ขณะการเตรียมกระเป๋าเชื่อเลยว่าหลายๆ คนจะต้องเตรียมของอย่างสบู่ แชมพู ครีมนวดหรือของเหลวอื่นๆ ใส่กระเป๋า แต่พอไปสนามบินกลับพบว่ามีข้อห้าม ห้ามนำของเหลวขึ้นเครื่องในจำนวนจำกัด เลยจำเป็นที่จะต้องทิ้งของเหล่านั้นไว้ในสนามบิน แต่ถ้าหากเราได้รู้ข้อบังคับเกี่ยวกับการนำของเหลวขึ้นเครื่อง ก็จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ โดยรายละเอียดที่สำคัญและจำเป็นต้องรู้มีดังต่อไปนี้
ทำไมต้องกำหนดปริมาณของเหลวขึ้นเครื่อง
การที่ไม่สามารถนำของของเหลวขึ้นเครื่องบินได้ เกิดจากการที่ของเหลวบางชนิดหากนำมารวมกัน ก็สามารถทำเป็นระเบิดและระเบิดเครื่องบินได้ ในส่วนนี้ถือว่าเป็นความปลอดภัยที่เน้นในกรณีเกิดเหตุร้ายขณะที่อยู่บนเครื่องบิน เพราะครั้งหนึ่งเคยเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นมาแล้ว จึงเป็นมาตรฐานทั่วโลกที่ผ่านองค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ที่ได้กำหนดไว้ โดยห้ามขึ้นห้องโดยสารเด็ดขาด จะสามารถทำได้แค่โหลดใต้ท้องเครื่องเท่านั้น
ของเหลวหมายถึงอะไรได้บ้าง
สำหรับของเหลวขึ้นเครื่องบินโหลดลงกระเป๋าใต้ท้องเครื่อง จำเป็นที่จะต้องรู้ว่าของเหลวเหล่านั้นสำหรับการบินหมายถึงอันไหนบ้าง ซึ่งการใช้คำว่าของเหลวก็แทบครอบคลุมทุกอย่าง โดยสามารถแยกเป็นประเภทได้ดังต่อไปนี้
- อาหารที่มีของเหลวในปริมาณมาก ยกตัวอย่าง เครื่องดื่ม น้ำซุป น้ำเชื่อม ซอสชนิดต่างๆ น้ำพริก และอาหารชนิดอื่นๆ ที่มีน้ำมากมาย
- เครื่องสำอาง ยกตัวอย่าง ครีมบำรุง โลชั่น น้ำหอม โทนเนอร์ หรืออื่นๆ ที่มาในรูปแบบน้ำ
- เครื่องสำอางที่มีของแข็งและของเหลวผสมกัน ยกตัวอย่าง มาสคาร่า ลิปกลอส และอื่น ๆ อีกมากมาย
- เจล ยกตัวอย่าง ยาสีฟัน ยาสระผม เจลอาบน้ำ ที่เซ็ตผม และอื่นๆ อีกมากมาย
- สิ่งที่ต้องฉีดพ่น ยกตัวอย่าง สเปรย์ โฟม ซึ่งสิ่งเหล่านี้หากทำบรรจุภัณฑ์แบบสเปรย์ก็สามารถตัดทิ้งได้เลย
ของเหลวขึ้นเครื่องได้กี่ ml.
