6 ขนส่ง ผู้ให้บริการขนส่งพัสดุยอดนิยมในประเทศไทย

ทุกวันนี้ธุรกิจบริการขนส่งพัสดุขยายตัวรวดเร็วเพื่อรองรับกระแส E-Commerce และไลฟ์สไตล์การซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคยุคนี้ช่วยอำนวยความสะดวกให้ทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ

บริการขนส่งและฝากกระเป๋า

การเลือกผู้ให้บริการขนส่งรายต่าง ๆ ควรพิจารณาบริการที่มีคุณภาพ รวดเร็ว ถูกต้องและราคาที่คุ้มค่า วันนี้มาเปรียบเทียบการให้บริการของ 6 ขนส่ง ผู้ให้บริการขนส่งพัสดุยอดนิยมในประเทศไทย ได้แก่ MAKESEND Express , Kerry express , Flash Express , DHL , ไปรษณีย์ไทย (EMS) และ Ninja Van โดยรวบรวมข้อมูลมาวัดกันว่าบริการขนส่งของแต่ละรายมีข้อแตกต่างอย่างไร และผู้ให้บริการรายใดเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคุณ

MAKESEND Express

MAKESEND Express

เป็นผู้ให้บริการขนส่งพัสดุเร่งด่วนที่ได้รับความนิยมที่สุดและมาแรงที่สุดในขณะนี้ โดยมีจุดเด่นด้านการจัดส่งรวดเร็วที่สุด ทีมบริการขนส่งของ Makesend เข้ารับของถึงหน้าร้านลูกค้าในตอนเช้าและกระจายสินค้าและพัสดุส่งถึงหน้าบ้านผู้รับภายในเขตกรุงเทพฯ ในวันเดียวกัน (Bangkok Half Day) รับส่งเอกสารและพัสดุ

บริการของ MAKESEND Express

  • บริการส่งพัสดุภายในวัน
  • ให้บริการส่งพัสดุถึงหน้า
  • บริการเข้ารับสินค้าฟรีถึงหน้าบ้าน
  • บริการส่ง เบเกอรี่ , เค้ก , ผลไม้ และอาหารสด
  • มีบริการเก็บเงินปลายทาง
  • รับประกันสินค้าหากเกิดความเสียหาย และหากส่งเกินเวลาการันตี

Kerry Express

บริการส่งของด่วน เคอรี่ เอ็กซ์เพรส เปิดบริการครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2549 ถือเป็นคู่แข่งสำคัญของไปรษณีย์ไทย
ปัจจุบันเป็นธุรกิจบริการส่งของที่มีเครือข่ายสำนักงานกว่า 15,000 แห่งครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ รวมถึงบริการผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้แก่ ร้านสาขา , จุดให้บริการบนสถานีรถไฟฟ้า BTS ตลอดจนบริการผ่านตู้ล็อคเกอร์ตามอาคารสำนักงานและคอนโดมิเนียม

บริการของ Kerry Express

  • Kerry Friends
  • เคอรี่ เอ็กซ์เพรส วอลเล็ท
  • อีซี่ชิบ
  • บริการเก็บเงินปลายทาง (COD)
  • บริการคำนวณค่าจัดส่งพัสดุ ประเมินราคาค่าส่งสินค้าได้เลย คลิก
  • เคอรี่ ดรอปออฟ
  • บริการรับพัสดุด้วยตัวเอง (SCL)
  • เอ็กซ์ตร้าแคร์
  • ส่งพัสดุด่วนก่อนเที่ยง
  • เรียกรถเข้ารับพัสดุ
  • บริการเคลมสินค้าเมื่อเกิดความเสียหาย

Flash Express

“ยูนิคอร์นตัวแรกของประเทศไทย” บริการขนส่งสัญชาติไทยที่ให้บริการอย่างครบวงจร โดดเด่นในเรื่องของการปรับตัวไวและเข้าใจปัญหาของคนส่งของเป็นอย่างดี ตั้งแต่การเริ่มให้บริการเข้ารับพัสดุถึงหน้าบ้าน ทำให้ผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องออกจากบ้านเพื่อไปส่งของอีกต่อไป และยังมองหาความร่วมมือใหม่ ๆ เพื่อขยายพื้นที่อำนวยความสะดวกให้ลูกค้าส่งสินค้าได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

บริการของ Flash Express

  • B2B
  • B2C
  • C2C
  • บริการขนส่งสำเร็จภายในวันถัดไป
  • บริการจัดส่งพัสดุ ในวันหยุดสุดสัปดาห์
  • WMS
  • On-Time Delivery

DHL Express

บริษัทขนส่งที่ครอบคลุมทั้งในประเทศและต่างประเทศ อดีตคนอาจจะคุ้นชินว่าเป็นขนส่งที่ต้องส่งพัสดุไปยังพื้นที่ต่างประเทศเท่านั้น ปัจจุบัน DHL ให้บริการจัดส่งครอบคลุมทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยใช้ชื่อว่า DHL eCommerce ถือว่าเป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ได้รับการยอมรับในหลาย ๆ ประเทศ

บริการของ DHL

  • DHL EXPRESS WORLDWIDE
  • DHL EXPRESS 9.00
  • DHL EXPRESS 10.30
  • DHL EXPRESS 12.00

ไปรษณีย์ไทย

ไปรษณีย์ไทย ขนส่งที่คนไทยคงคุ้นเคยกันอยู่แล้วเพราะเปิดมาแล้วกว่า 140 ปี ให้บริการทั่วทุกพื้นที่ในประเทศไทยเลยก็ว่าได้ ซึ่งมีจุดเด่น คือ บุรุษไปรษณีย์ที่มีความคุ้นชินกับพื้นที่ ทำให้มีความแม่นยำในการจัดส่งพัสดุ ปัจจุบันไปรษณีย์ไทยมีการปรับกลยุทธ์และปรับตัวต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ยกตัวอย่างเช่น เปิดบริการเข้ารับหน้าบ้าน, สร้างใบปะหน้าผ่านไลน์ เป็นต้น

บริการของไปรษณีย์ไทย

  • ส่งธรรมดา
  • ส่งมีหลักฐาน
  • ส่งด่วนพิเศษ
  • ส่งของใหญ่
  • ส่งแผ่นพับใบปลิว
  • Prompt Post
  • บริการครบวงจร
  • บริการขนส่งควบคุมอุณหภูมิ

Ninja Van

บริษัทขนส่งเอกชนอีกรายหนึ่งที่ในช่วงปี 2565 ที่ผ่านมายังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาแพลตฟอร์มปรับกลยุทธ์อยู่เสมอ โดยนินจาแวนได้มีการรุกตลาดผ่านการเลือกคุณ “วู้ดดี้ วุฒิธร มิลินทจินดา” มาเป็นพรีเซ็นเตอร์เพื่อทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักเพิ่มมากยิ่งขึ้นและยังสร้างความเชื่อมั่นในการเลือกใช้บริการขนส่งอย่าง Ninja Van มากขึ้นอีกด้วย

บริการของ Ninja Van

  • Ninja Point บริการจุดรับ-ส่งพัสดุ
  • Ninja Pro เพื่อนักขายมืออาชีพ
  • International Delivery ส่งพัสดุไปต่างประเทศ
  • Return Parcel ส่งพัสดุคืน
  • บริการส่งพัสดุ เก็บเงินปลายทาง
  • Program & Promotion
  • Cash – on Pick-up ส่งก่อนชำระเงินทีหลัง

ที่มาข้อมูล

อ่านเพิ่มเติม

10 รายการ สิ่งของต้องห้ามในการส่งพัสดุ ไปต่างประเทศ

10 Banned list package

ต้องยอมรับว่าเป็นโชคดีของคนยุคนี้ที่ไม่ว่าจะทำอะไรก็รวดเร็วทันใจไปเสียหมดไม่เว้นแม้แต่เรื่องการส่งไปรษณีย์ โดยเฉพาะการส่งพัสดุไปยังต่างประเทศที่แต่ก่อนกว่าคนที่อยู่ปลายทางจะได้รับพัสดุต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์จนคนส่งลืมไปแล้วว่าส่งพัสดุไปให้ แต่ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการปรับปรุงบริการให้ทันสมัยจึงทำให้ระยะเวลาขนส่งสั้นลงมาก เพียงไม่กี่วันพัสดุก็ถึงมือผู้รับที่อยู่ต่างประเทศอย่างปลอดภัย แต่ถึงอย่างนั้นก็ใช่ว่าจะส่งได้ทุกอย่าง เพราะมีสิ่งของบางประเภทที่ห้ามส่งไปยังต่างประเทศ ดังนั้นเราจึงมี 10 รายการ สิ่งของต้องห้ามในการส่งพัสดุ ไปต่างประเทศมาฝากซึ่งจะมีประเภทไหนบ้างนั้น มีข้อมูลน่าสนใจดังนี้

บริการขนส่งและฝากกระเป๋า

1. ธนบัตรหรือตราสารหนี้

Thai baht various,สิ่งของต้องห้ามในการส่งพัสดุ

ซึ่งคนไม่น้อยที่เข้าใจว่าสามารถนำเงินใส่ซองใส่กล่องส่งข้ามประเทศทางไปไปรษณีย์ได้ แต่ตามกฎหมายไม่สามารถส่งได้ อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการสูญหายอีกด้วย ขอแนะนำว่าให้โอนผ่านธนาคารจะปลอดภัยกว่า

2. สัตว์

เนื่องจากปัจจุบันมีกฎหมายคุ้มครองสัตว์ ทำให้การส่งสิ่งมีชีวิตทางไปรษณีย์ไม่ว่าจะในประเทศหรือต่างประเทศถือว่าเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย เพราะอาจทำให้สัตว์ขาดอากาศหายใจและเสียชีวิตได้

2.1สามารถส่งสัตว์เลี้ยงข้ามประเทศได้ทางใดบ้าง?

