วิธีส่งสุนัข แมว หรือสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่องบินทำอย่างไร ราคาเท่าไหร่

เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงมีสัตว์เลี้ยงคู่ใจเลี้ยงอยู่ที่บ้าน คอยให้ความรัก ความอบอุ่น และช่วยแก้เหงาให้ได้เป็นอย่างดี แต่สำหรับนักเดินทางตัวยงแล้วล่ะก็ การจะไปเที่ยว ทำธุระไกลๆ หรือเดินทางไกลไปไหนก็แล้วแต่นั้น คำถามที่ตามมาก็คือ แล้วน้องหมาหรือน้องแมวล่ะ จะพาพวกเขาเดินทางไปด้วยกันได้อย่างไร? 

บทความนี้จะมาช่วยไขทุกข้อสงสัยของคนรักสัตว์ ที่กำลังอยากเดินทางไกล แต่ไม่อยากฝากสัตว์เลี้ยงไว้ให้ใครดูแลหรือกำลังย้ายที่อยู่ และมีความต้องการที่จะพาเจ้าสี่ขาขึ้นเครื่องบินไปด้วย มาดูกันว่าวิธีส่งสุนัข แมว หรือสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่องบินนั้นทำอย่างไร และมีค่าใช้จ่ายเท่าใดกัน

เริ่มต้นด้วยการตรวจสุขภาพสัตว์เลี้ยง

เริ่มต้นด้วยการตรวจสุขภาพสัตว์เลี้ยง

บอกเลยว่าทุกสายการบินจะมีข้อกำหนดไว้เลยว่า เจ้าของสัตว์เลี้ยงจะต้องพาสัตว์เลี้ยงไปตรวจสุขภาพก่อน โดยไม่ควรเกิน 10 วันก่อนการเดินทาง ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยของสัตว์เลี้ยงด้วยว่าพวกเขาไม่ได้กำลังเจ็บป่วย หรือมีปัญหาทางสุขภาพที่เมื่อสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่องแล้ว ย่อมมีปัจจัยด้านความเครียดและความร้อนที่อาจจะไปกระตุ้นอาการเหล่านั้นให้แย่ลงไปอีกด้วย ซึ่งสายการบินจะไม่รับผิดชอบหากสัตว์เลี้ยงเสียชีวิต 

ดังนั้น เจ้าของจึงต้องดูแลสัตว์เลี้ยงให้มีสุขภาพแข็งแรง สัตว์เลี้ยงที่จะขึ้นเครื่องต้องไม่ได้กำลังตั้งครรภ์หรือบาดเจ็บ ควรพาพวกเขาไปตรวจสุขภาพสัตว์เลี้ยง พูดคุยกับสัตวแพทย์ถึงความพร้อมของร่างกายสัตว์เลี้ยงของเราสำหรับการขึ้นเครื่อง ฉีดวัคซีนให้ครบ โดยเฉพาะวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และนำสมุดรับรองสุขภาพไปเป็นหลักฐานในการพาสัตว์เลี้ยงเดินทางขึ้นเครื่องไปกับคุณได้

ตรวจสอบเงื่อนไขการขนส่งสัตว์เลี้ยงทางเครื่องบิน

ตรวจสอบเงื่อนไขการขนส่งสัตว์เลี้ยงทางเครื่องบิน

ก่อนนำสัตว์เลี้ยงเดินทางด้วยเครื่องบิน อย่าลืมตรวจสอบเงื่อนไขการขนส่งสัตว์เลี้ยงทางเครื่องบินให้อย่างละเอียดถี่ถ้วน เนื่องจากแต่ละสายการบินอาจมีข้อปฏิบัติ ข้อบังคับ หรือกฏเกณฑ์ต่างๆ ที่แตกต่างกันไป 

รวมถึงต้องตรวจสอบเงื่อนไขการตรวจคนเข้าเมืองสำหรับสัตว์เลี้ยงที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ/ภูมิภาคด้วย เพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยาก และข้อผิดพลาดในการพาสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่องในภายหลัง

