ถ้าต้องส่งสินค้าตัวอย่างกลับประเทศ…แต่ไม่อยากเสียภาษีนำเข้า?

rubber stamp,ไม่อยากเสียภาษีนำเข้า

เมื่อกล่าวถึงเรื่องภาษี เชื่อว่าหลายคนโดยเฉพาะผู้ประกอบธุรกิจค้าขาย ถือเป็นเรื่องหนึ่งที่อาจสร้างความปวดหัวไม่มากก็น้อย ส่วนหนึ่งอาจเพราะความยุ่งยากในระบบกฎหมายภาษี ด้วยเพราะภาษีนั้นมีหลายประเภท เช่น ภาษีบุคคลธรรมดา ภาษีนิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ยิ่งโดยเฉพาะผู้ประกอบธุรกิจส่งออกนำเข้าสินค้า ก็จะมีภาษีนำเข้า ภาษีส่งออก ภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า มีภาษีหลายอย่างมากที่เกี่ยวข้องในชีวิตของเรา ยิ่งมีธุรกิจมาก ยิ่งมีโอกาสเสียภาษีมากเท่านั้น สำหรับในวงการกฎหมายกล่าวว่า สิ่งที่ไม่อาจหลีกหนีในชีวิตมี 2 อย่างคือ ความตายและภาษี ซึ่งก็เป็นเรื่องจริง เพราะไม่ว่าอย่างไรแล้วชีวิตเราทุกคนจะต้องเสียภาษีอย่างน้อยในหนึ่งอย่างตามที่กล่าวข้างต้น เช่น เมื่อไปซื้อสินค้า สิ่งที่อยู่ในมูลค่าสินค้าทุกชิ้นคือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (vat) เป็นต้น

อย่างไรก็ตามมิใช่ว่าเราจำเป็นจะต้องเสียภาษีครบทุกประเภทโดยไม่มีข้อยกเว้นแต่อย่างใด อาจกล่าวได้ว่าในกฎทุกกฎย่อมมีข้อยกเว้นเสมอ ภาษีก็เช่นเดียวกัน มิใช่ว่าเมื่อมีรายได้เกิดขึ้นจำเป็นต้องเสียภาษีเสมอไป หากมีการวางแผนภาษีที่ดีย่อมช่วยลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้อย่างมาก ซึ่งเรื่องนี้ในทางวิชาการภาษีถือเป็นการกระทำถูกกฎหมาย เพราะไม่ใช่การหลบเลี่ยงหรือหนีภาษี กรณีเหล่านี้ถือเป็นความผิด เมื่อถูกจับได้ย่อมมีโทษทั้งจำคุกและปรับ ดังนั้น คำถามที่ว่าหาก ไม่อยากเสียภาษีนำเข้า สามารถทำได้หรือไม่ คำตอบคือ ทำได้

Taxes Money Financial,ไม่อยากเสียภาษีนำเข้า

ตามที่กล่าวไว้แล้วเราสามารถวางแผนภาษีได้โดยไม่ผิดกฎมาย หากเรา ไม่อยากเสียภาษีนำเข้า ควรวางแผนภาษีให้เข้าเงื่อนไขตามกฎหมายกำหนด ซึ่งมีหลายอย่างดังนี้

            1. หากเป็นของที่ส่งออกไปและส่งกลับเข้ามาภายในระยะเวลา 1 ปี โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณะอย่างใด โดยในขณะส่งออกมีการทำใบรับสุทธิสำหรับนำกลับเข้ามา (ระยะเวลาข้างต้นอาจขยายได้ตามที่อธิบดีศุลกากรกำหนด)

            2. เป็นของที่เคยนำเข้ามา และส่งออกกลับไปเพื่อซ่อมแซม โดยกลับเข้ามาภายในระยะเวลา 1 ปี โดยในขณะส่งออกมีการทำใบรับสุทธิสำหรับนำกลับเข้ามา (ระยะเวลาข้างต้นอาจขยายได้ตามที่อธิบดีศุลกากรกำหนด)