แบบคาร์โก้ ครบวงจร  (ในกรณีที่เจ้าของไม่ได้เดินทางด้วย หรือต้องการส่งสัตว์เลี้ยงไปก่อน)

  • อย่างแรกเลยต้องพาสัตว์เลี้ยงของคุณไปตรวจสุขภาพ และฉีดวัคซีนให้เรียบร้อย  (ฝัง Microchip, วัคซีน, Rabies Titer Test ในกรณีที่เดินทางไปประเทศที่ปลอดพิษสุนัขบ้า)
  • บริการเตรียมเอกสารที่ต้องใช้ในการเดินทาง ไม่ว่าจะเป็นใบรับรองสุขภาพสัตว์ ใบอนุญาตนำออก ฟอร์มต่างๆที่แต่ละประเทศต้องการ   หรือใบอนุญาตนำเข้าจากประเทศปลายทาง 
  • จองเที่ยวบินสำหรับสัตว์เลี้ยง
  • เดินพิธีการทางศุลกากร เมื่อสัตว์เลี้ยงไปถึงประเทศปลายทาง 
  • รับและส่งสัตว์เลี้ยงไปยังที่พักอาศัยที่ประเทศปลายทาง  

3. สิ่งเสพติด

drug

แน่นอนว่าเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ถ้ามีการตรวจพบ ผู้ส่งต้องได้รับโทษตามกฎหมาย และหากพิสูจน์ได้ว่าเป็นการส่งเพื่อจำหน่าย อาจได้รับโทษสูงสุดถึงขั้นประหารชีวิต

4. สื่อลามกอนาจาร

DVD with porn movies,สิ่งของต้องห้ามในการส่งพัสดุ

สื่อลามกอนาจาร หรือสิ่งของที่มีถ้อยคำ เครื่องหมาย ลวดลายสื่อไปทางลามกอนาจาร เนื่องจากประเทศไทยยังไม่ได้ให้การยอมรับและมีกฎหมายรองรับ จึงถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ. เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยทางวัฒนธรรม

5. วัสดุระเบิดและวัตถุไวไฟทุกชนิด

Red Firecrackers

ทั้งนี้รวมถึงสิ่งที่ติดไฟง่าย อย่างดอกไม้ไฟ ประทัด แอลกอฮอล์ น้ำมันก๊าด สารออกซิไดส์และออร์แกนิกส์เปอร์ออกไซด์ ของแข็งไวไฟ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการระเบิดได้ หากตรวจพบจะถือว่ามีความผิดตามกฎหมายทันที ยิ่งไปกว่านั้น อาจทำให้กลายเป็นเรื่องใหญ่ระหว่างประเทศอีกด้วย

บริการขนส่งและฝากกระเป๋า

6. อาวุธปืน

Guns and ammunition,สิ่งของต้องห้ามในการส่งพัสดุ

อาวุธปืนที่ประกอบเป็นอาวุธโดยสมบูรณ์ กระสุนปืน และสิ่งเทียบเคียงอาวุธหรือมีลักษณะเหมือนอาวุธ

7. สารเคมี

chemical bottle,สิ่งของต้องห้ามในการส่งพัสดุ

เนื่องจากจะก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อเจ้าหน้าที่ในระหว่างขนส่ง ซึ่งหากเป็นสารเคมีอันตรายมาก ขอแนะนำว่าต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการจัดส่งแทน ทั้งนี้ยังรวมไปถึงสารกัดกร่อน เช่น กรดเกลือ น้ำกรด อีกด้วย

8. สิ่งที่เป็นอันตรายทางชีวภาพ

bacteria

สิ่งที่เป็นอันตรายทางชีวภาพ อย่างเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส สารกัมมันตภาพรังสี สารพิษ

9. สิ่งของลอกเลียนแบบ

Immigrants sell counterfeit

สิ่งของลอกเลียนแบบ ของละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์

10. สิ่งของต้องห้ามในการขนส่งทางอากาศ

spry bottles

สิ่งของต้องห้ามในการขนส่งทางอากาศ เช่น น้ำแข็งแห้ง ก๊าซในกระป๋องสเปรย์ แบตเตอรี่ลิเธียม และอุปกรณ์ที่มีการติดตั้งแบตเตอรี่ในตัวเครื่อง

จะเห็นได้ว่า สิ่งของต้องห้ามในการส่งพัสดุ นั้นเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อเจ้าหน้าที่และผู้โดยสารคนอื่นในระหว่างขนส่งได้ ซึ่งหากมีการตรวจพบ ผู้ถือครองหรือผู้ส่งจะมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 80,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

บริการขนส่งและฝากกระเป๋า

อย่างไรก็ตาม สิ่งของบางชนิด เช่น ของมีคม ที่ทางไปรษณีย์ไทยไม่ได้ถึงกับห้ามส่ง แต่ต้องผ่านการห่อหุ้มให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อเจ้าหน้าที่ ก่อนส่งพัสดุควรศึกษารายละเอียดให้ชัดเจนก่อนทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ทำผิดกฎหมายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

อ่านเพิ่มเติม

อยากส่งพัสดุไปต่างประเทศจัง ต้องทำอย่างไรบ้าง

สายช้อปต้องรู้ ภาษีแบรนด์เนมคืออะไร ใครบ้างที่ต้องจ่าย ?

ปกติแล้วเวลาไปเที่ยวต่างประเทศ เรามักจะเจอสินค้าแบรนด์เนมของแท้ราคาถูกขายเต็มไปหมด ซึ่งเหตุผลที่มีราคาถูกนั้นไม่ได้แปลว่าเป็นของเลียนแบบ แต่เป็นเพราะสินค้าเหล่านั้นยังไม่ได้ถูกคิดภาษีนำเข้า จึงทำให้มีราคาถูกกว่าสินค้าแบรนด์เนมที่ขายในประเทศนั่นเอง แน่นอนว่าสายช้อปต้องไม่พลาด ที่จะซื้อของแบรนด์เนมติดไม้ติดมือหรือหิ้วกลับมาฝากคนรู้จักอย่างแน่นอน ซึ่งในไทยมียกเว้นภาษีให้สำหรับสินค้าแบรนด์เนมที่มีจุดประสงค์ในการซื้อมาใช้ส่วนตัว แต่ถ้าซื้อมาจำนวนมากเกินไป อาจโดนปรับภาษีนำเข้า จนมีราคาแพงกว่าสินค้าแบรนด์เนมที่ซื้อในประเทศไทยได้เลยทีเดียว

ดังนั้นบทความนี้จะพามารู้จักกับภาษีแบรนด์เนม หรือที่หลายๆ คนเรียกว่าภาษีหิ้วของว่าคืออะไร สินค้าใดบ้างที่ต้องเสียภาษี มีอัตราเท่าไรบ้าง เพื่อให้สายช้อปไม่ถูกปรับภาษีนำเข้าจนต้องมาเสียใจภายหลังได้

ภาษีนำเข้าคืออะไร มีอัตราอย่างไร

ภาษีนำเข้า เป็นภาษีที่จัดเก็บโดยกรมศุลกากร โดยจะเก็บภาษีจากผู้ที่นำสินค้าเข้ามาในประเทศไทยเพื่อนำภาษีนั้นไปใช้ในการพัฒนาประเทศ และเป็นการสร้างกำแพงไม่ให้สินค้าจากต่างประเทศมาทำลายการค้าภายในประเทศได้ เพราะถ้าหากไม่มีการเก็บภาษีนำเข้า ก็จะสามารถนำสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศเข้ามาขายได้อย่างง่ายดาย ซึ่งจะส่งผลให้สินค้าลักษณะเดียวกันในประเทศขายได้ยากมากขึ้น 

องค์ประกอบของภาษีนำเข้าจะมี 2 ส่วน ได้แก่

1.ภาษีนำเข้า กรมศุลกากรมีหน้าที่จัดเก็บ โดยอัตราภาษีนำเข้าที่กรมศุลกากรกำหนดไว้จะแบ่งตามชนิดของสินค้า ดังนี้

  • คิดภาษี 30% สำหรับสินค้าประเภทเสื้อผ้า หมวก เข็มขัด รองเท้า เครื่องสำอาง น้ำหอม 
  • คิดภาษี 20% สำหรับสินค้ากระเป๋าแบรนด์เนม 
  • คิดภาษี 10% สำหรับสินค้าที่เป็น CD DVD อัลบั้มเพลง ตุ๊กตา 
  • คิดภาษี 5% สำหรับสินค้านาฬิกาข้อมือ แว่นตา แว่นกันแดด 
  • ได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับสินค้าอุปกรณ์ไอทีต่างๆ แผงวงจรไฟฟ้า โทรศัพท์ กล้อง แต่ยังต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

2.ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT 7% นอกจากจะจัดเก็บภาษีนำเข้าแล้ว กรมศุลกากรจะต้องเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อนำส่งให้กรมสรรพสามิตด้วย โดยคำนวณตามราคาสินค้าที่บวกภาษีนำเข้าแล้ว

ตัวอย่างการคำนวณภาษีนำเข้า สมมุติว่าซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมมาในราคา 40,000 บาท 

  1. คิดภาษีนำเข้ากระเป๋าแบรนด์เนม 40,000×20% = 8,000 บาท 
  2. คิดภาษีมูลค่าเพิ่ม (40,000+8,000)x7% = 3,360 บาท

รวมภาษีนำเข้าที่ต้องเสีย คือ 8,000+3,360 = 11,360 บาท

สิ่งของอะไรบ้างที่เสี่ยงโดนภาษี ? 

โดยปกติแล้วสิ่งของทั่วไป หรือของใช้ส่วนตัวที่เป็นไปตามข้อกำหนดจะไม่ถูกเก็บภาษีนำเข้าอยู่แล้ว แต่จะมีสินค้าบางอย่างที่ถูกกำหนดปริมาณการนำเข้าไว้ หรือสินค้าที่เป็นของต้องกำกัด ซึ่งต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง สินค้าเหล่านี้จำเป็นต้องเสียภาษีอย่างแน่นอน โดยสินค้าที่ต้องเสียภาษีนำเข้าและสินค้าที่เป็นของต้องกำกัด มีดังนี้

ของต้องกำกัดมีอะไรบ้าง

  • อาวุธปืน กระสุนปืน วัตถุระเบิด
  • บุหรี่ ยาสูบ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • อาหาร ยา เครื่องสำอาง และอาหารเสริม
  • พืชและส่วนต่างๆ ของพืช
  • สัตว์มีชีวิตและซากสัตว์
  • ชิ้นส่วนยานพาหนะ
  • เครื่องมือวิทยุสื่อสาร อุปกรณ์โทรคมนาคม
  • ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ พระพุทธรูป

สินค้าอะไรบ้างที่ต้องเสียภาษีนำเข้า

  • งของที่นำไปจากประเทศไทยไว้ก่อนเดินทาง จะไม่ถูกคิดมูลค่าด้วย)
  • สิ่งของที่มีลักษณะทางการค้า แม้จะมีมูลค่าต่ำกว่า 20,000 บาท
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินกว่า 1 ลิตร
  • บุหรี่เกินกว่า 200 มวน รวมไปถึงยาสูบเกินกว่า 250 กรัม

ไม่เคยรู้เรื่องนี้มาก่อน ปกติก็ซื้อแบรนด์เนมทำไมไม่ต้องจ่ายภาษี ?

หลายๆ คนมีข้อสงสัยว่าปกติก็ซื้อของแบรนด์เนมจากต่างประเทศ แต่ไม่เห็นต้องจ่ายภาษี สรุปแล้วกรมศุลกากรคิดภาษีแบรนด์เนมอย่างไรกันแน่ คำตอบคือการเรียกปรับภาษีขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ศุลกากร ซึ่งส่วนมากเจ้าหน้าที่จะยกเว้นภาษีให้กับสินค้าที่ซื้อมาเพื่อใช้การส่วนตัว โดยเจ้าหน้าที่จะพิจารณาจากลักษณะแพ็กเกจของสินค้า หากมีการแกะกล่องและนำออกมาใช้แล้ว เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะพิจารณาว่าเป็นของใช้ส่วนตัวและละเว้นการเสียภาษี แต่ในทางกลับกัน หากแพ็กเกจแบรนด์เนมที่ซื้อมายังสมบูรณ์ครบครัน ยังไม่มีการใช้งาน เจ้าหน้าที่อาจพิจารณาว่าเป็นสินค้านำเข้าในลักษณะค้าขายได้ เพราะสินค้าแบรนด์เนมที่ยังไม่แกะกล่องจะสามารถนำไปขายต่อในราคาสูงได้นั่นเอง นอกจากพิจารณาจากลักษณะแพ็กเกจแล้ว ยังพิจารณาจากจำนวนสินค้าอีกด้วย หากหิ้วของแบรนด์เนมมาจำนวนไม่มาก และไม่สำแดงพิรุธว่าจะนำไปขายต่อ เจ้าหน้าที่สามารถพิจารณาละเว้นภาษีได้

อย่างไรก็ตาม AIRPORTELs ขอแนะนำว่าหากหิ้วสินค้าแบรนด์เนมมาจำนวนมาก และไม่สามารถแกะกล่องมาใช้เองได้ครบทุกชิ้น ก็ควรไปสำแดงกับเจ้าหน้าที่เพื่อไม่ให้เสียค่าปรับแสนแพงจะดีกว่า

หากต้องชำระภาษีศุลกากรขาเข้า ต้องเตรียมตัวอย่างไร ? 

