De minimiss คาถาไล่ภาษี – คืออะไร

De minimis

หากพูดถึง De minimis เชื่อว่าหลายคนคงเกิดคำถามแรกว่ามันคืออะไร อันที่จริงแล้ว De minimis เกี่ยวข้องอย่างมากกับผู้ประกอบธุรกิจการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะหากเป็นผู้ขายที่ส่งสินค้าไปต่างประเทศด้วยแล้ว หากไม่ทราบเรื่องนี้ย่อมเสียผลประโยชน์อย่างมาก ต่อคำถามว่า De minimis คือ อะไร สรุปสั้น ๆ ก็คือ การยกเว้นภาษีนำเข้าประเทศนั้น ๆ เมื่อราคาสินค้าไม่ถึงเกณฑ์กำหนดต้องเสีย

ถึงตรงนี้อาจสงสัยอีกว่าภาษีนำเข้าคืออะไร คงต้องกล่าวว่า ในการที่ประเทศหนึ่ง ส่งสินค้าไปอีกประเทศหนึ่ง พึงเข้าใจก่อนว่าการเสียภาษีจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง 1. ภาษีส่งออก เสียให้กับประเทศต้นทางผู้ผลิต และ 2. ภาษีนำเข้า เสียให้กับประเทศปลายทางผู้นำเข้าสินค้านั้น หากถามต่อไปอีกว่าทำไมต้องเสียภาษี 2 ครั้ง ทั้งนำเข้าและส่งออก ก็เพราะสินค้าบางอย่างเป็นสินค้าที่ผลิตได้ยากมีจำกัด การเสียภาษีส่งออกย่อมเสมือนเสียค่าธรรมเนียมให้รัฐต้นทางประเทศผู้ผลิตได้รับผลประโยชน์บ้าง

tax exempt

ส่วนภาษีนำเข้าเพื่อปกป้องภาคธุรกิจของประเทศนั้นจากสินค้าประเทศอื่นที่อาจผลิตได้ถูกกว่า ซึ่งหากนำเข้าโดยไม่ควบคุมย่อมกระทบภาคธุรกิจในประเทศตนอย่างแน่นอน จึงต้องมีการเก็บภาษี หรือที่มักได้ยินเสมอว่า กำแพงภาษี

เมื่อกล่าวถึงกำแพงภาษี สิ่งที่ตรงข้ามก็คือ De minimis นั่นเอง ถึงตรงนี้น่าจะพอเห็นภาพได้บ้างแล้วว่า De minimis คือ อะไร ประเด็นต่อไป ทำไมต้อง De minimis และ De minimis มีประโยชน์อย่างไร ตามที่กล่าวข้างต้น ปกติแล้วในการส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ นอกจากต้องเสียภาษีเพื่อการส่งออกประเทศต้นทางแล้ว ยังต้องเสียภาษีเพื่อการนำเข้าในประเทศนั้น ๆ ด้วย แต่ด้วย De minimis เราสามารถขอยกเว้นภาษีเพื่อการนำเข้าประเทศนั้น ๆ ได้ หากมูลค่าสินค้าของเราที่ส่งไปนั้นไม่ถึงเกณฑ์กำหนดที่ต้องเสีย

money American dollars,De minimis คือ

ตัวอย่าง นาย A ผู้ขายในประเทศไทยส่งสินค้ามูลค่า 20,000 บาท หรือประมาณ 606 ดอลลาร์ ไปยังนาย B ผู้ซื้อในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ De minimis ประเทศสหรัฐอเมริกา กำหนดไว้ที่ 800 ดอลลาร์ หรือประมาณ 27,000 บาท การส่งสินค้าครั้งนี้จึงไม่เกินกำหนด และไม่ต้องเสียภาษีเพื่อการนำเข้าในประเทศสหรัฐอเมริกา

จากที่กล่าวมา เห็นได้ว่าย่อมเป็นผลดีทั้งต่อทางเราในฐานะคนขายสินค้า และผู้รับปลายทางในฐานะคนซื้อสินค้า โดยเป็นการลดต้นทุน ทำให้สินค้านั้นมีราคาถูกลง จูงใจให้ผู้บริโภคในประเทศนั้น ๆ สั่งซื้อสินค้าจากเราในฐานะผู้ขายมากขึ้น เพราะหากประเทศปลายทางนั้นมีการเก็บภาษีเพื่อการนำเข้า ต่อให้สินค้าเราราคาถูกกว่าท้องตลาด แต่เมื่อรวมภาษีแล้วอาจแพงกว่า คงไม่มีลูกค้ารายใดสั่งซื้อสินค้าของเราอย่างแน่นอน

Big flag background,De minimis คือ

อย่างไรก็ตามในเรื่องการ De minimis แต่ละประเทศกำหนดอัตราไม่เท่ากัน ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของผู้ขายสินค้านั้นด้วย ที่ต้องศึกษารายละเอียดให้ดี โดยขอยกตัวอย่างประเทศสำคัญดังนี้

สหรัฐอเมริกา 800 ดอลลาร์ หรือประมาณ 27,000 บาท

สหราชอาณาจักร 150 ยูโร หรือประมาณ 7,500 บาท

ญี่ปุ่น 10,000 เยน หรือประมาณ 3,000 บาท

เกาหลีใต้ 150 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 5,000 บาท (ประมาณ 195,000 วอน)

จีน 50 หยวน หรือประมาณ 300 บาท

มาเลเซีย 500 ริงกิต หรือประมาณ 4,000 บาท

สิงคโปร์ 400 ดอลลาร์สิงคโปร์ หรือประมาณ 9,700 บาท

จากที่กล่าวมาน่าจะพอทราบแล้วว่า De minimis คือ อะไร อย่างไรก็ตาม ด้วยแต่ละประเทศกำหนดราคา De minimis แตกต่างกัน ดังนั้น ในการส่งสินค้าไปยังประเทศใด ผู้ขายจึงควรต้องหาข้อมูลก่อนว่า ประเทศนั้น ๆ กำหนด De minimis ยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้านั้นมีมูลค่าเท่าใด

HYBRiDTEA
Hi, I'm Nuttasit. I'm webadmin of AIRPORTELs. We will help you get smart traveling. If you need some help please let me know! Nice to meet you.

Leave your comment

Please enter your name.
Please enter comment.

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

กระทู้เด็ด !