อีกสิ่งสำคัญที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงจะต้องตรวจสอบก็คือ ประเภทของสัตว์เลี้ยง ควรรู้ก่อนว่าสายพันธ์ุสัตว์เลี้ยงของเรานั้นอยู่ในบัญชีรายชื่อสายพันธุ์ต้องห้ามหรือไม่ เพราะถ้าสัตว์เลี้ยงของคุณตกเป็นสัตว์ต้องห้าม ก็ไม่สามารถพาพวกเขาไปด้วยได้ 

สัตว์ส่วนมากที่ไม่สามารถขนส่งผ่านเครื่องบินได้จะเป็นสัตว์จำพวกที่มีพิษ สัตว์ดุร้าย สัตวที่มีจมูกสั้น เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องศึกษาให้รอบคอบเพื่อการเดินทางที่ราบรื่น หรือในกรณีที่ไม่สามารถพาขึ้นเครื่องไปได้ จะได้หาแผนสำรองอื่นเตรียมไว้ทันท่วงที

รวมถึงเรื่องอายุของสัตว์เลี้ยงก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน โปรดตรวจสอบอายุของสัตว์เลี้ยงที่สามารถนำขึ้นเครื่องได้กับแต่ละสายการบิน

นอกจากนี้ ในส่วนของต่างประเทศก็ต้องตรวจสอบข้อกำหนดของประเทศนั้นๆ เรื่องสายพันธุ์สุนัขและแมวสายการบิน ซึ่งจะมีแจ้งไว้อยู่แล้วว่าสายพันธุ์ไหนบ้างที่ไม่สามารถพาขึ้นเครื่องได้ 

กรงของสัตว์เลี้ยง

กรงของสัตว์เลี้ยง

กรงหรือบรรจุภัณฑ์สำหรับพาสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่องไม่ใช่ว่าจะเป็นกรงขนาดใด ลักษณะใดก็ได้ หรือเห็นว่าเป็น กรงที่เคยพาสัตว์เลี้ยงเดินทางไปพบสัตวแพทย์เลยคิดว่าคงใช้ได้เหมือนกัน ความจริงแล้วจะใช้กรงที่มีอยู่แล้วก็ได้ แต่ต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่าเป็นกรงที่มีมาตรฐาน และจะต้องเป็นไปตามกฎระเบียบของสมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ ซึ่งลักษณะของกรงที่เหมาะสมก็มีดังนี้

  • วัสดุพลาสติกแข็งตามข้อบังคับของ IATA
  • กรงแข็งแรง มีน็อตยึดแน่นหนา
  • กรงแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักของสัตว์เลี้ยงได้
  • ประตูกรงแน่นหนา มีเพียงประตูเดียวสำหรับการเข้า-ออก
  • มีช่องระบายอากาศ สามารถมองเห็นได้ว่าเป็นกรงสัตว์
  • มีความกว้างและความยาวเพียงพอ ให้สัตว์กลับตัว พลิกตัว และยืนได้สะดวก หลังไม่ชนกรง
  • ต้องจัดเตรียมขวดน้ำแบบหยดสำหรับสัตว์เลี้ยง

สายการบินที่ขนส่งสัตว์เลี้ยงได้

สายการบินที่ขนส่งสัตว์เลี้ยงได้

ก่อนจะทำการจัดส่งสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่องบินนั้น เจ้าของจะต้องทำการบ้านโดยศึกษาข้อมูลของสายการบินต่างๆ เสียก่อนว่า สายการบินไหนบ้างที่อนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงเดินทางไปกับเครื่องบินได้ และอาจมีรายละเอียดปลีกย่อยไปอีก อย่างการให้บริการเพียงบางจังหวัดเท่านั้น อย่างไรก็ตาม อย่าลืมโทรสอบถามรายละเอียดกับสายการบินของจังหวัดนั้น ๆ ก่อนทุกครั้ง

สายการบินไทย (Thai Airways) 

สายการบินไทย (Thai Airways) มีบริการการนำสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่อง แบบ Check Baggage (AVIH) สัตว์เลี้ยงจะต้องมีขนาดตามระเบียบของ IATA’s Live Animals Regulations (LAR) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลในเรื่องการขนส่งสัตว์ที่มีชีวิตผ่านสายการบินต่างๆ 

ทางการบินไทยนั้น จะนำสัตว์เลี้ยงของเราไปโหลดไว้ยังห้องบรรทุกสัมภาระพิเศษใต้ท้องเครื่อง ที่ได้มีการออกแบบให้มีระบบควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสมกับสัตว์เลี้ยงอีกด้วย