กรณีที่ไม่มีของต้องเสียภาษีนำเข้า สามารถเดินผ่านได้ที่ช่องไม่มีสิ่งของต้องสำแดง หรือ ช่องเขียว (Nothing to declare) ได้เลย แต่ถ้าหากมีของที่ต้องเสียภาษีให้เดินผ่านช่องมีสิ่งของต้องสำแดงหรือ ช่องแดง (Goods to declare) เพื่อชำระภาษีศุลกากรขาเข้า โดยสิ่งที่ต้องเตรียมคือ หนังสือเดินทาง และใบเสร็จรับเงินสินค้า 

ใบเสร็จรับเงินถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ภาษีแบรนด์เนมที่ต้องเสียนั้นคำนวณออกมาได้อย่างถูกต้องที่สุด เพราะหากไม่มีใบเสร็จรับเงิน เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะตีราคาจากเว็บไซต์หรือฐานข้อมูลที่จำหน่ายสินค้านั้นๆ ซึ่งสินค้าอาจถูกตีราคาถูกกว่า หรือแพงกว่าราคาจริงที่ซื้อมาได้ ดังนั้นใบเสร็จรับเงินจึงเป็นหลักฐานยืนยันที่ช่วยให้จ่ายภาษีแบรนด์เนมในราคาที่ถูกต้องได้ แต่ในกรณีที่เป็นสินค้าประเภทของสะสมที่ไม่มีราคาที่แน่นอน และมีราคาสูงมาก อาจขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ศุลกากรว่าต้องเสียภาษีเท่าไร แต่โดยปกติแล้วจะเสียภาษีในราคาที่ไม่สูงมาก

ทำยังไงไม่ให้โดนภาษีแบรนด์เนม

วิธีการหิ้วของแบรนด์เนมโดยไม่ให้โดนภาษีแบรนด์เนม คือ พยายามซื้อไม่ให้มีมูลค่ารวมทั้งหมดเกินเกณฑ์ราคา 20,000 บาท รวมถึงไม่ซื้อจำนวนมากเกินไป เพราะถึงแม้ว่าจะหิ้วมามูลค่ารวมไม่ถึง 20,000 บาท แต่การซื้อจำนวนมากอาจเข้าข่ายลักษณะเพื่อค้าขายและเสียภาษีได้ นอกจากนั้นควรแสดงเจตนาให้ชัดเจนว่าซื้อมาเพื่อใช้เป็นของส่วนตัว อย่างการแกะกล่องออกมาใช้เลย รวมไปถึงไม่ซื้อของแบรนด์เนมรุ่นเดิมซ้ำๆ กันหลายชิ้น ถึงแม้ว่าจะเป็นการซื้อเพื่อเป็นของฝากให้กับคนรู้จัก แต่เจตนานั้นไม่สามารถพิสูจน์ได้

คุ้มไหมที่ไม่สำแดงสินค้าเพื่อเลี่ยงภาษี

หากคิดจะไม่สำแดงสินค้าเพื่อเลี่ยงภาษีล่ะก็คงไม่ใช่ความคิดที่ดีนัก เพราะหากหลีกเลี่ยงไม่สำแดงสินค้า และเดินผ่านเข้าช่องเขียว อาจถูกสุ่มตรวจสัมภาระ เมื่อพบว่ามีของที่ต้องเสียภาษีอยู่ด้วย จะถูกปรับเงินสูงสุด 4 เท่าของราคาสินค้าที่รวมภาษี หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ อีกทั้งยังถูกยึดสินค้าที่นำเข้ามาด้วย เรียกได้ว่าทั้งเสียเงิน เสียของ เสียเวลา ไม่คุ้มอย่างมาก หากรู้ตัวว่ามีสินค้าที่ต้องเสียภาษีแบรนด์เนมก็ควรสำแดงต่อเจ้าหน้าที่และจ่ายภาษีอย่างถูกต้องจะดีกว่า

ภาษีนำเข้า ภาษีแบรนด์เนม หรือภาษีหิ้วของ คือภาษีที่กรมศุลกากรต้องจัดเก็บกับผู้ที่นำสินค้าเข้ามาในประเทศไทย โดยของที่ต้องเสียภาษีคือของใช้ส่วนตัวที่มีมูลค่าเกิน 20,000 บาท หรือสินค้าที่มีจำนวนมากที่เข้าข่ายลักษณะค้าขาย รวมไปถึงแอลกอฮอล์ บุหรี่ หรือยาสูบที่มีปริมาณหรือน้ำหนักเกินเกณฑ์ ส่วนของที่ไม่ต้องเสียภาษีคือของใช้ส่วนตัวที่มีมูลค่าไม่เกิน 20,000 บาท หรือแอลกอฮอล์ บุหรี่ ยาสูบที่ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด รวมถึงไม่ใช่ของต้องห้ามหรือของกำกัด และอุปกรณ์ไอทีต่างๆ แผงวงจรไฟฟ้า โทรศัพท์ กล้อง ที่ได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้า แต่ยังต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% อยู่ดี 

ส่วนใครที่ซื้อของแบรนด์เนมแต่ไม่อยากเสียภาษีนำเข้า ให้ซื้อของที่มูลค่าไม่มากและไม่ซื้อจำนวนมากเกินไป หรือใช้วิธีแกะกล่องแล้วใช้งานเลยเพื่อแสดงเจตนาว่าเป็นของใช้ส่วนตัว แต่ AIRPORTELs ไม่แนะนำให้หลีกเลี่ยงการสำแดงสินค้าเพื่อเลี่ยงภาษี เพราะไม่คุ้มค่า อาจเสียค่าปรับหรือถูกจำคุกได้

เปิด Trick วิธีส่งของไปต่างประเทศ รวบลัด ครบจบใน 3 ขั้นตอน

Trick วิธีส่งของไปต่างประเทศ

ยุคปัจจุบันที่แต่ละประเทศทั่วโลกได้เชื่อมต่อเข้าหากัน ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารและการเดินทางที่สะดวกสบาย ทำให้การขนส่งสินค้าต่างๆ ก็เป็นไปได้อย่างง่ายดายขึ้นด้วยเช่นกัน ไม่เพียงแต่ในภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่การส่งสินค้าส่วนตัวหลายอย่างก็สามารถทำได้ไม่ยาก หลายๆ คนที่อยากส่งของไปยังต่างประเทศ แต่ยังไม่แน่ใจในเรื่องของวิธีส่งของไปต่างประเทศผ่านการขนส่งต่างๆ ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง ในบทความนี้มีทริคง่ายๆ 3 ขั้นตอนการส่งสินค้าไปต่างประเทศ ง่ายๆ  ครบจบ เข้าใจง่าย ได้อย่างปลอดภัยมาแนะนำกัน

ส่งสินค้าไปต่างประเทศ

ส่งสินค้าไปต่างประเทศ ต้องเตรียมตัวอย่างไร

วิธีส่งของไปต่างประเทศนั้นทำได้ไม่ยาก โดยสิ่งที่จำเป็นต้องรู้ก่อนคือข้อมูลต่างๆ ของสินค้าหรือพัสดุที่ต้องการส่งรวมไปถึงกฏเกณฑ์ต่างๆ ของประเทศปลายทางที่ต้องการจะส่งของไป ในการเลือกขนส่งและวิธีการส่งของไปต่างประเทศจึงควรเตรียมตัวด้วย 3 ทริคดังต่อไปนี้

1. ศึกษากฎเกณฑ์ประเทศปลายทาง และเตรียมเอกสารให้เรียบร้อย

อันดับแรกที่สำคัญที่สุดคือ ศึกษากฏเกณฑ์ของประเทศปลายทางและเตรียมเอกสารให้ครบถ้วน หลายประเทศจำเป็นที่จะต้องขอเอกสารหรือใบรับรองพัสดุ หรือสินค้าบางชนิดก่อนที่จะนำเข้าประเทศ รวมไปถึงต้องจ่ายภาษีด้วย

  • ประเทศในสหภาพยุโรปหรือ EU จะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับพัสดุทุกชิ้นที่นำเข้าประเทศ โดยมีอัตราการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่แตกต่างกันออกไปจึงควรตรวจสอบอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศที่ต้องการส่งของ และจดทะเบียนภาษีเป็นผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย
  • หากเป็นเจ้าของธุรกิจที่ต้องการส่งออกสินค้า ควรจดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลเพื่อความน่าเชื่อถือ
  • ตรวจสอบว่าสินค้าที่ต้องการส่งออกนั้นเป็นสินค้าตามที่กฏหมายกำหนดหรือไม่ หากสินค้าเป็นสินค้าตามที่กฏหมายกำหนด ให้จดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกสินค้านั้นด้วย เช่น จดทะเบียนกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำหรับผู้ที่ส่งออกผลไม้เป็นสินค้าไปยังต่างประเทศ
  • เตรียมเอกสารด้านศุลกากร ได้แก่ ใบขนส่งสินค้าขาออก ซึ่งมีข้อมูลทั่วไปของสินค้าอย่างผู้ส่งและผู้รับ ใบราคาสินค้าหรือใบแจ้งหนี้ จะต้องระบุราคาสินค้าตรงกับเอกสารอื่นๆ ใบกำกับการบรรจุหีบห่อสินค้า เป็นเอกสารที่ผู้ส่งออกให้ผู้ซื้อโดยจะต้องมีรายละเอียดทั่วไปของสินค้า เช่น น้ำหนักของสินค้า และเอกสารอย่างสุดท้ายคือคำร้องขอให้ตรวจสินค้าและบรรจุตู้สินค้า คือใบคำขอให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจสอบสินค้าว่าถูกต้องตามกฏหมายและสามารถส่งออกได้หรือไม่

2. แพ็คสิ่งของให้หนาแน่น และจ่าหน้าระบุสิ่งของให้ชัดเจน

นอกจากการเตรียมเอกสารต่างๆ เพื่อทำการส่งออกสินค้าและการส่งพัสดุแล้ว ทริคข้อต่อมาที่ควรศึกษาคือการบรรจุหีบห่อของสินค้าและพัสดุให้หนาแน่น รวมไปถึงการจ่าหน้าพัสดุให้ชัดเจนเพื่อให้การขนส่งถูกต้องและป้องกันการสูญหาย