สำหรับปริมาณของเหลวขึ้นเครื่องจะมีการกำหนดชัดเจนว่าสามารถนำขึ้นได้จำนวนเท่าไหร่ และสามารถนำขึ้นได้กี่มิลลิลิตร ซึ่งเนื้อหาในส่วนนี้จะมีคำตอบให้ทุกคนทำความเข้าใจ และสามารประเมินได้ว่าควรจะเอาของเหลวชนิดไหนขึ้นเครื่องได้บ้าง และสามารถนำเครื่องได้ในปริมาณที่เท่าไหร่ เพื่อที่ว่าทุกคนจะสามารถแพ็กกระเป๋าขึ้นเครื่องได้ถูก โดยมีคำตอบดังต่อไปนี้
กรณีคนทั่วไป
- การกำหนดปริมาณต่อชิ้น นับเป็นเรื่องสำคัญที่คนทั่วไปจำเป็นต้องรู้เพื่อที่จะไม่พลาดระหว่างการโหลดกระเป๋าขึ้นเครื่อง เบื้องต้นใน 1 บรรจุภัณฑ์ จะสามารถนำขึ้นเครื่องได้ใน 100 มิลลิลิตร ที่จะต้องมีระบุตัวเลขข้างขวดชัดเจน
- การกำหนดจำนวนต่อชิ้น โดยปกติคนทั่วไปสามารถนำขึ้นไปสูงสุดได้ 1,000 มิลลิลิตร ดังนั้นจึงสามารถแบ่งออกเป็นขวดละ 100 มิลลิลิตรให้ได้สูงสุด 10 ขวด ซึ่งห้ามเกินมากกว่านี้ โดยจำนวนนี้รวมของเหลวทุกประเภทแล้ว
- สำหรับของเหลวที่ได้มีการนำขึ้นเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นกี่ขวดก็ตามขวดใส่ลงในกระเป๋าพลาสติกใสใส่รวมกัน ที่มีขนาดไม่เกิน 20 x 20 เซนติเมตร และต้องปิดผนึกให้เรียบร้อย
- ในส่วนของของเหลวขึ้นเครื่องบินโหลดกระเป๋าได้อย่างเจล และสเปรย์ จำเป็นที่จะต้องซื้อของจากสนามบิน ณ ร้านค้าที่ได้รับอนุญาตให้ขายและสามารถนำขึ้นเครื่องได้ หากใครที่จำเป็นต้องใช้ของเครื่องใช้อย่างเจลหรือสเปรย์แนะนำว่าซื้อที่สนามบินจะชัวร์กว่า และต้องปิดผนึกให้เรียบร้อย
กรณีคนที่มีโรคประจำตัวหรือผู้ป่วยที่ต้องพกยา
- ในกรณีที่มีผู้โดยสารที่มีโรคประจำตัวหรือผู้ป่วยที่จำเป็นจะต้องพกยา จะมีเงื่อนไขไม่ตรงกับบุคคลทั่วไป นั่นก็คือกา่รนำของเหลวขึ้นเครื่อง อย่างเจล สเปรย์หรือยาในรูปแบบอื่น จะต้องมีการระบุประเภทของยา มีใบแพทย์รับรอง มีฉลากข้อมูลของยาครบพร้อม และต้องมีการระบุชื่อผู้โดยสารที่เป็นเจ้าของยาชนิดนั้นๆ ด้วย โดยจะพกได้แค่จำนวนที่เหมาะแก่การเดินทางบนน่านฟ้าเท่านั้น
- ข้อยกเว้นในการพกยา หากเป็นยาสามัญประจำบ้านที่มีการใช้อยู่ทั่วไปสามารถพกพาได้ ตามจำนวนที่ได้มีการระบุไว้ตามเงื่อนไขของสายการบิน ทั้งนี้ยาบางประเภทที่อาจจะถูกกฎหมายในไทย แต่ผิดกฎหมายทางต่างประเทศ หรือเป็นยาที่ไม่อนุญาตให้ข้ามประเทศก็ควรจำเป็นต้องรู้ก่อนนำขึ้นเครื่อง เพราะไม่เช่นนั้นจะเกิดปัญหาได้
กรณีผู้ปกครองที่เดินทางกับเด็กเล็กหรือทารก
- สำหรับผู้ปกครองที่เดินทางกับเด็กเล็กหรือทารก ที่จะเป็นจะต้องมีอาหารทางโภชนาการเพื่อให้ลูกน้อยสามารถทานได้อย่างครบถ้วน ในจุดนี้สามารถนำขึ้นเครื่องได้ แต่จำเป็นจะต้องตรงตามข้อกำหนดทางการแพทย์