            3. ของที่นำติดตัวเข้ามาหรือนำเข้ามาและส่งออกกลับไปไม่เกิน 6 เดือนนับแต่วันเข้ามา ทั้งนี้ต้องเป็นสิ่งที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย เช่น ของเพื่อใช้การแสดงละคร อาวุธปืน เครื่องกระสุน ตัวอย่างสินค้า เป็นต้น

            4. รางวัล เหรียญตรา ที่ต่างประเทศมอบให้แก่บุคคลที่อยู่ในราชอาณาจักร เมื่อนำเข้ามาย่อมได้รับการยกเว้น ทั้งนี้ตามความเหมาะสม

            5. ของส่วนตัวที่นำติดตัวเข้ามาตามสมควรและพอแก่วิชาชีพ เช่น สุรา 1 ลิตร บุหรี่ 200 มวน

            6. ของตกแต่งบ้านเรือนที่ติดตัวนำเข้ามา ในกรณีย้ายภูมิลำเนากลับ

            7. ตัวอย่างสินค้าที่ใช้เพียงแค่เป็นตัวอย่างเท่านั้นไม่มีราคาซื้อขายได้

            8. ยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในราชการ

saving money concept,ไม่อยากเสียภาษีนำเข้า

จากที่กล่าวมานี้เป็นเพียงตัวอย่างว่า หากผู้ประกอบการ ไม่อยากเสียภาษีนำเข้า การวางแผนภาษีเพื่อยกเว้นภาษีต่าง ๆ ย่อมช่วยลดค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นได้อย่างมาก ดังนั้น เมื่อผู้ประกอบการนำเข้าสินค้าควรพิจารณาข้อยกเว้นต่าง ๆ เช่น ตามตัวอย่างที่กล่าวมาในขั้นต้นว่า พอเข้าช่องทางหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อความน่าเชื่อถือ ควรระบุให้ชัดเจนตั้งแต่ต้นทางประเทศผู้ส่งออก เช่น นำสินค้าเพื่อเข้ามาเป็นตัวอย่าง ควรให้ประเทศผู้ส่งออกต้นทางระบุให้ชัดเจน เพื่อความสะดวกในการทำเรื่องขอยกเว้นภาษีนำเข้าต่อไป

อยากส่งพัสดุไปต่างประเทศจัง ต้องทำอย่างไรบ้าง

Logistics and transportation,วิธีส่งพัสดุไปต่างประเทศ

ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้าทำให้การติดต่อสื่อสารเพื่อซื้อขายสินค้ามีความสะดวกมากขึ้น โดยเฉพาะการทำธุรกิจขายสินค้าในสื่อโซเชียลต่าง ๆ ซึ่งจัดเป็นการทำธุรกิจแบบ E-commerce อย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญในการซื้อขายสินค้านั่นคือ การได้รับสินค้า ซึ่งหากแค่จัดส่งให้ลูกค้าภายในประเทศก็คงไม่มีอะไรยุ่งยากมากนัก แต่กรณีลูกค้าผู้ซื้ออยู่ต่างประเทศ เชื่อได้ว่าการส่งสินค้าคงเป็นคำถามสำคัญของผู้ขายสินค้า ดังนั้น เพื่อความเข้าใจในขั้นตอนดังกล่าวจึงขอนำเสนอ วิธีส่งพัสดุไปต่างประเทศ เบื้องต้น ดังนี้

customs declaration,วิธีส่งพัสดุไปต่างประเทศ

สำหรับการส่งสินค้าทางไปรษณีย์ กรณีเป็นผู้ค้าขายทั่วไป เบื้องต้นคงต้องเลือกประเภทรูปแบบการขนส่งก่อน ซึ่งมีอยู่ 3 รูปแบบหลัก คือ

1. การขนส่งทางอากาศ (Airmail) ข้อดี ส่งถึงเร็วสุด ข้อเสีย ราคาแพงสุด

2. การขนส่งแบบผสม หรือแบบพัสดุย่อย SAL (Surface Air Lifted) ข้อดี ส่งเร็ว ราคาไม่แพงมาก ข้อเสีย อาจเร็วไม่พอในสินค้าบางชนิด เช่น ของสดเสียง่าย หรือต้องการสินค้าด่วน