  • ซองเอกสารห้ามปิดด้วยกาวหรือเทปกาว ให้ใช้แม็กเย็บกระดาษ
  • การส่งพัสดุเป็นกล่องห้ามใช้กาวหรือเทปกาว ให้ใช้เชือกผูกเท่านั้น
  • หากเป็นสินค้าที่เสี่ยงต่อการแตกหักหรือเสียหายในระหว่างขั้นตอนการขนส่ง ควรห่อด้วยกันกระแทกอย่างแน่นหนา
  • ตรวจสอบการจ่าหน้าซอง จะต้องเห็นรายละเอียดชัดเจน ถูกต้อง และจะต้องระบุข้อมูลของที่อยู่ในกล่องอย่างครบถ้วน เพื่อให้มีความสะดวกรวดเร็วต่อการตรวจสอบของประเทศปลายทางและป้องกันการถูกตีกลับ

3. เลือกขนส่งให้เหมาะกับสิ่งของและติดตามพัสดุ

ทริคข้อสุดท้ายคือการเลือกวิธีส่งของไปต่างประเทศที่เหมาะสมกับสินค้าที่ต้องการส่งและจะต้องติดตามเส้นทางการขนส่งสินค้าด้วย ซึ่งในการขนส่งก็มีวิธีการขนส่งที่หลากหลายทั้งทางเรือขนส่ง ขนส่งพัสดุย่อย ขนส่งทางอากาศ หรือภาคพื้นดิน เพื่อความสะดวกสบายในการขนส่งสินค้า หากขนส่งสินค้าด้วย AIRPORTELs ที่ให้บริการการขนส่งสินค้าไปยังต่างประเทศด้วยวิธีส่งของไปต่างประเทศที่หลากหลายเพื่อตอบโจทย์การขนส่งสินค้าที่เหมาะสม รวมไปถึงการให้บริการอื่นๆ เพื่ออำนวยความสะดวกก็จะช่วยให้การขนส่งสินค้าเป็นไปได้อย่างราบรื่นมากขึ้น

  • บริการหลักของ AIRPORTELs คือการส่งกระเป๋า ซึ่งมีความสะดวกสบายด้วยเคาเตอร์รับฝากส่งกระเป๋าหลายสาขา ทั้งที่สนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินดอนเมือง ห้างสรรพสินค้า Central World ห้างสรรพสินค้า MBK Center และห้างสรรพสินค้า Terminal21
  • AIRPORTELs ยังมีบริการขนส่งสินค้าและพัสดุต่างๆ นอกจากการขนส่งกระเป๋าไปยังต่างประเทศด้วยวิธีส่งของไปต่างประเทศทั้งทางอากาศ ภาคพื้นดิน ทางเรือขนส่งสินค้าและการขนส่งพัสดุย่อยอีกด้วย
รูปแบบขนส่ง

รูปแบบการขนส่ง 

เมื่อวิธีการส่งของไปต่างประเทศนั้นสามารถเลือกได้จากหลายเส้นทาง เพื่อช่วยให้สามารถตัดสินใจเลือกเส้นทางได้อย่างเหมาะสมกับพัสดุและสินค้าที่ต้องการ จึงควรศึกษาวิธีส่งของไปต่างประเทศต่างๆ ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร

1. การขนส่งทางอากาศ (Airmail) 

วิธีส่งของไปต่างประเทศวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักกันมากคือการขนส่งทางอากาศ เพราะสามารถส่งของได้อย่างรวดเร็ว

วิธีการส่ง

การขนส่งสินค้าทางอากาศหรือการขนส่งสินค้าด้วยเครื่องบิน เป็นการขนส่งที่มีทั้งการดำเนินการโดยสายการบินต่างๆ หรือบริษัทรับขนส่งสินค้าทางอากาศที่ซื้อระวางจากสายการบินมาอีกทอดหนึ่ง โดยในปัจจุบันนั้นวิธีส่งของไปต่างประเทศด้วยการขนส่งทางอากาศมีความแพร่หลายมาก ทางการขนส่งทางอากาศจึงพัฒนาให้เครื่องบินสามารถบรรจุสินค้าได้มากขึ้นและมีอุปกรณ์และบริการในการจัดส่งสินค้าที่ครบครันมากขึ้น รวมไปถึงการขยายคลังสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการในการขนส่งสินค้าทางอากาศด้วย

ข้อดี 

ข้อดีของวิธีส่งของไปต่างประเทศด้วยการขนส่งสินค้าทางอากาศคือใช้เวลาในการขนส่งน้อย อาจเรียกได้ว่าเป็นวิธีส่งของไปต่างประเทศที่รวดเร็วที่สุด ทำให้เหมาะกับสินค้าที่ต้องการความรวดเร็วในการขนส่งและเผยแพร่ออกสู่ตลาด รวมไปถึงสินค้าที่อาจเน่าเสียได้ง่ายด้วย

ข้อเสีย

ข้อเสียคือ การเป็นการขนส่งที่ใช้อัตราค่าบริการสูงหากเทียบกับการขนส่งแบบอื่นๆ และยังเป็นขนส่งที่อาจขึ้นอยู่กับสภาพอากาศได้ด้วย เช่น หากเกิดพายุอาจทำให้มีความล่าช้า เป็นต้น

หน่วยงานที่ให้บริการ Service นี้ในไทย

หน่วยงานที่ให้บริการขนส่งทางอากาศในประเทศไทย เช่น

  • บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน)
  • บริษัท ไทยสมายล์ แอร์เวย์ จำกัด

2. การขนส่งแบบผสม หรือแบบพัสดุย่อย SAL (Surface Air Lifted) 

เมื่อการส่งของไปต่างประเทศด้วยวิธีการขนส่งทางอากาศอาจเป็นการขนส่งที่ต้นทุนสูงไม่คุ้มค่ากับสินค้า จึงเกิดการขนส่งแบบผสมหรือแบบพัสดุย่อยที่เข้ามาช่วยผู้ส่งออกสินค้ารายย่อยหรือการขนส่งพัสดุขนาดเล็กขึ้น

วิธีการส่ง

การขนส่งแบบผสมหรือแบบพัสดุย่อย เป็นวิธีส่งของไปต่างประเทศที่พ่อค้าแม่ค้าหลายท่านนิยมใช้ เหมาะกับการส่งพัสดุขนาดเล็ก น้ำหนักเบา โดยเป็นวิธีส่งของไปต่างประเทศที่ผสมการเดินทางทั้งทางอากาศและภาคพื้นดิน คือจะจัดส่งโดยทางอากาศข้ามประเทศก่อนแล้วจึงจัดส่งด้วยรถยนต์เมื่อถึงประเทศปลายทาง

ข้อดี 

ข้อดีของวิธีส่งของไปต่างประเทศด้วยการขนส่งแบบพัสดุย่อย คือราคาที่ถูกกว่าการขนส่งทางอากาศและใช้เวลาไม่นาน เหมาะกับพัสดุขนาดเล็กและน้ำหนักเบา

ข้อเสีย

ข้อเสียของวิธีส่งของไปต่างประเทศด้วยการขนส่งแบบพัสดุย่อย คือไม่รวดเร็วเท่าการขนส่งทางอากาศ จึงอาจส่งผลเสียต่อสิ่งของที่เน่าเสียได้ง่ายหรือต้องการความรวดเร็วในการขนส่ง

หน่วยงานที่ให้บริการ Service นี้ในไทย

หน่วยงานที่ให้การบริการขนส่งแบบพัสดุย่อยในประเทศไทย เช่น

  • ไปรษณีย์ไทย

3. การขนส่งแบบภาคพื้นดิน (Surface mail)

หากเป็นการขนส่งแบบดั้งเดิม หลายคนคงคุ้นเคยกับการขนส่งสินค้าภาคพื้นดิน เพราะเป็นวิธีส่งของไปต่างประเทศที่มีความยุ่งยากน้อยกว่าวิธีอื่นๆ แต่จะมีข้อดีหรือข้อเสียอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ

วิธีการส่ง

การขนส่งสินค้าแบบภาคพื้นดิน คือวิธีส่งของไปต่างประเทศทางยานพาหนะภาคพื้นดินอย่างรถยนต์ เป็นวิธีขนส่งที่มาเป็นอันดับแรกๆ ในการอุตสาหกรรมการขนส่ง

ข้อดี 

ข้อดีของวิธีส่งของไปต่างประเทศด้วยการขนส่งแบบภาคพื้นดิน คือมีราคาถูกที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับการขนส่งแบบอื่นๆ

ข้อเสีย

ข้อเสียของวิธีส่งของไปต่างประเทศด้วยการขนส่งแบบภาคพื้นดิน คือมีระยะเวลาในการขนส่งที่ค่อนข้างนาน ไม่เหมาะกับของที่ต้องการความรวดเร็วในการขนส่งหรือของที่เน่าเสียได้อย่างอาหารหรือของสด

หน่วยงานที่ให้บริการ Service นี้ในไทย

หน่วยงานที่ให้การบริการขนส่งแบบภาคพื้นดินในประเทศไทย เช่น

  • บริษัทคาร์โก้

4. การขนส่งแบบผ่านเรือขนส่งสินค้า (Ocean Freight)

เมื่อพิจารณาจากวิธีส่งของไปต่างประเทศจะเห็นได้ว่ามีความหลากหลายทั้งวิธีขนส่งและระยะเวลาที่ใช้ในการขนส่ง อย่างไรก็ตาม สำหรับการส่งออกสินค้าบางอย่างที่ต้องการขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ การขนส่งสินค้าทางอากาศหรือทางรถยนต์อาจไม่ตอบโจทย์ จึงเกิดการขนส่งสินค้าผ่านเรือขนส่งสินค้าเพื่อรองรับการขนส่งสินค้าที่มีขนาดใหญ่หรือปริมาณมากขึ้น

วิธีการส่ง

การขนส่งสินค้าแบบผ่านเรือขนส่งสินค้า เป็นวิธีส่งของไปต่างประเทศที่ใช้การขนส่งทางเรือขนส่งทางน้ำ โดยสามารถบรรจุในตู้คอนเทนเนอร์หลากหลายขนาดได้ตามความต้องการของผู้ส่ง

ข้อดี 

ข้อดีของวิธีส่งของไปต่างประเทศด้วยการขนส่งแบบผ่านเรือขนส่งสินค้า คือสามารถส่งของไปต่างประเทศจำนวนมากต่อครั้งได้ สามารถเลือกตู้ขนส่งสินค้าที่เหมาะสมกับสินค้าได้ อีกทั้งยังต้นทุนค่อนข้างต่ำจึงทำให้มีค่าบริการไม่แพงด้วย

ข้อเสีย

ข้อเสียของการขนส่งแบบผ่านเรือขนส่งสินค้า คือใช้เวลาค่อนข้างนาน ต้องมีการถ่ายโอนสินค้าขึ้นบกอีกทอดหนึ่ง อีกทั้งไม่เหมาะกับการขนส่งพัสดุน้อยชิ้นเพราะจะทำให้ต้นทุนสูงและไม่คุ้มค่า

หน่วยงานที่ให้บริการ Service นี้ในไทย

หน่วยงานที่ให้การบริการขนส่งแบบผ่านเรือขนส่งสินค้าในประเทศไทย เช่น

  • บริษัท AGLT
  • บริษัท Ezyship
ปัญหาการขนส่งต่างประเทศ

เมื่อเกิดปัญหาในการขนระหว่างต่างประเทศทำอย่างไร ?