- ในส่วนของอาหารของเด็กเล็กและทารกก็สามารถนำขึ้นเครื่องได้ด้วยเช่นกัน โดยปริมาณเบื้องต้นก็สามารถดูได้จากระยะที่ต้องเดินทาง แต่ทั้งนี้ในเรื่องของน้ำหรือนมจำเป็นจะต้องเตรียมไปให้พร้อม เพื่อให้ถูกสุขอนามัยของเด็กเล็กและทารกให้ได้มากที่สุด
- ในส่วนข้าวของเครื่องใช้ของทารก ก็สามารถนำพกขึ้นเครื่องได้แต่จำเป็นที่จะต้องมีปริมาณของเหลว ขึ้นเครื่อง 100 มิลลิลิตรเท่านั้น โดยข้างของเครื่องใช้ได้แก่ โลชั่นสำหรับทาผิว ครีมกันผื่นสำหรับเด็ก และอื่นๆ ที่จะเป็นต้องใช้ตลอดการเดินทางในทริปนั้นๆ
กรณีสินค้าจากร้านปลอดภาษี
- อีกเงื่อนไขหนึ่งที่นับว่าเป็นเรื่องน่าสนใจจากการซื้อสินค้าจากร้านปลอดภาษีในสนามบิน จะสามารถนำของเหลวขึ้นเครื่องได้ แต่จะต้องบรรจุในถุงซิปล็อคเพื่อให้ง่ายแก่การตรวจสอบ พร้อมกันนั้นยังจำเป็นอย่างยิ่งที่ตัวสินค้าที่เป็นของเหลวจะต้องไม่มีร่องรอยของการแกะใช้งาน ถึงจะสามารถนำขึ้นเครื่องได้
ข้อห้ามนำของเหลวขึ้นเครื่องเพิ่มเติม
- สำหรับการเดินทางภายในประเทศที่แต่เดิมมีนโยบายว่า ของเหลวขึ้นเครื่องสามารถนำน้ำพริก แกง น้ำจิ้ม และอาหารพื้นเมืองขึ้นเครื่องได้เป็นอันว่าไม่สามารถทำได้แล้ว แต่ใช่ว่าจะนำขึ่นเครื่องไม่ได้เลย เพราะสามารถนำอาหารเหล่านั้นโหลดใต้ท้องเครื่องแทนได้
การปิดผนึกถุง
- สำหรับของเหลวขึ้นเครื่องที่ได้มีการระบุขนาดขวดว่าจะต้องเป็น 100 มิลลิกรรม ไม่ว่าผู้โดยสารจะพกอะไรมาจำเป็นที่จะต้องนำขวดที่เป็นของเหลว 100 มิลลิกรัม นำมาปิดผนึกลงในถุงพลาสติกแบบใส เพื่อง่ายแก่การตรวจสอบ
- สำหรับการเลือกใช้ถุงพลาสติกแบบใส แนะนำว่าให้เลือกแบบซิปล็อคที่จะช่วยง่ายต่อการตรวจว่าตรงกับเงื่อนไขที่สามารถนำขึ้นเครื่องได้หรือไม่ และสามารถพกได้ถุงเดียวเท่านั้น สำหรับกรณีที่จะต้องบรรจุของเหลวขึ้นเครื่องบิน โดยขนาดถุงจะอยู่ที่ 20 x 20 เซนติเมตรเท่านั้น
มาตรการเมื่อพบว่าผู้โดยสารพกของเหลวขึ้นเครื่องเกินกำหนด
เมื่อผู้โดยสารได้ไปถึงในส่วนของการตรวจสอบของเหลวขึ้น ของเหลวขึ้นเครื่อง ทางเจ้าหน้าที่มีการตรวจสอบอย่างละเอียดและถี่ถ้วนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หากพบว่าปริมาณของเหลวที่พกมานั้นเกินกว่าที่กำหนด หรือไม่ตรงตามเงื่อนไขข้อยกเว้นต่างๆ จำเป็นที่จะต้องทิ้งของเหลวเหล่านั้นก่อนขึ้นเครื่องทันที
การกำหนดปริมาณของเหลว ขึ้นเครื่อง นับว่าเป็นเรื่องสำคัญมากๆ โดยเบื้องต้นจะสามารถพกของเหลวได้ในจำนวน 100 มิลลิตรต่อ 1 ขวด โดยสามารถพกได้มากสุด 1,000 มิลลิตร หรือมากสุด 10 ขวด ซึ่งของเหลวพวกนี้สามารถเป็นได้ทั้งอาหาร เครื่องสำอาง ข้าวของเครื่องใช้ หรืออื่นๆ ที่จำเป็นจะต้องนำมารวมกันใส่ถุงซิปล็อคอย่างดีเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ง่ายๆ และสามารถรู้ได้ว่าของเหลวขึ้นเครื่อง ชนิดนั้น ๆ ถูกต้องกับข้อกำหนดหรือไม่