ถ้าต้องส่งสินค้าตัวอย่างกลับประเทศ…แต่ไม่อยากเสียภาษีนำเข้า?

rubber stamp,ไม่อยากเสียภาษีนำเข้า

เมื่อกล่าวถึงเรื่องภาษี เชื่อว่าหลายคนโดยเฉพาะผู้ประกอบธุรกิจค้าขาย ถือเป็นเรื่องหนึ่งที่อาจสร้างความปวดหัวไม่มากก็น้อย ส่วนหนึ่งอาจเพราะความยุ่งยากในระบบกฎหมายภาษี ด้วยเพราะภาษีนั้นมีหลายประเภท เช่น ภาษีบุคคลธรรมดา ภาษีนิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ยิ่งโดยเฉพาะผู้ประกอบธุรกิจส่งออกนำเข้าสินค้า ก็จะมีภาษีนำเข้า ภาษีส่งออก ภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า มีภาษีหลายอย่างมากที่เกี่ยวข้องในชีวิตของเรา ยิ่งมีธุรกิจมาก ยิ่งมีโอกาสเสียภาษีมากเท่านั้น สำหรับในวงการกฎหมายกล่าวว่า สิ่งที่ไม่อาจหลีกหนีในชีวิตมี 2 อย่างคือ ความตายและภาษี ซึ่งก็เป็นเรื่องจริง เพราะไม่ว่าอย่างไรแล้วชีวิตเราทุกคนจะต้องเสียภาษีอย่างน้อยในหนึ่งอย่างตามที่กล่าวข้างต้น เช่น เมื่อไปซื้อสินค้า สิ่งที่อยู่ในมูลค่าสินค้าทุกชิ้นคือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (vat) เป็นต้น

อย่างไรก็ตามมิใช่ว่าเราจำเป็นจะต้องเสียภาษีครบทุกประเภทโดยไม่มีข้อยกเว้นแต่อย่างใด อาจกล่าวได้ว่าในกฎทุกกฎย่อมมีข้อยกเว้นเสมอ ภาษีก็เช่นเดียวกัน มิใช่ว่าเมื่อมีรายได้เกิดขึ้นจำเป็นต้องเสียภาษีเสมอไป หากมีการวางแผนภาษีที่ดีย่อมช่วยลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้อย่างมาก ซึ่งเรื่องนี้ในทางวิชาการภาษีถือเป็นการกระทำถูกกฎหมาย เพราะไม่ใช่การหลบเลี่ยงหรือหนีภาษี กรณีเหล่านี้ถือเป็นความผิด เมื่อถูกจับได้ย่อมมีโทษทั้งจำคุกและปรับ ดังนั้น คำถามที่ว่าหาก ไม่อยากเสียภาษีนำเข้า สามารถทำได้หรือไม่ คำตอบคือ ทำได้

Taxes Money Financial,ไม่อยากเสียภาษีนำเข้า

ตามที่กล่าวไว้แล้วเราสามารถวางแผนภาษีได้โดยไม่ผิดกฎมาย หากเรา ไม่อยากเสียภาษีนำเข้า ควรวางแผนภาษีให้เข้าเงื่อนไขตามกฎหมายกำหนด ซึ่งมีหลายอย่างดังนี้

            1. หากเป็นของที่ส่งออกไปและส่งกลับเข้ามาภายในระยะเวลา 1 ปี โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณะอย่างใด โดยในขณะส่งออกมีการทำใบรับสุทธิสำหรับนำกลับเข้ามา (ระยะเวลาข้างต้นอาจขยายได้ตามที่อธิบดีศุลกากรกำหนด)

            2. เป็นของที่เคยนำเข้ามา และส่งออกกลับไปเพื่อซ่อมแซม โดยกลับเข้ามาภายในระยะเวลา 1 ปี โดยในขณะส่งออกมีการทำใบรับสุทธิสำหรับนำกลับเข้ามา (ระยะเวลาข้างต้นอาจขยายได้ตามที่อธิบดีศุลกากรกำหนด)

            3. ของที่นำติดตัวเข้ามาหรือนำเข้ามาและส่งออกกลับไปไม่เกิน 6 เดือนนับแต่วันเข้ามา ทั้งนี้ต้องเป็นสิ่งที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย เช่น ของเพื่อใช้การแสดงละคร อาวุธปืน เครื่องกระสุน ตัวอย่างสินค้า เป็นต้น

            4. รางวัล เหรียญตรา ที่ต่างประเทศมอบให้แก่บุคคลที่อยู่ในราชอาณาจักร เมื่อนำเข้ามาย่อมได้รับการยกเว้น ทั้งนี้ตามความเหมาะสม

            5. ของส่วนตัวที่นำติดตัวเข้ามาตามสมควรและพอแก่วิชาชีพ เช่น สุรา 1 ลิตร บุหรี่ 200 มวน

            6. ของตกแต่งบ้านเรือนที่ติดตัวนำเข้ามา ในกรณีย้ายภูมิลำเนากลับ

            7. ตัวอย่างสินค้าที่ใช้เพียงแค่เป็นตัวอย่างเท่านั้นไม่มีราคาซื้อขายได้

            8. ยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในราชการ

saving money concept,ไม่อยากเสียภาษีนำเข้า

จากที่กล่าวมานี้เป็นเพียงตัวอย่างว่า หากผู้ประกอบการ ไม่อยากเสียภาษีนำเข้า การวางแผนภาษีเพื่อยกเว้นภาษีต่าง ๆ ย่อมช่วยลดค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นได้อย่างมาก ดังนั้น เมื่อผู้ประกอบการนำเข้าสินค้าควรพิจารณาข้อยกเว้นต่าง ๆ เช่น ตามตัวอย่างที่กล่าวมาในขั้นต้นว่า พอเข้าช่องทางหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อความน่าเชื่อถือ ควรระบุให้ชัดเจนตั้งแต่ต้นทางประเทศผู้ส่งออก เช่น นำสินค้าเพื่อเข้ามาเป็นตัวอย่าง ควรให้ประเทศผู้ส่งออกต้นทางระบุให้ชัดเจน เพื่อความสะดวกในการทำเรื่องขอยกเว้นภาษีนำเข้าต่อไป

Leave your comment

Please enter your name.
Please enter comment.

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

กระทู้เด็ด !