หากว่าสินค้าหรือพัสดุมีความเสียหาย ทางผู้ขนส่งจะมีการชดเชยโดย

  • ทั่วไปแล้วการขนส่งจะมีการชดเชยความเสียหายตามจริง หรือไม่เกินประมาณ 3,000-10,000 บาท ขึ้นอยู่กับน้ำหนักหรือกฏเกณฑ์ของขนส่งแต่ละบริษัท
  • หากเกิดความเสียหายแล้วเกิดการฟ้องร้อง จะต้องปฏิบัติตามกฏหมายของประเทศต้นทางหรือบริษัทที่ขนส่ง

วิธีส่งของไปต่างประเทศ แม้จะมีหลากหลายวิธีและหลากหลายขั้นตอนให้เตรียมตัว ไม่ว่าจะเป็นการศึกษากฏหมายการขนส่งของแต่ละประเทศหรือการเตรียมเอกสารเพื่อขอส่งออกสินค้าต่างๆ แต่หากเข้าใจทริคง่ายๆ ในการเตรียมตัวก็จะช่วยให้สามารถส่งออกสินค้าหรือส่งของไปต่างประเทศได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ จุดที่สำคัญคือการศึกษาวิธีการขนส่งทั้งทางอากาศ การขนส่งแบบผสม การขนส่งภาคพื้นดินและการขนส่งทางเรือสินค้าให้ละเอียด เพื่อให้สามารถเลือกการขนส่งที่ตอบโจทย์กับสินค้าได้มากที่สุด

ภาษีนำเข้าคืออะไรแล้วทำไมต้องจ่ายด้วยเนี่ยย!

tax import

หลายคนโดยเฉพาะผู้ประกอบธุรกิจค้าขายสินค้าระหว่างประเทศ คงเคยได้ยินคำว่า ภาษีนำเข้า ภาษีส่งออก แต่ก็ไม่รู้ว่ามันคืออะไร เบื้องต้นพึงเข้าใจก่อนว่าภาษีนั้นมีหลายประเภท เช่น ภาษีบุคคลธรรมดา ภาษีนิติบุคคล ซึ่งมีฐานภาษีซึ่งคิดแตกต่างกันออกไป ภาษีนำเข้า ภาษีส่งออก ก็เช่นเดียวกัน จะมีการเสียภาษีต่อเมื่อมีการนำเข้าหรือส่งออกสินค้า คำถามต่อไปว่าทำไมต้องเสียภาษี ต้องเข้าใจว่าการที่ประเทศหนึ่งส่งออกสินค้าไปอีกประเทศหนึ่งย่อมต้องหมายถึง ประเทศนั้นได้ใช้ทรัพยากรในการผลิตสินค้านั้น แต่กลับมิได้ใช้เพราะมีการส่งออก จึงมีการเก็บภาษีส่งออกเพื่อตอบแทนรัฐนั้นบ้าง และขณะเดียวการที่ประเทศหนึ่งนำเข้าสินค้าอีกประเทศหนึ่งย่อมหมายความว่า สินค้านั้นอาจกระทบต่อการผลิตสินค้าภายในประเทศที่มีการนำเข้า จึงสมควรที่ต้องเก็บภาษีนำเข้าเช่นเดียวกันเพื่อตอบแทนรัฐนั้นบ้าง จากที่กล่าวมา ภาษีนำเข้า คือ ภาษีที่รัฐจัดเก็บเมื่อมีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ หรือที่คุ้นเคยกันดีในคำว่า กำแพงภาษี

            จากข้างต้นน่าจะพอทราบเหตุผลโดยคร่าว ๆ แล้วว่า ภาษีนำเข้า คือ อะไร คำถามต่อไปซึ่งเป็นเรื่องสำคัญว่าจำเป็นหรือไม่ ต้องเสียภาษีนำเข้าทุกครั้งเมื่อนำเข้าสินค้า คำตอบคือ ไม่จำเป็น เพราะอาจมีการยกเว้นภาษี เนื่องจากเป็นการนำเข้ามาเพื่อเป็นตัวอย่างสินค้า รวมถึงอาจไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี De minimis กล่าวคือ สินค้านั้นมีราคาต่ำกว่าที่ประเทศที่นำเข้านั้นกำหนดที่ต้องเสียภาษี เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกากำหนดค่า De minimis ไว้ที่ 800 ดอลลาร์ หมายความว่า หากนำเข้าสินเข้าจากประเทศอื่น ราคาต่ำกว่า 800 ดอลลาร์ ผู้นำเข้าในประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ต้องเสียภาษี หรือในส่วนของประเทศไทยกำหนดค่า De minimis ไว้ที่ 1500 บาท หากนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศราคาต่ำกว่า 1500 บาท ผู้นำเข้าก็ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า เป็นต้น

            อย่างไรก็ตามกำแพงภาษียังถือเป็นสิ่งจำเป็นอยู่ โดยเฉพาะในสินค้าบางประเภทจำพวกสินค้าฟุ่มเฟือย บางประเทศจึงยังเก็บภาษีนำเข้าที่สูง หากจัดลำดับทุกประเทศในโลกแล้ว 10 ประเทศที่เก็บภาษีสูงสุดในโลกได้แก่ประเทศดังต่อไปนี้

Capital Building at Ngerulmud,ภาษีนำเข้า

1. ปาเลา (Palau)

สาธารณรัฐปาเลาตั้งอยู่บริเวณหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจากประเทศฟิลิปปินส์ ประมาณ 500 กิโลเมตร อัตราภาษีนำเข้าโดยเฉลี่ย 29.9 %

Basseterre,ภาษีนำเข้า

2. เซนต์คิตส์และเนวิส (St.Kitts and Nevis)

สหพันธรัฐ เซนต์คิตส์และเนวิส ตั้งอยู่บริเวณหมู่เกาะลีเวิร์ด แถบทะเลแคริบเบียน อัตราภาษีนำเข้าโดยเฉลี่ย 21.1 %

flags of Bermuda

3. เบอร์มิวดา (Bermuda)

ดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ห่างจากสหรัฐอเมริกาประมาณ 580 ไมล์ อัตราภาษีนำเข้าโดยเฉลี่ย 20.9 %

Bahamas sign

4. บาฮามาส (Bahamas)

เครือรัฐบาฮามาส ตั้งอยู่บริเวณมหาสมุทรแอตแลนติก เหนือประเทศคิวบา อัตราภาษีนำเข้าโดยเฉลี่ย 18.6 %

Solomon Islands

5. หมู่เกาะโซโลมอน (Solomon Islands)

ตั้งอยู่บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ใกล้ประเทศปาปัวนิวกินี และเป็นส่วนหนึ่งของเครือจักรภพ อัตราภาษีนำเข้าโดยเฉลี่ย 18.5 %

Flag of benin,ภาษีนำเข้า

6. สาธารณรัฐเบนิน (Benin)

ตั้งอยู่บริเวณแอฟริกาตะวันตก ชื่อเดิมโฮมีย์ อยู่ติดกับประเทศไนจีเรียทางตะวันออก อัตราภาษีนำเข้าโดยเฉลี่ย 17.8 %

Flag of djibouti,ภาษีนำเข้า

7. สาธารณรัฐจิบูติ (Djibouti)

ตั้งอยู่ในบริเวณแอฟริกาตะวันออก พรมแดนตะวันออกเฉียงใต้ติดกับประเทศโซมาเลีย  อัตราภาษีนำเข้าโดยเฉลี่ย 17.6 %

Gabon oil industry,ภาษีนำเข้า คือ

8. สาธารณรัฐกาบอง (Gabon)

ตั้งอยู่บริเวณของทวีปแอฟริกา มีพรมแดนติดกับประเทศแคเมอรูน คองโก อัตราภาษีนำเข้าโดยเฉลี่ย 16.9 %

Cayman Islands.,ภาษีนำเข้า คือ

9. หมู่เกาะเคย์แมน (Cayman Islands)

อาณาโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ตั้งอยู่บริเวณทะเลแคริบเบียนฝั่งตะวันตก บริเวณใต้ประเทศคิวบา อัตราภาษีนำเข้าโดยเฉลี่ย 16.7 %

10000 central african CFA,ภาษีนำเข้า คือ

10. สาธารณรัฐแอฟริกากลาง (Central Africa Republic)

ตั้งอยู่บริเวณกลางทวีปแอฟริกา เป็นประเทศไม่มีอาณาเขตติดทะเล ประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ แคเมอรูน คองโก ยูกันดา ชาด อัตราภาษีนำเข้าโดยเฉลี่ย 16.4 %

จากที่กล่าวมาน่าจะพอเข้าใจได้บ้างว่า ภาษีนำเข้า คือ อะไร มีความจำเป็นอย่างไรในการต้องเก็บ และเกี่ยวข้องกับเรื่อง De minimis อย่างไร รวมถึงอันดับประเทศที่เก็บภาษีนำเข้าสูงสุดในโลก อย่างไรก็ตามในความจริงแล้วภาษีนำเข้า ถือเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการจัดการเศรษฐกิจของประเทศ และโดยที่รัฐแต่ละรัฐมีสภาพแตกต่างกัน ดังนั้น ความจำเป็นในการเก็บภาษี และใช้มาตรการทางภาษีนำเข้าจึงแตกต่างกัน กล่าวคือ หากรัฐใดมีสภาพคล่องการส่งออกมาก ก็ไม่มีความจำเป็นต้องเก็บภาษีนำเข้ามาก ในทางตรงข้ามหากรัฐใดมีมูลค่าส่งออกสินค้าได้น้อย การเก็บภาษีนำเข้าย่อมมีความจำเป็น ที่จะเก็บราคาสูงเพื่อป้องกันการขาดดุลการค้า เป็นต้น

รู้ทันวิธีคิดราคาค่าขนส่งคำนวณจากอะไร

หลักการคำนวณค่าขนส่งพัสดุเบื้องต้น,คำนวณค่าขนส่ง

ด้วยปัจจุบันธุรกิจ E-commerce มีการขยายตัวมากขึ้น โดยเฉพาะการขายสินค้าออนไลน์ ซึ่งทุกคนสามารถเริ่มธุรกิจเป็นผู้ค้านี้ได้ไม่ยากเพียงแค่มีสินค้าที่ผู้คนทั่วไปต้องการ อย่างไรก็ตามปัญหาสำคัญสิ่งหนึ่งนอกจากกรณีว่าจะเลือกนำสินค้าใดมาขายแล้ว อีกสิ่งที่สำคัญคือ จะส่งสินค้านั้นอย่างไร แบบใดคุ้มค่าที่สุด เนื่องจากการส่งสินค้า ถือเป็นต้นทุนอย่างหนึ่ง หากมีราคาต่ำก็ยิ่งหมายถึงกำไรที่มากขึ้น อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน มีผู้ประกอบธุรกิจรับขนส่งพัสดุสินค้าจำนวนมากไม่ต่ำกว่า 10 ราย ซึ่งก็มีวิธีคิด คำนวณค่าขนส่ง บริการแตกต่างกันออกไป ดังนั้น ขอนำเสนอหลักการ คำนวณค่าขนส่ง เฉพาะภายในประเทศของผู้ให้บริการ 2 รายสำคัญเบื้องต้นคือ 1. ไปรษณีย์ไทย เป็นที่รู้จักอย่างดีของคนไทย ประกอบธุรกิจมาอย่างยาวนาน และ 2. Kerry บริษัทสัญชาติมาเลเซีย (ผู้ก่อตั้ง) เข้ามาในประเทศไทยช่วงปี 2549

