ยุคปัจจุบันที่แต่ละประเทศทั่วโลกได้เชื่อมต่อเข้าหากัน ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารและการเดินทางที่สะดวกสบาย ทำให้การขนส่งสินค้าต่างๆ ก็เป็นไปได้อย่างง่ายดายขึ้นด้วยเช่นกัน ไม่เพียงแต่ในภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่การส่งสินค้าส่วนตัวหลายอย่างก็สามารถทำได้ไม่ยาก หลายๆ คนที่อยากส่งของไปยังต่างประเทศ แต่ยังไม่แน่ใจในเรื่องของวิธีส่งของไปต่างประเทศผ่านการขนส่งต่างๆ ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง ในบทความนี้มีทริคง่ายๆ 3 ขั้นตอนการส่งสินค้าไปต่างประเทศ ง่ายๆ ครบจบ เข้าใจง่าย ได้อย่างปลอดภัยมาแนะนำกัน
ส่งสินค้าไปต่างประเทศ ต้องเตรียมตัวอย่างไร
วิธีส่งของไปต่างประเทศนั้นทำได้ไม่ยาก โดยสิ่งที่จำเป็นต้องรู้ก่อนคือข้อมูลต่างๆ ของสินค้าหรือพัสดุที่ต้องการส่งรวมไปถึงกฏเกณฑ์ต่างๆ ของประเทศปลายทางที่ต้องการจะส่งของไป ในการเลือกขนส่งและวิธีการส่งของไปต่างประเทศจึงควรเตรียมตัวด้วย 3 ทริคดังต่อไปนี้
1. ศึกษากฎเกณฑ์ประเทศปลายทาง และเตรียมเอกสารให้เรียบร้อย
อันดับแรกที่สำคัญที่สุดคือ ศึกษากฏเกณฑ์ของประเทศปลายทางและเตรียมเอกสารให้ครบถ้วน หลายประเทศจำเป็นที่จะต้องขอเอกสารหรือใบรับรองพัสดุ หรือสินค้าบางชนิดก่อนที่จะนำเข้าประเทศ รวมไปถึงต้องจ่ายภาษีด้วย
- ประเทศในสหภาพยุโรปหรือ EU จะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับพัสดุทุกชิ้นที่นำเข้าประเทศ โดยมีอัตราการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่แตกต่างกันออกไปจึงควรตรวจสอบอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศที่ต้องการส่งของ และจดทะเบียนภาษีเป็นผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย
- หากเป็นเจ้าของธุรกิจที่ต้องการส่งออกสินค้า ควรจดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลเพื่อความน่าเชื่อถือ
- ตรวจสอบว่าสินค้าที่ต้องการส่งออกนั้นเป็นสินค้าตามที่กฏหมายกำหนดหรือไม่ หากสินค้าเป็นสินค้าตามที่กฏหมายกำหนด ให้จดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกสินค้านั้นด้วย เช่น จดทะเบียนกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำหรับผู้ที่ส่งออกผลไม้เป็นสินค้าไปยังต่างประเทศ