สำหรับเที่ยวบินที่ทางสายการบินไทยไม่รับสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่องแบบ Check Baggage (AVIH) มีดังต่อไปนี้

  • เที่ยวบินไปโอ๊กแลนด์ เดนปาซาร์ ดูไบ ฮ่องกง และ ลอนดอน
  • เที่ยวบิน ไป / กลับจากออสเตรเลีย (บริสเบน เมลเบิร์น เพิร์ท ซิดนีย์)
  • เที่ยวบินที่ให้บริการด้วยเครื่องบินแบบแอร์บัส A320

ส่วนเรื่องของสายพันธุ์สุนัขที่การบินไทยขอสงวนสิทธิ์ในการให้บริการขนส่งสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่อง ก็มีทั้งหมด 25 สายพันธุ์ด้วยกัน 

REF

  1. อเมริกันบูลด็อก / บูลลี่ (American Bulldog / Bully)
  2. อเมริกันสแตฟฟอร์ดเชียร์เทอร์เรียร์ (American Staffordshire Terrier)
  3. อเมริกันพิทบูลเทอร์เรียร์ (American Pit Bull Terrier)
  4. บอสตันเทอร์เรียร์ (Boston Terrier)
  5. บ็อกเซอร์ ( Boxer)
  6. บราสเซิลส์กริฟเฟิน (Brussels Griffon)
  7. บูลด็อก (Bulldog)
  8. ไชนีสปั๊ก (Chinese Pug)
  9. เชาเชา (Chow Chow)
  10. ดัชปั๊ก (Dutch Pug)
  11. อิงลิชบูลด็อก (English Bulldog)
  12. อิงลิชทอยสแปเนียล (English Toy Spaniel)
  13. เฟรนช์บูลด็อก (French Bulldog)
  14. ลาซาแอปโซ ( Lhasa Apso)
  15. เจแปนนีสบ็อกเซอร์ (Japanese Boxer)
  16. เจแปนนีสปั๊ก (Japanese Pug)
  17. เจแปนนีสชิน (Japanese Spaniel (Chin)
  18. มาสทิฟฟ์ (ทุกสายพันธุ์) Mastiff (All Breeds)
  19. ปักกิ่ง (Pekinese)
  20. พิทบูล (Pit Bull)
  21. ปั๊ก (Pug)
  22. ชาเป่ย (Shar Pei)
  23. ชิสุ (Shih Tzu)
  24. สแตฟเฟอร์ดไชร์บูลเทอร์เรียร์ (Staffordshire Bull Terrier)
  25. ทิเบตันสแปเนียล (Tibetan Spaniel)

ค่าใช้จ่าย

สำหรับการบินไทยแล้วการขนส่งสุนัขขึ้นเครื่องบินมีราคา 0 บาทเท่านั้น! เป็นสิทธิพิเศษสำหรับผู้โดยสารที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นหรือทางการได้ยิน และจำเป็นจะต้องมีสุนัขนำทางหรือสุนัขที่ให้ความช่วยเหลืออยู่ข้างกาย 

โดยทางผู้โดยสารจะต้องติดต่อสำนักงานขายการบินไทยประจำท้องถิ่นของท่านอย่างน้อย 48 ชั่วโมง ในส่วนของบุคคลธรรมดาที่ไม่ได้ต้องมีสุนัขนำทาง มีการเสียค่าใช้จ่ายตามอัตราของการขนส่งทางอากาศ ซึ่งสามารถติดต่อสำนักงานการบินไทยสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายได้

สายการบินนกแอร์ (Nok Air) 

ถ้าอยากจะพาสัตว์เลี้ยงขนส่งขึ้นเครื่องบินกับทางสายการบินนกแอร์ก็สามารถทำได้ โดยทางนกแอร์มีบริการขนส่งสินค้าและสัตว์เลี้ยงผ่านทางนกแอร์คาร์โก้ ซึ่งปฎิบัติการภายใต้ระเบียบมาตราฐานและข้อกำหนดของสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (International Air Transport Association – IATA) และยังได้รับอนุญาตจากสำนักการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (Civil Aviation Authority of Thailand – CAAT) ซึ่งหลักเกณฑ์ในการขนส่งสินค้าและสัตว์เลี้ยงของสายการบินนกแอร์ ก็มีดังนี้

