเภท เช่น ภาษีบุคคลธรรมดา ภาษีนิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ยิ่งโดยเฉพาะผู้ประกอบธุรกิจส่งออกนำเข้าสินค้า ก็จะมีภาษีนำเข้า ภาษีส่งออก ภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า มีภาษีหลายอย่างมากที่เกี่ยวข้องในชีวิตของเรา ยิ่งมีธุรกิจมาก ยิ่งมีโอกาสเสียภาษีมากเท่านั้น สำหรับในวงการกฎหมายกล่าวว่า สิ่งที่ไม่อาจหลีกหนีในชีวิตมี 2 อย่างคือ ความตายและภาษี ซึ่งก็เป็นเรื่องจริง เพราะไม่ว่าอย่างไรแล้วชีวิตเราทุกคนจะต้องเสียภาษีอย่างน้อยในหนึ่งอย่างตามที่กล่าวข้างต้น เช่น เมื่อไปซื้อสินค้า สิ่งที่อยู่ในมูลค่าสินค้าทุกชิ้นคือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (vat) เป็นต้น

อย่างไรก็ตามมิใช่ว่าเราจำเป็นจะต้องเสียภาษีครบทุกประเภทโดยไม่มีข้อยกเว้นแต่อย่างใด อาจกล่าวได้ว่าในกฎทุกกฎย่อมมีข้อยกเว้นเสมอ ภาษีก็เช่นเดียวกัน มิใช่ว่าเมื่อมีรายได้เกิดขึ้นจำเป็นต้องเสียภาษีเสมอไป หากมีการวางแผนภาษีที่ดีย่อมช่วยลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้อย่างมาก ซึ่งเรื่องนี้ในทางวิชาการภาษีถือเป็นการกระทำถูกกฎหมาย เพราะไม่ใช่การหลบเลี่ยงหรือหนีภาษี กรณีเหล่านี้ถือเป็นความผิด เมื่อถูกจับได้ย่อมมีโทษทั้งจำคุกและปรับ ดังนั้น คำถามที่ว่าหาก ไม่อยากเสียภาษีนำเข้า สามารถทำได้หรือไม่ คำตอบคือ ทำได้

Taxes Money Financial,ไม่อยากเสียภาษีนำเข้า

ตามที่กล่าวไว้แล้วเราสามารถวางแผนภาษีได้โดยไม่ผิดกฎมาย หากเรา ไม่อยากเสียภาษีนำเข้า ควรวางแผนภาษีให้เข้าเงื่อนไขตามกฎหมายกำหนด ซึ่งมีหลายอย่างดังนี้

            1. หากเป็นของที่ส่งออกไปและส่งกลับเข้ามาภายในระยะเวลา 1 ปี โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณะอย่างใด โดยในขณะส่งออกมีการทำใบรับสุทธิสำหรับนำกลับเข้ามา (ระยะเวลาข้างต้นอาจขยายได้ตามที่อธิบดีศุลกากรกำหนด)

            2. เป็นของที่เคยนำเข้ามา และส่งออกกลับไปเพื่อซ่อมแซม โดยกลับเข้ามาภายในระยะเวลา 1 ปี โดยในขณะส่งออกมีการทำใบรับสุทธิสำหรับนำกลับเข้ามา (ระยะเวลาข้างต้นอาจขยายได้ตามที่อธิบดีศุลกากรกำหนด)

            3. ของที่นำติดตัวเข้ามาหรือนำเข้ามาและส่งออกกลับไปไม่เกิน 6 เดือนนับแต่วันเข้ามา ทั้งนี้ต้องเป็นสิ่งที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย เช่น ของเพื่อใช้การแสดงละคร อาวุธปืน เครื่องกระสุน ตัวอย่างสินค้า เป็นต้น

            4. รางวัล เหรียญตรา ที่ต่างประเทศมอบให้แก่บุคคลที่อยู่ในราชอาณาจักร เมื่อนำเข้ามาย่อมได้รับการยกเว้น ทั้งนี้ตามความเหมาะสม

            5. ของส่วนตัวที่นำติดตัวเข้ามาตามสมควรและพอแก่วิชาชีพ เช่น สุรา 1 ลิตร บุหรี่ 200 มวน

            6. ของตกแต่งบ้านเรือนที่ติดตัวนำเข้ามา ในกรณีย้ายภูมิลำเนากลับ

            7. ตัวอย่างสินค้าที่ใช้เพียงแค่เป็นตัวอย่างเท่านั้นไม่มีราคาซื้อขายได้

            8. ยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในราชการ

saving money concept,ไม่อยากเสียภาษีนำเข้า

จากที่กล่าวมานี้เป็นเพียงตัวอย่างว่า หากผู้ประกอบการ ไม่อยากเสียภาษีนำเข้า การวางแผนภาษีเพื่อยกเว้นภาษีต่าง ๆ ย่อมช่วยลดค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นได้อย่างมาก ดังนั้น เมื่อผู้ประกอบการนำเข้าสินค้าควรพิจารณาข้อยกเว้นต่าง ๆ เช่น ตามตัวอย่างที่กล่าวมาในขั้นต้นว่า พอเข้าช่องทางหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อความน่าเชื่อถือ ควรระบุให้ชัดเจนตั้งแต่ต้นทางประเทศผู้ส่งออก เช่น นำสินค้าเพื่อเข้ามาเป็นตัวอย่าง ควรให้ประเทศผู้ส่งออกต้นทางระบุให้ชัดเจน เพื่อความสะดวกในการทำเรื่องขอยกเว้นภาษีนำเข้าต่อไป