- เตรียมเอกสารด้านศุลกากร ได้แก่ ใบขนส่งสินค้าขาออก ซึ่งมีข้อมูลทั่วไปของสินค้าอย่างผู้ส่งและผู้รับ ใบราคาสินค้าหรือใบแจ้งหนี้ จะต้องระบุราคาสินค้าตรงกับเอกสารอื่นๆ ใบกำกับการบรรจุหีบห่อสินค้า เป็นเอกสารที่ผู้ส่งออกให้ผู้ซื้อโดยจะต้องมีรายละเอียดทั่วไปของสินค้า เช่น น้ำหนักของสินค้า และเอกสารอย่างสุดท้ายคือคำร้องขอให้ตรวจสินค้าและบรรจุตู้สินค้า คือใบคำขอให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจสอบสินค้าว่าถูกต้องตามกฏหมายและสามารถส่งออกได้หรือไม่
2. แพ็คสิ่งของให้หนาแน่น และจ่าหน้าระบุสิ่งของให้ชัดเจน
นอกจากการเตรียมเอกสารต่างๆ เพื่อทำการส่งออกสินค้าและการส่งพัสดุแล้ว ทริคข้อต่อมาที่ควรศึกษาคือการบรรจุหีบห่อของสินค้าและพัสดุให้หนาแน่น รวมไปถึงการจ่าหน้าพัสดุให้ชัดเจนเพื่อให้การขนส่งถูกต้องและป้องกันการสูญหาย
- ซองเอกสารห้ามปิดด้วยกาวหรือเทปกาว ให้ใช้แม็กเย็บกระดาษ
- การส่งพัสดุเป็นกล่องห้ามใช้กาวหรือเทปกาว ให้ใช้เชือกผูกเท่านั้น
- หากเป็นสินค้าที่เสี่ยงต่อการแตกหักหรือเสียหายในระหว่างขั้นตอนการขนส่ง ควรห่อด้วยกันกระแทกอย่างแน่นหนา
- ตรวจสอบการจ่าหน้าซอง จะต้องเห็นรายละเอียดชัดเจน ถูกต้อง และจะต้องระบุข้อมูลของที่อยู่ในกล่องอย่างครบถ้วน เพื่อให้มีความสะดวกรวดเร็วต่อการตรวจสอบของประเทศปลายทางและป้องกันการถูกตีกลับ
3. เลือกขนส่งให้เหมาะกับสิ่งของและติดตามพัสดุ
ทริคข้อสุดท้ายคือการเลือกวิธีส่งของไปต่างประเทศที่เหมาะสมกับสินค้าที่ต้องการส่งและจะต้องติดตามเส้นทางการขนส่งสินค้าด้วย ซึ่งในการขนส่งก็มีวิธีการขนส่งที่หลากหลายทั้งทางเรือขนส่ง ขนส่งพัสดุย่อย ขนส่งทางอากาศ หรือภาคพื้นดิน เพื่อความสะดวกสบายในการขนส่งสินค้า หากขนส่งสินค้าด้วย AIRPORTELs ที่ให้บริการการขนส่งสินค้าไปยังต่างประเทศด้วยวิธีส่งของไปต่างประเทศที่หลากหลายเพื่อตอบโจทย์การขนส่งสินค้าที่เหมาะสม รวมไปถึงการให้บริการอื่นๆ เพื่ออำนวยความสะดวกก็จะช่วยให้การขนส่งสินค้าเป็นไปได้อย่างราบรื่นมากขึ้น
- บริการหลักของ AIRPORTELs คือการส่งกระเป๋า ซึ่งมีความสะดวกสบายด้วยเคาเตอร์รับฝากส่งกระเป๋าหลายสาขา ทั้งที่สนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินดอนเมือง ห้างสรรพสินค้า Central World ห้างสรรพสินค้า MBK Center และห้างสรรพสินค้า Terminal21
- AIRPORTELs ยังมีบริการขนส่งสินค้าและพัสดุต่างๆ นอกจากการขนส่งกระเป๋าไปยังต่างประเทศด้วยวิธีส่งของไปต่างประเทศทั้งทางอากาศ ภาคพื้นดิน ทางเรือขนส่งสินค้าและการขนส่งพัสดุย่อยอีกด้วย
รูปแบบการขนส่ง
เมื่อวิธีการส่งของไปต่างประเทศนั้นสามารถเลือกได้จากหลายเส้นทาง เพื่อช่วยให้สามารถตัดสินใจเลือกเส้นทางได้อย่างเหมาะสมกับพัสดุและสินค้าที่ต้องการ จึงควรศึกษาวิธีส่งของไปต่างประเทศต่างๆ ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร
1. การขนส่งทางอากาศ (Airmail)
วิธีส่งของไปต่างประเทศวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักกันมากคือการขนส่งทางอากาศ เพราะสามารถส่งของได้อย่างรวดเร็ว
วิธีการส่ง
การขนส่งสินค้าทางอากาศหรือการขนส่งสินค้าด้วยเครื่องบิน เป็นการขนส่งที่มีทั้งการดำเนินการโดยสายการบินต่างๆ หรือบริษัทรับขนส่งสินค้าทางอากาศที่ซื้อระวางจากสายการบินมาอีกทอดหนึ่ง โดยในปัจจุบันนั้นวิธีส่งของไปต่างประเทศด้วยการขนส่งทางอากาศมีความแพร่หลายมาก ทางการขนส่งทางอากาศจึงพัฒนาให้เครื่องบินสามารถบรรจุสินค้าได้มากขึ้นและมีอุปกรณ์และบริการในการจัดส่งสินค้าที่ครบครันมากขึ้น รวมไปถึงการขยายคลังสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการในการขนส่งสินค้าทางอากาศด้วย
ข้อดี
ข้อดีของวิธีส่งของไปต่างประเทศด้วยการขนส่งสินค้าทางอากาศคือใช้เวลาในการขนส่งน้อย อาจเรียกได้ว่าเป็นวิธีส่งของไปต่างประเทศที่รวดเร็วที่สุด ทำให้เหมาะกับสินค้าที่ต้องการความรวดเร็วในการขนส่งและเผยแพร่ออกสู่ตลาด รวมไปถึงสินค้าที่อาจเน่าเสียได้ง่ายด้วย
ข้อเสีย
ข้อเสียคือ การเป็นการขนส่งที่ใช้อัตราค่าบริการสูงหากเทียบกับการขนส่งแบบอื่นๆ และยังเป็นขนส่งที่อาจขึ้นอยู่กับสภาพอากาศได้ด้วย เช่น หากเกิดพายุอาจทำให้มีความล่าช้า เป็นต้น
หน่วยงานที่ให้บริการ Service นี้ในไทย
หน่วยงานที่ให้บริการขนส่งทางอากาศในประเทศไทย เช่น
- บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน)
- บริษัท ไทยสมายล์ แอร์เวย์ จำกัด
2. การขนส่งแบบผสม หรือแบบพัสดุย่อย SAL (Surface Air Lifted)
เมื่อการส่งของไปต่างประเทศด้วยวิธีการขนส่งทางอากาศอาจเป็นการขนส่งที่ต้นทุนสูงไม่คุ้มค่ากับสินค้า จึงเกิดการขนส่งแบบผสมหรือแบบพัสดุย่อยที่เข้ามาช่วยผู้ส่งออกสินค้ารายย่อยหรือการขนส่งพัสดุขนาดเล็กขึ้น
วิธีการส่ง
การขนส่งแบบผสมหรือแบบพัสดุย่อย เป็นวิธีส่งของไปต่างประเทศที่พ่อค้าแม่ค้าหลายท่านนิยมใช้ เหมาะกับการส่งพัสดุขนาดเล็ก น้ำหนักเบา โดยเป็นวิธีส่งของไปต่างประเทศที่ผสมการเดินทางทั้งทางอากาศและภาคพื้นดิน คือจะจัดส่งโดยทางอากาศข้ามประเทศก่อนแล้วจึงจัดส่งด้วยรถยนต์เมื่อถึงประเทศปลายทาง
ข้อดี
ข้อดีของวิธีส่งของไปต่างประเทศด้วยการขนส่งแบบพัสดุย่อย คือราคาที่ถูกกว่าการขนส่งทางอากาศและใช้เวลาไม่นาน เหมาะกับพัสดุขนาดเล็กและน้ำหนักเบา
ข้อเสีย
