มาทำความรู้จักกับ Incoterms กันเถอะ

Incoterms

หลายคนโดยเฉพาะผู้ทำการซื้อขายของระหว่างประเทศอาจเคยได้ยินได้เห็นคำว่า Incoterms มาบ้าง Incoterms คือ อะไร โดยเฉพาะคำย่อต่าง ๆ มีความหมายอย่างไร เบื้องต้นอยากให้เข้าใจก่อนว่า ด้วยการทำการค้าระหว่างประเทศนั้น แต่ละประเทศย่อมต้องพิจารณาข้อกฎหมายของตนเป็นสำคัญในการทำการซื้อขาย โดยเฉพาะเรื่องการค้าระหว่างประเทศต่างกัน อาจด้วยเพราะระบบกฎหมายแตกต่างกัน

ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาข้อพิพาทดังกล่าว หอการค้านานาชาติ จึงได้จัดทำ Incoterms ขึ้น โดยกำหนดหลักเกณฑ์และประเพณีการค้าระหว่างประเทศไว้ให้เป็นรูปแบบเดียวกัน ทั้งกำหนดเรื่องหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งถือเป็นหัวใจเป็นสำคัญ กล่าวคือ เมื่อทำการซื้อขาย ปัญหาว่าความรับผิดชอบในตัวสินค้านั้นสิ้นสุดลงเมื่อใด เป็นปัญหาสำคัญยิ่งในการซื้อขายระหว่างประเทศ ดังนั้น จึงต้องเสมือนมีกฎหมายกลางคอยควบคุมเรื่องนี้

International Chamber of Commerce,Incoterms

วิวัฒนาการ Incoterms เริ่มครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1936 และได้มีการปรับปรุงมาเรื่อย ๆ ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า Incoterms 2010 ซึ่งมีทั้งหมด 11 เทอม ลดลงจาก Incoterms 2000 ที่เดิมมี 13 เทอม เพื่อความเข้าใจ Incoterms คือ อะไร ขอยกตัวอย่าง ดังนี้

กลุ่มหนึ่ง กรณีการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศที่มีวิธีการขนส่งโดยวิธีหนึ่งวิธีใด ที่ไม่มีการขนส่งสินค้าทางทะเล หรือมีการขนส่งทางทะเลเพียงบางช่วง กล่าวคือ ไม่ได้ขนสินค้าทางทะเลเป็นหลัก เช่น

            EXW (Ex Work) คือ การซื้อขายที่กำหนดหน้าที่ผู้ขายน้อยที่สุด โดยกำหนดให้ผู้ซื้อจะต้องรับผิดชอบออกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการรับสินค้า โดยความเสี่ยงภัยหรือความรับผิดชอบในตัวสินค้า ณ สถานที่ผู้ขาย กล่าวคือ ผู้ซื้อมีหน้าที่มารับสินค้าเองจากผู้ขายที่หน้าโรงงานของผู้ขาย ผู้ขายย่อมหมดความรับผิดชอบในความเสียหายของสินค้า นับตั้งแต่พ้นโรงงานผลิต

            FCA (Free Carrier) คือ ความรับผิดชอบในความเสียหายของสินค้าของผู้ขายย่อมโอนไปยังผู้ซื้อ เมื่อผู้ขายมอบสินค้าให้แก่ผู้ขนส่ง หรือบุคคลที่ผู้ซื้อกำหนด ณ สถานที่ใด ๆ ที่ผู้ขายกำหนด ทั้งนี้ผู้ขายมีหน้าที่ส่งผ่านศุลกากรขาออกด้วย

            CPT (Carriage Paid To) คือ การส่งสินค้าที่ผู้ขายมีหน้าที่ส่งสินค้าให้ผู้ขนส่ง ซึ่งผู้ขายเป็นกำหนด (ผู้ขายเป็นผู้ว่าจ้าง) ความเสี่ยงภัยของผู้ขายย่อมโอนเมื่อส่งมอบสินค้านั้นให้แก่ผู้ขนส่ง

FAS,Incoterms

            กลุ่มสอง ใช้เฉพาะสัญญาซื้อขายที่มีการขนส่งทางทะเลเป็นหลัก โดยสถานที่ส่งของและรับของคือ ท่าเรือทั้งของประเทศผู้ซื้อ และประเทศผู้ขาย เช่น

            FAS (Free Alongside Ship) คือ ความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายหรือความเสี่ยงต่าง ๆ ในสินค้า โอนไปยังผู้ซื้อ เมื่อผู้ขายได้นำสินค้ามาวางเทียบข้างเรือผู้ขนส่งที่ผู้ซื้อกำหนด

            FOB (Free On Board) คือ ความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายหรือความเสี่ยงต่าง ๆ ในสินค้า โอนไปยังผู้ซื้อ เมื่อผู้ขายได้นำสินค้าบรรทุกลงเรือ (on board) ผู้ขนส่งที่ผู้ซื้อกำหนด

จากที่กล่าวข้างต้นน่าจะพอเห็นภาพได้บ้างว่า Incoterms คือ อะไร ซึ่งโดยหลักเป็นเรื่องการกำหนดการโอนความเสี่ยงต่าง ๆ ในสินค้านั้นว่า ความเสี่ยงภัยของผู้ขายหรือความรับผิดชอบนั้นจะโอนยังผู้ซื้อเมื่อใด รวมถึงกำหนดหน้าที่ผู้ซื้อและผู้ขายในเรื่องค่าใช้จ่ายในการขนส่งในแต่ละเทอมว่า ใครเป็นผู้รับผิดชอบ เพื่อให้ภาพขอยกตัวอย่าง ดังนี้

นาย ก ประเทศไทย สั่งซื้อเครื่องปรับอากาศ จากบริษัท A ประเทศสหรัฐอเมริกา ราคา FOB

Ship at the port

หมายความว่า ความรับผิดชอบในความเสี่ยงภัยสินค้าสูญหาย เสียหาย ของบริษัท A พ้นเมื่อได้ทำการบรรทุกสินค้าลงเรือผู้ขนส่งที่ นาย ก เป็นผู้จัดหาเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น จึงไม่ต้องพิจารณาเรื่องกรรมสิทธิ์ในตัวสินค้านั้นจะโอนแล้วหรือไม่ รวมด้วยระบุราคา FOB ย่อมหมายความว่า นาย ก มีหน้าที่เป็นผู้จัดหาผู้ขนส่ง เป็นต้น

Leave your comment

Please enter your name.
Please enter comment.

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

กระทู้เด็ด !