  • น้ำหนักจะต้องไม่เกิน 20-25 กิโลกรัม
  • ไม่เป็นสินค้าผิดกฏหมาย (อาวุธปืน, ยาเสพติด, ยุทธภัณฑ์)
  • ไม่เป็นวัตถุอันตราย
  • ไม่ตรงตามมาตรการรักษาความปลอดภัยหรือเป็นอันตรายต่อการขนส่งทางอากาศ
  • การประกาศห้ามรับสินค้าที่เกินสมรรถนะของอากาศยาน
  • สัตว์มีชีวิตต้องไม่เป็นสัตว์ที่มีพิษ สุนัขที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวดุร้าย หรือสุนัขบางสายพันธ์ุ

ซึ่งสายพันธุ์สุนัขที่ไม่สามารถขนส่งผ่านสายการบินนกแอร์ ก็ประกอบไปด้วยสุนัขทั้งหมด 19 สายพันธุ์ ดังต่อไปนี้

  1. ปั๊ก ( Pug Breeds )
  2. เฟรนช์บูลด็อก ( French Bulldog )
  3. อิงลิชบูลด็อก ( English Bulldog )
  4. อเมริกันบูลด็อก / บูลลี่ ( American Bulldog / Bully )
  5. บรัสเซิลส์เทอร์เรียร์ ( Brussels Terrier )
  6. อิงลิชทอยสแปเนียล ( English Toy Spaniel )
  7. เจแปนนีสสแปเนียล ( Japanese Spaniel )
  8. ปักกิ่ง ( Pekingese )
  9. ทิเบตันสแปเนียล ( Tibetan Spaniel )
  10. ชาเป่ย ( Shar Pei )
  11. ลาซาแอปโซ ( Lhasa Apso )
  12. บอสตันเทอร์เรียร์ ( Boston Terrier )
  13. บ็อกเซอร์  ( Boxer Breeds )
  14. ด็อจเดบอร์โดซ์ ( Dogue de Bordeaux )
  15. เชาเชา ( Chow Chow )
  16. มาสทิฟฟ์บรีด ( Mastiff Breeds )
  17. อเมริกันพิทบูลเทอร์เรียร์ ( American Pit Bull Terrier )
  18. พิทบูล ( Pit Bull )
  19. สแตฟเฟอร์ดไชร์บูลเทอร์เรียร์ ( Staffordshire Bull Terrier)

นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ทางนกแอร์ก็ยังมีกฎเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ของสัตว์เลี้ยง นั่นก็คือ

  • กรงสัตว์เลี้ยงเป็นวัสดุพลาสติกแข็งตามข้อบังคับของ IATA
  • มีเพียงประตูเดียวสำหรับให้สัตว์เลี้ยงเข้า / ออก และสามารถป้องกันสัตว์เลี้ยงไม่ให้หลุดออกมาหรือป้องกันกรงเล็บของสัตว์เลี้ยงได้
  • ขันสกูรรอบด้านให้ครบ
  • มีช่องระบายอากาศที่เปิดออกได้มากกว่าหนึ่งด้าน มองเห็นได้ง่ายว่าเป็นกรงสัตว์ และมีวัสดุดูดซับความชื้นคลุมด้านล่างหรือพื้นของกรง
  • มีพื้นที่เพียงพอให้สัตว์เลี้ยงกลับตัวไปมาได้
  • หากส่งสุนัข แมว หรือ กระต่าย ต้องจัดเตรียมขวดน้ำแบบหยด และทำการยึดกับกรงให้แน่นหนา
  • หากกรงชำรุด ทางสายการบินไม่รับขนส่งเด็ดขาด โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่สายการบิน

นกแอร์ให้บริการขนส่งสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่องเฉพาะบนเครื่องบิน Boeing 737-800 เส้นทางภายในประเทศเท่านั้น รวมถึงบางครั้งอาจไม่มีที่ว่างให้บริการในบางเที่ยวบิน เนื่องจากมีพื้นที่จำกัด และก็อย่าลืมพาเจ้าสี่ขาไปถึงยังนกแอร์คาร์โก้ก่อนเวลาเดินทาง 2 ชั่วโมงด้วย