3. การขนส่งแบบภาคพื้นดิน (Surface mail) ข้อดี ราคาถูกสุด ข้อเสีย ส่งถึงช้าสุด

จากนั้นเมื่อเลือกวิธีการขนส่งแล้ว สิ่งต่อไปที่สำคัญที่สุดคือ เรื่องเอกสารการจัดส่ง โดยในกรณีส่งพัสดุด้วยระบบไปรษณีย์ มีเพียงการกรอกข้อมูลสำคัญลงใบ CN22 (Customs Declaration) คือ ใบระบุสินค้า เหตุผลการจัดส่ง รวมทั้งราคา ชื่อผู้ส่ง และผู้รับสินค้า อย่างไรก็ตามการส่งของไปต่างประเทศจะต้องยินยอมให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรอาจสุ่มตรวจสิ่งของภายในได้

documents graph,วิธีส่งพัสดุไปต่างประเทศ

กรณีส่งของต่างประเทศโดยผู้ประกอบธุรกิจเพื่อการส่งออก

1. ในกรณีเป็นผู้ประกอบธุรกิจ การจดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลย่อมเป็นเรื่องสำคัญในความน่าเชื่อถือสถานะบุคคล

2. จดทะเบียนภาษีเป็นผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากการขายสินค้าหรือบริการ ย่อมต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งสิ้น

3. จดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกสินค้านั้น ๆ ในกรณีกฎหมายกำหนด เช่น การส่งผลไม้ไปต่างประเทศ ต้องจดทะเบียนกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นต้น

4. จัดทำเอกสารด้านงานศุลกากร ซึ่งประกอบด้วยใบสำคัญดังต่อไปนี้

4.1 ใบขนส่งสินค้าขาออก คือ ใบระบุข้อมูลสินค้าทั่วไป เช่น ชื่อผู้ส่ง ผู้รับ สินค้า วิธีการขนส่งสินค้า ราคาสินค้า รวมถึงเอกสารแนบ ใบกำกับสินค้าขนย้าย คือ ใบระบุต้นทางการขนย้าย เพื่อระบุที่มาการขนย้ายที่ผ่านมา

4.2 ใบราคาสินค้า (Invoice) คือ ใบแจ้งหนี้หรือใบกำกับสินค้า ทั้งนี้ราคาที่ระบุในเอกสารต่าง ๆ ต้องตรงตามเอกสาร invoice

4.3 ใบกำกับการบรรจุหีบห่อสินค้า (Packing list) คือ เอกสารที่ผู้ขายออกให้แก่ผู้ซื้อ แจ้งรายละเอียดทั่วไปเกี่ยวกับสินค้า เช่น ปริมาณน้ำหนัก วิธีการบรรจุ เป็นต้น

4.4 คำร้องขอให้ตรวจสินค้าและบรรจุตู้สินค้า คือ ใบร้องขอเพื่อให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรทำการตรวจสินค้านั้นว่าชอบด้วยกฎหมายสามารถส่งออกได้หรือไม่ ก่อนที่จะบรรจุสินค้านั้นเข้าตู้สินค้าเพื่อส่งออกต่อไป

จากที่กล่าวมาเป็นเพียง วิธีส่งพัสดุไปต่างประเทศ เบื้องต้น ในเรื่องเอกสารที่เกี่ยวข้องทางด้านศุลกากรเพื่อการส่งออกในสินค้าทั่วไป กล่าวคือ หากเป็นสินค้าเฉพาะที่ต้องมีการขออนุญาต วิธีส่งพัสดุไปต่างประเทศ ในกรณีผู้ประกอบเป็นธุรกิจก็ต้องมีความซับซ้อนมากขึ้น เช่น สิ่งของที่ต้องควบคุม ต้องขออนุญาตพิเศษจากหน่วยงานที่ควบคุมนั้น ๆ เพื่อนำมาประกอบพิธีทางศุลกากรขาออก เพื่อเสียอากรขาออก จากนั้นจึงไปดำเนินการเรื่องการขนส่ง ซึ่งต้องนำเอกสารการอนุญาตที่ออกโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรไปให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อไป จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนการขนส่ง ซึ่งจะมีเอกสารเฉพาะอีก เช่น Bill of Lading เอกสารระบุการบรรทุกของลงเรือ เป็นเอกสารยืนยันว่าผู้ขนส่งได้รับของแล้ว เป็นต้น