            เรื่องค่าบริการของไปรษณีย์ไทย คิดตามอัตราน้ำหนักเป็นหลัก ยิ่งน้ำหนักมาก ค่าบริการยิ่งสูง ทั้งนี้แยกตามประเภทการขนส่งได้ 3 รูปแบบ ดังนี้

วิธี คำนวณค่าขนส่ง พัสดุแบบต่าง ๆ

            1. พัสดุแบบธรรมดา เริ่มต้นน้ำหนักกิโลกรัมแรกที่ราคา 20 บาท กิโลกรัมต่อไป กิโลกรัมละ 15 บาท เช่น ไม่เกิน 1 กิโลกรัม ค่าบริการ 20 บาท, เกิน 1 กิโลกรัม แต่ไม่เกิน 2 กิโลกรัม ค่าบริการ 35 บาท

            ทั้งนี้สามารถส่งสูงสุดได้ไม่เกิน 20 กิโลกรัม หากเกินกว่านี้จะเป็นการส่งแบบ Logis post ซึ่งส่งได้ 20-200 กิโลกรัม กล่าวคือ ให้ผู้รับพัสดุมีหน้าที่ไปรับสินค้า ณ ที่ทำการไปรษณีย์นั้นแทน หากให้มาส่งต้องมีค่าใช้จ่ายแยกต่างหาก และราคาแยกตามโซนพื้นที่การส่ง โดยการส่งไปพื้นที่ภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป เช่น พัทลุง สงขลา อัตราค่าบริการจะสูงกว่าในกรุงเทพฯ เกือบ 2 เท่า

            2. พัสดุแบบลงทะเบียน เริ่มต้นที่ราคา 18 บาท สูงสุดที่ 58 บาท โดยสามารถส่งได้สูงสุดไม่เกิน 2000 กรัม (2 กิโลกรัม) หากส่งไม่เกิน 100 กรัม ค่าบริการ 18 บาท, เกิน 100 กรัม แต่ไม่เกิน 250 กรัม ค่าบริการ 22 บาท

           3. พัสดุแบบด่วนพิเศษ (EMS) เริ่มต้นที่ราคา 32 บาท สูงสุดที่ 612 บาท โดยสามารถส่งสินค้าหนักมากสุดไม่เกิน 20 กิโลกรัม หากส่งไม่เกิน 20 กรัม ค่าบริการ 32 บาท, เกิน 20 กรัม แต่ไม่เกิน 100 กรัม ราคา 37 บาท

Packages delivery,คำนวณค่าขนส่ง

อัตราค่าบริการ

อัตราค่าบริการซองจดหมายและกล่องพัสดุ เริ่มต้นที่ซองจดหมายแบบ C6 สีขาว ขนาด 114×162 มม. 3 ซอง 2 บาท จนถึงขนาดใหญ่สุด ซองขยายข้าง C4 ขนาด 229×324 มม. ราคาซองละ 5 บาท

ซองกันกระแทก C5 ขนาด 162×229 มม. ราคาซองละ 12 บาท

ซองกันกระแทก C4 ขนาด 249x 324 มม. ราคาซองละ 17 บาท

            กล่องพัสดุแบบธรรมดาสีน้ำตาล หมายเลข 1 ขนาด 30x100x30 ซม. ราคากล่องละ 35 บาท จนถึงขนาดใหญ่สุด กล่องธรรมดาหมายเลข 6 ขนาด 45x55x40 ซม. ราคากล่องละ 55 บาท

            กล่องพัสดุสำเร็จรูปแบบ ก. ขนาด 14x20x6 ซม. ราคา 9 บาท จนถึงขนาดใหญ่สุด กล่องสำเร็จรูปแบบ ฉ. ขนาด 30x45x20 ซม. ราคากล่องละ 32 บาท

            สำหรับ Kerry นั้น การคิดอัตรา คำนวณค่าขนส่ง โดยหลักจะเป็นลักษณะเหมาไม่แยกย่อยเท่าของไปรษณีย์ไทย ดังนี้

            ซองจดหมาย Envelope ขนาด 32×23 ซม. น้ำหนักรวมไม่เกิน 500 กรัม คิดอัตราในกรุงเทพฯ 30 บาท ต่างจังหวัด 50 บาท

            ซองจดหมาย Seal Bag (A) ขนาด 32×23 ซม. น้ำหนักรวมไม่เกิน 1 กิโลกรัม คิดอัตราในกรุงเทพฯ 40บาท ต่างจังหวัด 60 บาท

            กล่องพัสดุขนาดเล็กสุด (mini) ขนาด 40 ซม. น้ำหนักรวมไม่เกิน 2 กิโลกรัม คิดอัตราในกรุงเทพฯ 35บาท ต่างจังหวัด 55 บาท

            กล่องพัสดุขนาดใหญ่สุด (xxl) ขนาด 200 ซม. น้ำหนักรวมไม่เกิน 25 กิโลกรัม คิดอัตราในกรุงเทพฯ 380 บาท ต่างจังหวัด 420บาท

Home delivery,คำนวณค่าขนส่ง

จากที่กล่าวมาข้างต้น น่าจะพอเห็นภาพได้ว่า การคำนวณค่าขนส่ง โดยหลักนั้นพิจารณาจากน้ำหนักและขนาด โดยในแต่ละผู้ประกอบธุรกิจรับขนส่งอาจคิดอัตราแตกต่างไปบ้าง เช่น ไปรษณีย์ไทย คิดอัตราน้ำหนักถี่กว่าของ Kerry ส่วน Kerry จะคิดอัตราค่าขนส่งลักษณะเหมาเป็นหลัก อีกทั้งไปรษณีย์ไทยจะมีการขนส่งหลายประเภท ซึ่งราคามากน้อยแตกต่างกันไป ส่วน Kerry มีลักษณะ express ซึ่งเทียบได้กับ EMS ของไปรษณีย์ไทยเพียงอย่างเดียว ดังนั้น ในการเลือกใช้บริการ ผู้ส่งอาจต้องพิจารณาเรื่องน้ำหนัก และขนาดสินค้า หากน้ำหนักน้อย การเลือกส่งของทางไปรษณีย์ไทยน่าจะคุ้มค่ากว่า ส่วนถ้าน้ำหนักพัสดุมาก การเลือกส่งโดย Kerry น่าจะคุ้มค่ามากกว่า เป็นต้น

มาทำความรู้จักกับ Incoterms กันเถอะ

Incoterms

หลายคนโดยเฉพาะผู้ทำการซื้อขายของระหว่างประเทศอาจเคยได้ยินได้เห็นคำว่า Incoterms มาบ้าง Incoterms คือ อะไร โดยเฉพาะคำย่อต่าง ๆ มีความหมายอย่างไร เบื้องต้นอยากให้เข้าใจก่อนว่า ด้วยการทำการค้าระหว่างประเทศนั้น แต่ละประเทศย่อมต้องพิจารณาข้อกฎหมายของตนเป็นสำคัญในการทำการซื้อขาย โดยเฉพาะเรื่องการค้าระหว่างประเทศต่างกัน อาจด้วยเพราะระบบกฎหมายแตกต่างกัน

ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาข้อพิพาทดังกล่าว หอการค้านานาชาติ จึงได้จัดทำ Incoterms ขึ้น โดยกำหนดหลักเกณฑ์และประเพณีการค้าระหว่างประเทศไว้ให้เป็นรูปแบบเดียวกัน ทั้งกำหนดเรื่องหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งถือเป็นหัวใจเป็นสำคัญ กล่าวคือ เมื่อทำการซื้อขาย ปัญหาว่าความรับผิดชอบในตัวสินค้านั้นสิ้นสุดลงเมื่อใด เป็นปัญหาสำคัญยิ่งในการซื้อขายระหว่างประเทศ ดังนั้น จึงต้องเสมือนมีกฎหมายกลางคอยควบคุมเรื่องนี้

International Chamber of Commerce,Incoterms

วิวัฒนาการ Incoterms เริ่มครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1936 และได้มีการปรับปรุงมาเรื่อย ๆ ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า Incoterms 2010 ซึ่งมีทั้งหมด 11 เทอม ลดลงจาก Incoterms 2000 ที่เดิมมี 13 เทอม เพื่อความเข้าใจ Incoterms คือ อะไร ขอยกตัวอย่าง ดังนี้

กลุ่มหนึ่ง กรณีการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศที่มีวิธีการขนส่งโดยวิธีหนึ่งวิธีใด ที่ไม่มีการขนส่งสินค้าทางทะเล หรือมีการขนส่งทางทะเลเพียงบางช่วง กล่าวคือ ไม่ได้ขนสินค้าทางทะเลเป็นหลัก เช่น

            EXW (Ex Work) คือ การซื้อขายที่กำหนดหน้าที่ผู้ขายน้อยที่สุด โดยกำหนดให้ผู้ซื้อจะต้องรับผิดชอบออกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการรับสินค้า โดยความเสี่ยงภัยหรือความรับผิดชอบในตัวสินค้า ณ สถานที่ผู้ขาย กล่าวคือ ผู้ซื้อมีหน้าที่มารับสินค้าเองจากผู้ขายที่หน้าโรงงานของผู้ขาย ผู้ขายย่อมหมดความรับผิดชอบในความเสียหายของสินค้า นับตั้งแต่พ้นโรงงานผลิต

            FCA (Free Carrier) คือ ความรับผิดชอบในความเสียหายของสินค้าของผู้ขายย่อมโอนไปยังผู้ซื้อ เมื่อผู้ขายมอบสินค้าให้แก่ผู้ขนส่ง หรือบุคคลที่ผู้ซื้อกำหนด ณ สถานที่ใด ๆ ที่ผู้ขายกำหนด ทั้งนี้ผู้ขายมีหน้าที่ส่งผ่านศุลกากรขาออกด้วย

            CPT (Carriage Paid To) คือ การส่งสินค้าที่ผู้ขายมีหน้าที่ส่งสินค้าให้ผู้ขนส่ง ซึ่งผู้ขายเป็นกำหนด (ผู้ขายเป็นผู้ว่าจ้าง) ความเสี่ยงภัยของผู้ขายย่อมโอนเมื่อส่งมอบสินค้านั้นให้แก่ผู้ขนส่ง

FAS,Incoterms

            กลุ่มสอง ใช้เฉพาะสัญญาซื้อขายที่มีการขนส่งทางทะเลเป็นหลัก โดยสถานที่ส่งของและรับของคือ ท่าเรือทั้งของประเทศผู้ซื้อ และประเทศผู้ขาย เช่น

            FAS (Free Alongside Ship) คือ ความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายหรือความเสี่ยงต่าง ๆ ในสินค้า โอนไปยังผู้ซื้อ เมื่อผู้ขายได้นำสินค้ามาวางเทียบข้างเรือผู้ขนส่งที่ผู้ซื้อกำหนด