ค่าใช้จ่าย

อัตราค่าบริการสำหรับบริการขนส่งสัตว์เลี้ยงเริ่มต้นที่ 440 บาท สามารถตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับอัตราค่าบริการขนส่งสัตว์เลี้ยงของสายการบินนกแอร์ได้ ที่นี่

สายการบินบางกอกแอร์เวยส์ (Bangkok Airways) 

สายการบินบางกอกแอร์เวยส์ (Bangkok Airways) มีบริการขนส่งสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่องบิน โดยจะมีทางเจ้าหน้าที่พาสัตว์เลี้ยงของเราไปโหลดไว้ที่ห้องบรรทุกสัมภาระ ที่มีการควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสมและปลอดภัยกับพวกเขา ส่วนรายละเอียดกฎเกณฑ์ของสายการบินในการขนส่งสัตว์เลี้ยงประกอบไปด้วย

  • รับเพียงสุนัขและแมวเท่านั้น
  • ต้องแจ้งกับทางสายการบินผ่านทาง Call Center หรือสำนักงานออกบัตรโดยสาร ก่อนออกเดินทาง 24 ชั่วโมง
  • ในการเดินทางต่างประเทศเจ้าของจะต้องจัดเตรียมเอกสารต่างๆ ให้ครบถ้วน (ใบอนุญาตนำเข้าสัตว์ ใบอนุญาตการส่งออกสัตว์ ใบอนุญาตขนถ่ายสัตว์ ใบรับรองสุขภาพจากสัตวแพทย์ เอกสารรับรองการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า หนังสือเดินทางสัตว์เลี้ยง)
  • กรงสัตว์เลี้ยงต้องมีมาตรฐาน แข็งแรงตามข้อกำหนดของกรง
  • ต้องถอดปลอกคอ เสื้อกั๊ก สายรัด เสื้อผ้า และอุปกรณ์ติดตาม GPS 
  • เส้นทางในประเทศจะให้บริการเฉพาะเส้นทางเข้า-ออก เชียงใหม่ ภูเก็ต และสมุย และเส้นทางที่เดินทางโดยเครื่องบินประเภท AT72 โดยสุนัขหรือแมวต้องมีอายุอย่างน้อย 8 สัปดาห์
  • เส้นทางต่างประเทศสามารถให้บริการรับขนส่งสัตว์เลี้ยงได้ทุกเส้นทาง ยกเว้นเส้นทางมัลดีฟส์มีบริการรับขนส่งเฉพาะแมวเท่านั้น

ทางสายการบินยังมีข้อห้ามในการนำสุนัขบางสายพันธุ์ขึ้นเครื่องด้วย (ข้อกำหนดนี้รวมถึงสุนัขที่มีการผสมข้ามสายพันธุ์กับสายพันธุ์ต้องห้าม) ดังนี้

  1. อเมริกันบูลด็อก / บูลลี่ (American Bulldog/ Bully)
  2. อเมริกันสแตฟฟอร์ดเชียร์เทอร์เรียร์ (American Staffordshire Terrier)
  3. อเมริกันพิทบูลเทอร์เรียร์ (American Pit Bull Terrier)
  4. บอสตัน เทอร์เรียร์(Boston Terrier)
  5. บ็อกเซอร์ (Boxer)
  6. บราสเซิลส์กริฟเฟิน (Brussels Griffon)
  7. บูลด็อก (Bulldog)
  8. ไชนีสปั๊ก (Chinese Pug)
  9. เชา เชา (Chow Chow)
  10. ดัชปั๊ก (Dutch Pug)
  11. อิงลิชบูลด็อก (English Bulldog)
  12. อิงลิชทอยสแปเนียล (English Toy Spaniel)
  13. เฟรนช์บูลด็อก (French Bulldog)
  14. ลาซาแอปโซ (Lhasa Apso)
  15. เจแปนนีสบ็อกเซอร์ (Japanese Boxer)
  16. เจแปนนีสปั๊ก (Japanese Pug)
  17. เจแปนนีสชิน Japanese Spaniel (Chin)
  18. มาสทิฟฟ์ (ทุกสายพันธุ์) Mastiff (All Breeds)
  19. ปักกิ่ง (Pekinese)
  20. พิทบูล (Pit Bull)
  21. ปั๊ก (Pug)
  22. ชาเป่ย (Shar Pei)
  23. ชิสุ (Shih Tzu)
  24. สแตฟเฟอร์ดไชร์บูลเทอร์เรียร์ (Staffordshire Bull Terrier)
  25. ทิเบตันสแปเนียล (Tibetan Spaniel)