E-Commerce คืออะไร ใกล้ตัวเราขนาดไหนกัน

e-commerce,E-commerce คือ

หากพูดถึงคำว่า E-commerce (Electronic commerce) หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินมาบ้าง อย่างไรก็ตามบางคนอาจยังไม่ทราบว่ามันคืออะไร อันที่จริงแล้ว E-commerce คือ การทำธุรกิจทั่วไปบนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่จำกัดประเภท ไม่ว่าจะเป็นสื่อวิทยุ โทรทัศน์ หรืออินเทอร์เน็ต ซึ่งเราทุกคนคุ้นเคยกันดี ธุรกิจ E-commerce เกิดขึ้นมานานแล้วในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2513 ดังนั้น จึงไม่ใช่สิ่งใหม่แต่อย่างใด ต่างจากคำว่า Online market นั่นหมายถึง เฉพาะการทำธุรกิจบนสื่ออินเทอร์เน็ตเท่านั้น หากจะกล่าวไปแล้ว Online market ย่อมถือเป็นส่วนหนึ่งใน E-commerce

E-commerce Internet Global Marketing,E-commerce คือ

ทิศทางความเจริญเติบโตของ E-commerce

E-commerce คือ การทำธุรกิจประเภทหนึ่งซึ่งมีความเจริญเติบโตและได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในความเป็นจริงแล้วเราเกี่ยวข้องในธุรกิจ E-commerce มานานมาก เช่น การสั่งซื้อพิซซ่าทางโทรศัพท์ ยิ่งโดยเฉพาะปัจจุบันสามารถสั่งผ่านแอปพลิเคชั่นในมือถือ สามารถเลือกสินค้าคือ พิซซ่าได้ตามต้องการแบบเห็นภาพชัดเจน สะดวกมากขึ้น เหล่านี้คือ E-commerce และคือวิวัฒนาการนั่นเอง

ซึ่งตามที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า จากการสั่งซื้อพิซซ่าธรรมดาที่ต้องไปซื้อที่ร้าน ต่อมาวิวัฒนาการสามารถสั่งผ่านโทรศัพท์ แต่จุดด้อยคือ ไม่เห็นภาพพิซซ่าที่สั่ง ต้องอาศัยจากการบรรยาย ต่อมา สั่งผ่านทางแอปพลิเคชั่น สามารถเห็นภาพ รวมถึงลักษณะวัตถุดิบต่าง ๆ และเข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของธุรกิจประเภทนี้ กล่าวคือ การนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาปรับใช้ในการทำธุรกิจ ทำให้เข้าถึงผู้บริโภคง่ายมากขึ้นและหลากหลาย

จะเห็นได้ว่า ธุรกิจ E-commerce มีการปรับตามเทคโนโลยีตลอดเวลา และนับวันจำนวนผู้ใช้ยิ่งมากขึ้น หลายธุรกิจเปลี่ยนจากการขายหน้าร้านมาขายทางออนไลน์และสื่อโซเชียลเป็นจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น แบรนด์เสื้อผ้ากีฬา warrix ของไทยจากเดิมขายของหน้าร้านมีรายได้ประมาณ 7 หลักต่อเดือน แต่เมื่อขายผ่านออนไลน์เพิ่มขึ้นเป็น 8 หลักต่อเดือน ธุรกิจ E-commerce สามารถสร้างโอกาสแก่ผู้ประกอบธุรกิจ เพราะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้หลากหลายและทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ด้วยเทคโนโลยีที่เติบโตอย่างรวดเร็ว การประกอบธุรกิจ E-commerce ย่อมต้องมีการปรับเปลี่ยนให้รวดเร็วเช่นเดียวกัน ตามข้างต้นการสั่งซื้อพิซซ่าทางโทรศัพท์ย่อมมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับการสั่งผ่านทางแอปพลิเคชั่น ดังนั้น หากผู้ประกอบธุรกิจไม่ปรับตัวให้ทันต่อเทคโนโลยีตลอดเวลา ย่อมยากที่จะดำเนินธุรกิจ E-commerce