            FOB (Free On Board) คือ ความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายหรือความเสี่ยงต่าง ๆ ในสินค้า โอนไปยังผู้ซื้อ เมื่อผู้ขายได้นำสินค้าบรรทุกลงเรือ (on board) ผู้ขนส่งที่ผู้ซื้อกำหนด

จากที่กล่าวข้างต้นน่าจะพอเห็นภาพได้บ้างว่า Incoterms คือ อะไร ซึ่งโดยหลักเป็นเรื่องการกำหนดการโอนความเสี่ยงต่าง ๆ ในสินค้านั้นว่า ความเสี่ยงภัยของผู้ขายหรือความรับผิดชอบนั้นจะโอนยังผู้ซื้อเมื่อใด รวมถึงกำหนดหน้าที่ผู้ซื้อและผู้ขายในเรื่องค่าใช้จ่ายในการขนส่งในแต่ละเทอมว่า ใครเป็นผู้รับผิดชอบ เพื่อให้ภาพขอยกตัวอย่าง ดังนี้

นาย ก ประเทศไทย สั่งซื้อเครื่องปรับอากาศ จากบริษัท A ประเทศสหรัฐอเมริกา ราคา FOB

Ship at the port

หมายความว่า ความรับผิดชอบในความเสี่ยงภัยสินค้าสูญหาย เสียหาย ของบริษัท A พ้นเมื่อได้ทำการบรรทุกสินค้าลงเรือผู้ขนส่งที่ นาย ก เป็นผู้จัดหาเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น จึงไม่ต้องพิจารณาเรื่องกรรมสิทธิ์ในตัวสินค้านั้นจะโอนแล้วหรือไม่ รวมด้วยระบุราคา FOB ย่อมหมายความว่า นาย ก มีหน้าที่เป็นผู้จัดหาผู้ขนส่ง เป็นต้น

De minimiss คาถาไล่ภาษี – คืออะไร

De minimis

หากพูดถึง De minimis เชื่อว่าหลายคนคงเกิดคำถามแรกว่ามันคืออะไร อันที่จริงแล้ว De minimis เกี่ยวข้องอย่างมากกับผู้ประกอบธุรกิจการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะหากเป็นผู้ขายที่ส่งสินค้าไปต่างประเทศด้วยแล้ว หากไม่ทราบเรื่องนี้ย่อมเสียผลประโยชน์อย่างมาก ต่อคำถามว่า De minimis คือ อะไร สรุปสั้น ๆ ก็คือ การยกเว้นภาษีนำเข้าประเทศนั้น ๆ เมื่อราคาสินค้าไม่ถึงเกณฑ์กำหนดต้องเสีย

ถึงตรงนี้อาจสงสัยอีกว่าภาษีนำเข้าคืออะไร คงต้องกล่าวว่า ในการที่ประเทศหนึ่ง ส่งสินค้าไปอีกประเทศหนึ่ง พึงเข้าใจก่อนว่าการเสียภาษีจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง 1. ภาษีส่งออก เสียให้กับประเทศต้นทางผู้ผลิต และ 2. ภาษีนำเข้า เสียให้กับประเทศปลายทางผู้นำเข้าสินค้านั้น หากถามต่อไปอีกว่าทำไมต้องเสียภาษี 2 ครั้ง ทั้งนำเข้าและส่งออก ก็เพราะสินค้าบางอย่างเป็นสินค้าที่ผลิตได้ยากมีจำกัด การเสียภาษีส่งออกย่อมเสมือนเสียค่าธรรมเนียมให้รัฐต้นทางประเทศผู้ผลิตได้รับผลประโยชน์บ้าง

tax exempt

ส่วนภาษีนำเข้าเพื่อปกป้องภาคธุรกิจของประเทศนั้นจากสินค้าประเทศอื่นที่อาจผลิตได้ถูกกว่า ซึ่งหากนำเข้าโดยไม่ควบคุมย่อมกระทบภาคธุรกิจในประเทศตนอย่างแน่นอน จึงต้องมีการเก็บภาษี หรือที่มักได้ยินเสมอว่า กำแพงภาษี

เมื่อกล่าวถึงกำแพงภาษี สิ่งที่ตรงข้ามก็คือ De minimis นั่นเอง ถึงตรงนี้น่าจะพอเห็นภาพได้บ้างแล้วว่า De minimis คือ อะไร ประเด็นต่อไป ทำไมต้อง De minimis และ De minimis มีประโยชน์อย่างไร ตามที่กล่าวข้างต้น ปกติแล้วในการส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ นอกจากต้องเสียภาษีเพื่อการส่งออกประเทศต้นทางแล้ว ยังต้องเสียภาษีเพื่อการนำเข้าในประเทศนั้น ๆ ด้วย แต่ด้วย De minimis เราสามารถขอยกเว้นภาษีเพื่อการนำเข้าประเทศนั้น ๆ ได้ หากมูลค่าสินค้าของเราที่ส่งไปนั้นไม่ถึงเกณฑ์กำหนดที่ต้องเสีย

money American dollars,De minimis คือ

ตัวอย่าง นาย A ผู้ขายในประเทศไทยส่งสินค้ามูลค่า 20,000 บาท หรือประมาณ 606 ดอลลาร์ ไปยังนาย B ผู้ซื้อในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ De minimis ประเทศสหรัฐอเมริกา กำหนดไว้ที่ 800 ดอลลาร์ หรือประมาณ 27,000 บาท การส่งสินค้าครั้งนี้จึงไม่เกินกำหนด และไม่ต้องเสียภาษีเพื่อการนำเข้าในประเทศสหรัฐอเมริกา

จากที่กล่าวมา เห็นได้ว่าย่อมเป็นผลดีทั้งต่อทางเราในฐานะคนขายสินค้า และผู้รับปลายทางในฐานะคนซื้อสินค้า โดยเป็นการลดต้นทุน ทำให้สินค้านั้นมีราคาถูกลง จูงใจให้ผู้บริโภคในประเทศนั้น ๆ สั่งซื้อสินค้าจากเราในฐานะผู้ขายมากขึ้น เพราะหากประเทศปลายทางนั้นมีการเก็บภาษีเพื่อการนำเข้า ต่อให้สินค้าเราราคาถูกกว่าท้องตลาด แต่เมื่อรวมภาษีแล้วอาจแพงกว่า คงไม่มีลูกค้ารายใดสั่งซื้อสินค้าของเราอย่างแน่นอน

Big flag background,De minimis คือ

อย่างไรก็ตามในเรื่องการ De minimis แต่ละประเทศกำหนดอัตราไม่เท่ากัน ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของผู้ขายสินค้านั้นด้วย ที่ต้องศึกษารายละเอียดให้ดี โดยขอยกตัวอย่างประเทศสำคัญดังนี้

สหรัฐอเมริกา 800 ดอลลาร์ หรือประมาณ 27,000 บาท

สหราชอาณาจักร 150 ยูโร หรือประมาณ 7,500 บาท

ญี่ปุ่น 10,000 เยน หรือประมาณ 3,000 บาท

เกาหลีใต้ 150 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 5,000 บาท (ประมาณ 195,000 วอน)

จีน 50 หยวน หรือประมาณ 300 บาท

มาเลเซีย 500 ริงกิต หรือประมาณ 4,000 บาท

สิงคโปร์ 400 ดอลลาร์สิงคโปร์ หรือประมาณ 9,700 บาท

จากที่กล่าวมาน่าจะพอทราบแล้วว่า De minimis คือ อะไร อย่างไรก็ตาม ด้วยแต่ละประเทศกำหนดราคา De minimis แตกต่างกัน ดังนั้น ในการส่งสินค้าไปยังประเทศใด ผู้ขายจึงควรต้องหาข้อมูลก่อนว่า ประเทศนั้น ๆ กำหนด De minimis ยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้านั้นมีมูลค่าเท่าใด

ทำความรู้จัก Incoterms เงื่อนไขการส่งสินค้าระหว่างประเทศ ที่สำคัญควรต้องรู้

logistics, transportation,Incoterms เงื่อนไขการส่งสินค้าระหว่างประเทศ

ปัจจุบันการทำธุรกิจซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศเจริญขึ้นอย่างมาก ส่วนหนึ่งมาจากการซื้อขายมีลักษณะเป็น E-commerce กล่าวคือ การนำเทคโนโลยีมาช่วยในการอำนวยความสะดวกในการซื้อขาย อย่างไรก็ตามด้วยการซื้อขายระหว่างประเทศนั้น แต่ละประเทศย่อมมีวัฒนธรรมและกฎหมายเกี่ยวกับการค้าแตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะเรื่องสิทธิหน้าที่และความรับผิดของผู้ขายสิ้นสุดลงเมื่อใด ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาข้อพิพาทดังกล่าว หอการค้านานาชาติ (ICC) จึงได้จัดทำ Incoterms ขึ้น ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 11 เทอม ตาม Incoterms 2010 ซึ่งแก้ไขล่าสุด อย่างไรก็ตามในการซื้อขายระหว่างประเทศในความเป็นจริงแล้ว มีเทอมใน Incoterm เงื่อนไขการส่งสินค้าระหว่างประเทศ ที่ควรศึกษาอยู่จริง ๆ เพียง 4 – 5 เทอมเท่านั้น อันเป็นเทอมที่ใช้บ่อย ดังนี้

COST INSURANCE FREIGHT CONCEPT,Incoterms เงื่อนไขการส่งสินค้าระหว่างประเทศ

FOB (Free on Board) คือ การซื้อขายที่กำหนดหน้าที่ผู้ขายสินค้าพ้นความผิดในการที่สินค้านั้นสูญหาย หรือเสียหาย เมื่อสินค้าบรรทุกลงเรือ (on Board) ที่ผู้ซื้อเป็นผู้จัดหา ดังนั้น หากความเสียหายเกิดขึ้นไม่ว่าเวลาใด ก่อนมีการบรรทุกสินค้าลงเรือ ไม่ว่ากรรมสิทธิ์จะโอนไปยังผู้ซื้อแล้วหรือไม่ตามกฎหมายประเทศนั้น ๆ ผู้ขายยังคงมีหน้าที่รับผิดเสมอ กลับกันหากสินค้าบรรทุกลงเรือแล้ว เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นหลังจากนี้ ผู้ซื้อก็ไม่อาจโทษผู้ขายได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ในเรื่องพิธีการศุลกากร ผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบเฉพาะพิธีการศุลกากรเพื่อการส่งออกเท่านั้น ส่วนพิธีการเพื่อการนำเข้าเป็นหน้าที่ของผู้ซื้อ

            Incoterms เงื่อนไขการส่งสินค้าระหว่างประเทศ ประเภทเทอม FOB เหมาะสำหรับผู้ซื้อที่สามารถจัดการติดต่อว่าจ้างขนสินค้าได้เอง รวมถึงสามารถทำพิธีการศุลกากรขาเข้าได้