ค่าใช้จ่าย

ค่าใช้จ่ายในการส่งสุนัข-ส่งแมวขึ้นเครื่องบิน ราคาเป็นไปตามค่าธรรมเนียมตามน้ำหนักสัมภาระเกินกำหนด (Excess Baggage) ซึ่งคิดจากน้ำหนักสัตว์เลี้ยงรวมกับน้ำหนักกรง เส้นทางในประเทศจะคิดอัตรากิโลกรัมละ 180 บาทต่อเที่ยวบิน และสำหรับเส้นทางต่างประเทศจะคิดตามอัตราของแต่ละเส้นทางโดยแบ่งตามโซน

ข้อควรระวังในการนำส่งสัตว์เลี้ยงทางเครื่องบิน

ข้อควรระวังในการนำส่งสัตว์เลี้ยงทางเครื่องบิน

ในการนำสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่อง นอกจากเงื่อนไขหรือข้อกำหนดของแต่ละสายการบินที่ควรรู้ไว้แล้ว คุณควรศึกษาข้อห้ามและข้อควรระวังเพิ่มเติมด้วย เพื่อให้มีแต่ความปลอดภัยกับชีวิตของสัตว์เลี้ยงที่คุณรัก

  • ควรงดให้อาหารกับสัตว์เลี้ยงก่อนการเดินทาง เพื่อให้กระเพาะอาหารของสัตว์เลี้ยงว่าง ป้องกันสัตว์เลี้ยงขับถ่ายขณะอยู่บนเครื่อง
  • ถ้าช่วงนั้นมีสภาพอากาศที่ร้อน ควรเลือกเดินทางในเวลาเช้าตรู่หรือในเวลาดึก แต่ถ้าช่วงนั้นมีสภาพอากาศที่หนาว ควรเลือกเดินทางในเวลากลางวัน
  • ควรเลือกจองตั๋วเป็นสายการบินประเภทบินตรงและบินในช่วงกลางสัปดาห์ที่มีผู้โดยสารน้อย หลีกเลี่ยงการเดินทางในวันศุกร์ วันเสาร์ วันอาทิตย์ หรือวันหยุดยาว
  • กรณีที่สายการบินไม่สามารถป้องกันการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่กระทบตัวสัตว์ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 45 องศาฟาเรนต์ไฮต์ เป็นเวลามากกว่า 45 นาที ระหว่างการขนถ่ายจากตัวเครื่องไปยังตัวอาคารผู้โดยสารได้ ห้ามสายการบินนั้นๆ รับสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่องเด็ดขาด ยกเว้นว่าจะมีใบรับรองจากสัตวแพทย์ที่ระบุว่าสัตว์เลี้ยงของคุณสามารถทนต่อสภาพอุณหภูมิที่ต่ำ 45 องศาฟาเรนต์ไฮต์ (แต่ไม่เกิน 85 องศาฟาเรนต์ไฮต์) เป็นเวลามากกว่า 45 นาทีได้

จะเห็นได้ว่าการนำสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่องบินนั้นมีกฎเกณฑ์และข้อกำหนดที่แตกต่างกันไปในแต่ละสายการบิน ดังนั้น เจ้าของสัตว์เลี้ยงจึงต้องมีการศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดถี่ถ้วนก่อนเดินทางทุกครั้ง เพื่อป้องกันการผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง เมื่อหมดห่วงเรื่องสัตว์เลี้ยงแล้ว ใครที่เดินทางคนเดียว แต่สัมภาระเยอะสามารถใช้บริการของ Airportels ที่มีบริการส่งกระเป๋าจากสนามบิน-ถึงที่พัก ตัดความกังวลเรื่องไม่มีรถส่วนตัวขนย้ายได้เลย