Smart phone online shopping,E-commerce คือ

แนวธุรกิจ E-commerce ในยุคปัจจุบัน 2019

สำหรับเทรนด์สินค้าที่ขายดีในปี 2019 ในรูปแบบการขาย E-commerce คือ อันดับ 1 สินค้าพวกแฟชั่น เช่น เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า โดยขายได้ทั้งเพศชายและหญิง อันดับ 2 สินค้าในส่วนของผู้หญิง พวกความสวยความงาม เช่น เครื่องสำอาง ส่วนของผู้ชาย ได้แก่ สินค้าพวกไอทีต่าง ๆ อันดับ 3 สินค้ามือสอง โดยทั้งหญิงและชายมีความนิยมเท่ากัน

โดยส่วนใหญ่ทั้ง 3 อันดับ เป็นร้านค้าขนาดเล็กถึงขนาดกลาง (SME) และขายผ่านทางสื่อโซเชียล เช่น Facebook, Twitter และ IG รวมถึงการลงทะเบียนเป็นผู้ขายในแพลตฟอร์ม เช่น Lazada และ Shopee

จากที่กล่าวมา E-commerce คือการทำธุรกิจรูปแบบหนึ่ง โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้เข้าถึงตลาดผู้บริโภคหลากหลายมากขึ้น สะดวกในการเลือกซื้อสินค้าและชำระเงิน ซึ่งแนวโน้มตั้งแต่อดีตเป็นต้นมาเห็นได้ชัดเจนว่ามีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องทุกปี และยังคงเป็นอยู่ต่อไปอย่างแน่นอน

How to ทำให้ค่าส่งสินค้าไปต่างประเทศมีราคาถู้กกถูกก!

Global business,ส่งของไปต่างประเทศแบบประหยัด

ปัจจุบันการขายของออนไลน์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะสะดวก แถมประหยัด ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน ทำให้ทุกคนสามารถเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ได้ และสามารถขายของได้ทั่วโลก เพียงแค่มีของหรือสินค้าที่น่าสนใจ อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการขายของออนไลน์ ไม่ยิ่งหย่อนกว่าตัวสินค้าคือ เรื่องการจัดส่งสินค้าโดยเฉพาะกรณีส่งของไปต่างประเทศ  หากสามารถ ส่งของไปต่างประเทศแบบประหยัด ได้ ก็ย่อมช่วยลดต้นทุนส่วนนี้ได้ มีกำไรมากขึ้น ฉะนั้น จึงขอนำเสนอเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการ ส่งของไปต่างประเทศแบบประหยัด ดังนี้

Packages are transported,ส่งของไปต่างประเทศแบบประหยัด

เทคนิคการแพคและการกระจายสินค้าให้เล็กลง

เป็นที่ทราบกันดีว่า ยิ่งสินค้านั้นมีน้ำหนักและขนาดใหญ่ อัตราค่าขนส่งก็สูงมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น หากสามารถทำให้สินค้ามีขนาดเล็กลงก็ย่อมทำให้ผู้ขาย ส่งของไปต่างประเทศแบบประหยัด มากขึ้น ดังนี้

1. กล่องสินค้า เป็นที่ทราบกันดีว่ายิ่งกล่องสินค้ามีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งมีราคาแพง ดังนั้น ควรเลือกขนาดที่พอดีกับสินค้า หากสินค้าชิ้นใดแตกหักง่าย อาจใส่เม็ดโฟมหรือพลาสติกกันกระแทก พร้อมเขียนกำกับให้ชัดเจนว่าแตกง่าย แต่พึงระลึกไว้เสมอว่า ยิ่งใส่มากยิ่งค่าใช้จ่ายมาก ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการห่อนั้น พลาสติกกันกระแทกไม่จำเป็นต้องหนามาก เว้นแต่ของแตกหักง่ายจริง ๆ จุดสำคัญคือ ไม่ควรให้มีช่องว่าง ทำให้ของในกล่องเคลื่อนไปมาได้ แค่นี้ก็ลดแรงกระแทกได้มากแล้ว