Delivery terms

            EXW (Ex Work) คือ การซื้อขายที่กำหนดข้อตกลงให้ผู้ขายปฏิบัติการชำระหนี้ ณ สถานที่ของผู้ขาย กล่าวคือ ความเสี่ยงภัยในความรับผิดเพื่อการสูญหาย เสียหาย ย่อมโอนไปยังผู้ซื้อ เมื่อผู้ขายมอบของแก่ผู้ซื้อหน้าโรงงานของผู้ขายหรือสถานที่อื่น ๆ ที่ผู้ขายกำหนด อาจกล่าวได้ EXW กำหนดหน้าที่และความรับผิดของผู้ขายน้อยสุดเมื่อเปรียบเทียบกับ Incoterm ในเทอมอื่น ๆ เพราะผู้ขายแทบไม่ต้องทำหน้าที่อะไร รวมถึงไม่ต้องดำเนินพิธีการทางศุลกากรใด ๆ ทั้งสิ้น

            Incoterms เงื่อนไขการส่งสินค้าระหว่างประเทศประเภทเทอม EXW เหมาะสำหรับผู้ซื้อที่มีความสามารถในการจัดหาผู้ขนส่ง และสามารถดำเนินพิธีทางศุลกากรขาออกประเทศต้นและศุลกากรขาเข้าประเทศปลายทาง ดังนั้น หากผู้ซื้อสินค้าไม่สามารถดำเนินการตามได้ข้างต้น ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะซื้อขายสินค้าในเทอมนี้ เพราะภาระมากสุด

            CFR (Cost and Freight) คือ การซื้อขายสินค้าที่กำหนดให้ผู้ขายพ้นความผิดหากสินค้านั้นสูญหาย หรือเสียหายเมื่อสินค้าบรรทุกลงเรือ (on Board) อย่างไรก็ตามผู้ขายมีหน้าที่จัดหาขนส่ง แต่ไม่มีหน้าที่ทำประกันภัยในสินค้านั้น หากผู้ขายจะทำต้องดำเนินการเอง อย่างไรก็ตามผู้ขายยังคงมีหน้าที่ดำเนินพิธีทางศุลกากรขาออกประเทศผู้ผลิตหรือผู้ขายต้นทางนั้น แต่ไม่รวมถึงพิธีทางศุลกากรขาเข้าประเทศผู้นำเข้าปลายทาง

            Incoterms เงื่อนไขการส่งสินค้าระหว่างประเทศประเภทเทอม CFR เหมาะสำหรับอำนวยความสะดวกให้ผู้ซื้อสินค้า โดยผู้ซื้อมีหน้าที่เพียงไปรับสินค้า ณ ท่าเรือที่ปลายทางกำหนด พร้อมดำเนินพิธีทางศุลกากรขาเข้า ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ขนส่ง การดำเนินการพิธีทางศุลกากรขาออก เป็นหน้าที่ของผู้ขาย

            CIF (Cost Insurance and Freight) คือ การซื้อขายสินค้าที่กำหนดให้ ผู้ขายพ้นความผิดหากสินค้านั้นสูญหาย หรือเสียหายเมื่อสินค้าบรรทุกลงเรือ (on Board) อย่างไรก็ตามผู้ขายมีหน้าที่เป็นผู้จัดหาขนส่ง รวมถึงมีหน้าที่เอาประกันเกี่ยวกับสินค้านั้น เพื่อคุ้มภัยขั้นต่ำตามที่กำหนดไว้ในข้อ C ของหน่วยรับประกันภัยทางทะเล รวมถึงมีหน้าที่ดำเนินพิธีทางศุลกากรขาออกประเทศผู้ผลิตหรือผู้ขายต้นทางนั้น แต่ไม่รวมถึงพิธีทางศุลกากรขาเข้าประเทศผู้นำเข้าปลายทาง

            Incoterms เงื่อนไขการส่งสินค้าระหว่างประเทศ ประเภทเทอม CIF เหมาะสำหรับอำนวยความสะดวกผู้ซื้อมากขึ้น โดยผู้ซื้อเพียงแต่ไปรับสินค้าและดำเนินพิธีทางศุลกากรขาเข้า ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ขนส่ง และประกันภัย เป็นหน้าที่ของผู้ขายสินค้า อย่างไรก็ตามความเสี่ยงภัยในความเสียหายสินค้าของผู้ซื้อเริ่มตั้งแต่ประเทศผู้ส่งของต้นทางแล้ว

Container terminal,Incoterms เงื่อนไขการส่งสินค้าระหว่างประเทศ

            จากที่กล่าวมาข้างต้น Incoterms เงื่อนไขการส่งสินค้าระหว่างประเทศถือเป็นเรื่องหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบธุรกิจซื้อขายระหว่างประเทศควรศึกษา เพื่อให้การซื้อขายมีความเป็นสากลเข้าใจตรงกันในเรื่องการโอนความเสี่ยงภัยเมื่อหากเกิดปัญหาขึ้น อีกทั้งยังเป็นตัวกำหนดหน้าที่อื่น ๆ เช่น พิธีทางศุลกากร หน้าที่การจัดหาผู้ขนส่ง เป็นต้น ซึ่งย่อมช่วยทำให้การซื้อขายสะดวกมากขึ้น ตลอดจนทำให้การระงับข้อพิพาทซึ่งอาจเกิดขึ้น สามารถยุติได้อย่างรวดเร็วเพราะมีหลักเกณฑ์ความเข้าใจตรงกัน

จะเกิดอะไรขึ้นกับพัสดุที่ถูกจับได้ว่าเลี่ยงภาษี!?

airport customs declare sign,พัสดุที่เลี่ยงภาษี

เป็นที่ทราบกันดีว่า ในการส่งพัสดุหรือรับพัสดุจากต่างประเทศนั้น หากมิได้เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมายใด ๆ แล้ว ผู้ส่งหรือผู้รับนั้นจะต้องเป็นผู้เสียภาษีอากรเพื่อการส่งออกหรือเพื่อการนำเข้าแล้วแต่กรณี อย่างไรก็ตาม หากปรากฏว่ามีการจงใจส่งของหรือ พัสดุที่เลี่ยงภาษี หรือหนีภาษีนั้น ย่อมถือเป็นความผิดตามกฎหมายศุลกากร โดยเบื้องต้นหากเป็นการตรวจพบก่อนส่งพัสดุกล่าวคือ กรอกใบ CN22 ผิดจากความเป็นจริง หากยังอยู่ในอำนาจแก้ไขได้ เช่น ยังอยู่ที่ทำการไปรษณีย์หรือผู้รับขนส่งอื่น ก็คงไม่เป็นอะไร แต่หากของหรือพัสดุนั้นส่งออกไปแล้วถูกตรวจพบโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร ซึ่งปกติมักทำการตรวจโดยการสุ่ม หรือตรวจเฉพาะของหรือพัสดุที่ต้องสงสัยจริง ๆ หากพบว่ามีลักษณะจงใจหลบหนีหรือหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรย่อมอาจต้องถูกดำเนินคดีได้ โดยความผิดตามกฎหมายศุลกากรนี้ สามารถแยกออกได้เป็น 5 ฐานความผิดสำคัญดังนี้

Security agent,พัสดุที่เลี่ยงภาษี

1. ความผิดฐานลักลอบหนีภาษี

ลักษณะความผิดคือ การนำของซึ่งยังมิได้เสียภาษีอากรโดยถูกต้องหรือมิได้ผ่านพิธีการศุลกากรโดยถูกต้อง นำเข้าหรือส่งออกไปราชอาณาจักร กล่าวคือ หากของนั้นต้องเสียภาษีแต่มิได้เสียภาษี หรือของนั้นไม่จำต้องเสียภาษี แต่ก็มิได้กระทำให้ถูกกระบวนการพิธีการศุลกากรตามกฎหมาย เหล่านี้ถือเป็นความผิดฐานลักลอบหนีภาษีทั้งสิ้น ระวางโทษคือ ปรับ 4 เท่าของราคาภาษีนั้น หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ พร้อมริบของนั้น

2. ความผิดฐานหลีกเลี่ยงค่าภาษี

ลักษณะความผิดคือ การส่งของหรือพัสดุโดยผ่านพิธีการศุลกากรโดยถูกต้อง แต่กระทำการใด ๆ เพื่อให้ชำระค่าภาษีน้อยลง เช่น สำแดงปริมาณน้ำหนักน้อยกว่าความเป็นจริง หรือที่เรียกว่า การสำแดงเท็จ ทั้งนี้การส่งของหรือ พัสดุที่เลี่ยงภาษี นี้ กำหนดความผิดไว้ทำนองเดียวกับการหนีภาษีคือ ระวางโทษ ปรับ 4 เท่าของราคาภาษีนั้น หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ พร้อมริบของนั้น แต่ในกรณีเป็นการหลีกเลี่ยงโดยการซุกซ่อนกับสิ่งอื่นที่ต้องเสียภาษี นอกจากปรับ 4 เท่าตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว ให้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 1 เท่าด้วย หรือประมาณอีก 10 %

3. ความผิดฐานสำแดงเท็จ

ลักษณะความผิดคือ การนำเข้าหรือส่งออกไม่ตรงกับเอกสารหลักฐานที่แสดง ซึ่งมีหลายกรณี เช่น ปลอมหรือใช้เอกสารปลอม หรือแจ้งเท็จแก่เจ้าหน้าที่ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน

4. ความผิดฐานนำของต้องกำกัดหรือของต้องห้ามเข้ามาหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร

ของต้องกำกัด คือ ของต้องจำกัดการนำเข้าหรือส่งออกนั่นเอง กล่าวคือ เป็นของที่สามารถนำเข้าหรือส่งออกได้ แต่ต้องมีการขออนุญาตก่อน เช่น การนำเข้าสารเคมีอันตรายเข้ามาภายในประเทศ ต้องขออนุญาตหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น กระทรวงอุตสาหกรรมก่อนเสมอ ส่วนของต้องห้ามคือ สิ่งผิดกฎหมายที่ไม่อาจนำเข้าหรือส่งออกราชอาณาจักรเพื่อการค้าได้เด็ดขาด เช่น ยาเสพติด

5. ความผิดฐานฝ่าฝืนพิธีศุลกากร

ลักษณะความผิดคือ การมิได้ปฏิบัติตามพิธีการศุลกากรให้ถูกต้องตามกฎหมายศุลกากร หรือกฎหมายอื่น เช่น มิได้ยื่นคำขอตามแบบพิธีในการขนสินค้าขาเข้า ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกิน 1,000 บาท เป็นต้น

Export cleared approval stamp,พัสดุที่เลี่ยงภาษี

จากที่กล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า หากเราส่งของหรือ พัสดุที่เลี่ยงภาษี หรือหนีภาษี โทษทางกฎหมายศุลกากรนั้นค่อนข้างมีบทลงโทษรุนแรง โดยมีทั้งโทษปรับ และโทษจำคุก โดยหากถูกเจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจพบเมื่อกระทำผิดแล้ว ก็ยากที่จะแก้ตัวให้พ้นผิด ต้องถูกส่งดำเนินคดี ส่งฟ้องต่อศาลต่อไป โดยแม้หากผู้กระทำผิด ยินดีจ่ายค่าปรับสูงสุด อธิบดีศุลกากรอาจใช้ดุลพินิจสั่งไม่ฟ้องก็ได้ แต่กระนั้นก็มิได้ลบล้างความผิดแต่อย่างใด ดังนั้น ก่อนที่จะส่งหรือนำเข้าของ หรือพัสดุต่าง ๆ ควรตรวจสอบราคาสิ่งของและเงื่อนไขการส่งให้ชัดเจน