2. กระจายสินค้า หากของที่จะส่งมีจำนวนมาก สามารถแยกกันได้ โดยเฉพาะกล่องไม่เกิน 2 กิโลกรัม สามารถส่งเป็นแบบพัสดุย่อยทางอากาศได้ ซึ่งราคาค่าส่งย่อมถูกกว่าการส่งแบบชิ้นใหญ่เพียงชิ้นเดียว แต่ทั้งนี้ต้องบรรจุอยู่ในกล่องไม่เกินขนาด 30 x 45 x 20 ซม. หรือกว้างยาวสูง รวมกันไม่เกิน 90 ซม. ห้ามใช้กาวหรือเทปเด็ดขาด แต่ให้ผูกเชือกและใช้ลวดเย็บแทน มิฉะนั้นจะกลายเป็นจดหมายทางอากาศ ซึ่งเสียค่านำส่งแพงกว่ากันมาก

3. ในกรณีที่เป็นสิ่งยืดหยุ่นง่าย เช่น เสื้อผ้า กางเกง อาจเลือกส่งโดยวิธีพับใส่ถุงไปรษณีย์ แทนการแพ็คใส่กล่อง ซึ่งประหยัดค่ากล่องไปได้มาก ส่วนพวกสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือ หรือสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ สามารถบรรจุใส่ซองไปรษณีย์ปกติเพียงแต่ให้มีพลาสติกกันกระแทกก็เพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องแพ็คใส่กล่องไปรษณีย์แต่อย่างใด

Post envelope closeup,ส่งของไปต่างประเทศแบบประหยัด

การจัดการภาษีปลายทาง หรือภาษีเพื่อการนำเข้าสินค้า

นอกจากนี้ในเรื่องการส่งของ ผู้ขายควรศึกษาภาษีนำเข้าประเภทสินค้าของประเทศนั้น ๆ ด้วย เพราะสินค้าแต่ละประเภทย่อมเสียภาษีนำเข้าแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามหากเป็นการส่งของมูลค่าไม่มาก และผู้ขายระบุเป็นของขวัญ ของชำร่วย (Gift) หรือสินค้าตัวอย่าง (Sample) บนใบ CN22 (Customs Declaration) หรือ ใบ ป.62 ระบุว่าเป็น Gift หรือ Sample แล้วแต่กรณี หากสินค้าชิ้นนั้นมีมูลค่าไม่ถึงเกณฑ์ที่ประเทศนั้นกำหนดจะต้องเสีย เช่น สหรัฐอเมริกา หากสินค้านั้นไม่เกิน 800 เหรียญ (ราว 27,000 บาท) ญี่ปุ่น 10,000 เยน (ราว 3,000 บาท) ผู้รับของก็ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีสินค้าเพื่อการนำเข้าของประเทศนั้น เป็นต้น อย่างไรก็ตามในการระบุราคาสินค้า ผู้ขายควรระบุราคาให้ใกล้เคียงความเป็นจริงไม่แตกต่างจนเกินเหตุ  

จากที่กล่าวมา ปัจจุบันธุรกิจการขายสินค้าออนไลน์มีการขยายตัวมากขึ้น ผู้ซื้อและผู้ขายไม่จำเป็นต้องอยู่ในประเทศเดียวกัน อย่างไรก็ตามการขนส่งระหว่างประเทศย่อมทำให้ต้นทุนสินค้านั้นสูงขึ้น หากผู้ขายสามารถ ส่งของไปต่างประเทศแบบประหยัด ได้ ย่อมช่วยลดภาระต้นทุนในส่วนนี้ มีกำไรมากขึ้นได้ ดังนั้น การศึกษาข้อมูลการขนส่ง เช่น ประเภทที่เหมาะสมในการขนส่งสินค้านั้น ๆ ย่อมถือเป็นสิ่งสำคัญไม่ควรมองข้าม