ข้อเสียของวิธีส่งของไปต่างประเทศด้วยการขนส่งแบบพัสดุย่อย คือไม่รวดเร็วเท่าการขนส่งทางอากาศ จึงอาจส่งผลเสียต่อสิ่งของที่เน่าเสียได้ง่ายหรือต้องการความรวดเร็วในการขนส่ง
หน่วยงานที่ให้บริการ Service นี้ในไทย
หน่วยงานที่ให้การบริการขนส่งแบบพัสดุย่อยในประเทศไทย เช่น
- ไปรษณีย์ไทย
3. การขนส่งแบบภาคพื้นดิน (Surface mail)
หากเป็นการขนส่งแบบดั้งเดิม หลายคนคงคุ้นเคยกับการขนส่งสินค้าภาคพื้นดิน เพราะเป็นวิธีส่งของไปต่างประเทศที่มีความยุ่งยากน้อยกว่าวิธีอื่นๆ แต่จะมีข้อดีหรือข้อเสียอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ
วิธีการส่ง
การขนส่งสินค้าแบบภาคพื้นดิน คือวิธีส่งของไปต่างประเทศทางยานพาหนะภาคพื้นดินอย่างรถยนต์ เป็นวิธีขนส่งที่มาเป็นอันดับแรกๆ ในการอุตสาหกรรมการขนส่ง
ข้อดี
ข้อดีของวิธีส่งของไปต่างประเทศด้วยการขนส่งแบบภาคพื้นดิน คือมีราคาถูกที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับการขนส่งแบบอื่นๆ
ข้อเสีย
ข้อเสียของวิธีส่งของไปต่างประเทศด้วยการขนส่งแบบภาคพื้นดิน คือมีระยะเวลาในการขนส่งที่ค่อนข้างนาน ไม่เหมาะกับของที่ต้องการความรวดเร็วในการขนส่งหรือของที่เน่าเสียได้อย่างอาหารหรือของสด
หน่วยงานที่ให้บริการ Service นี้ในไทย
หน่วยงานที่ให้การบริการขนส่งแบบภาคพื้นดินในประเทศไทย เช่น
- บริษัทคาร์โก้
4. การขนส่งแบบผ่านเรือขนส่งสินค้า (Ocean Freight)
เมื่อพิจารณาจากวิธีส่งของไปต่างประเทศจะเห็นได้ว่ามีความหลากหลายทั้งวิธีขนส่งและระยะเวลาที่ใช้ในการขนส่ง อย่างไรก็ตาม สำหรับการส่งออกสินค้าบางอย่างที่ต้องการขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ การขนส่งสินค้าทางอากาศหรือทางรถยนต์อาจไม่ตอบโจทย์ จึงเกิดการขนส่งสินค้าผ่านเรือขนส่งสินค้าเพื่อรองรับการขนส่งสินค้าที่มีขนาดใหญ่หรือปริมาณมากขึ้น
วิธีการส่ง
การขนส่งสินค้าแบบผ่านเรือขนส่งสินค้า เป็นวิธีส่งของไปต่างประเทศที่ใช้การขนส่งทางเรือขนส่งทางน้ำ โดยสามารถบรรจุในตู้คอนเทนเนอร์หลากหลายขนาดได้ตามความต้องการของผู้ส่ง
ข้อดี
ข้อดีของวิธีส่งของไปต่างประเทศด้วยการขนส่งแบบผ่านเรือขนส่งสินค้า คือสามารถส่งของไปต่างประเทศจำนวนมากต่อครั้งได้ สามารถเลือกตู้ขนส่งสินค้าที่เหมาะสมกับสินค้าได้ อีกทั้งยังต้นทุนค่อนข้างต่ำจึงทำให้มีค่าบริการไม่แพงด้วย
ข้อเสีย
ข้อเสียของการขนส่งแบบผ่านเรือขนส่งสินค้า คือใช้เวลาค่อนข้างนาน ต้องมีการถ่ายโอนสินค้าขึ้นบกอีกทอดหนึ่ง อีกทั้งไม่เหมาะกับการขนส่งพัสดุน้อยชิ้นเพราะจะทำให้ต้นทุนสูงและไม่คุ้มค่า
หน่วยงานที่ให้บริการ Service นี้ในไทย
หน่วยงานที่ให้การบริการขนส่งแบบผ่านเรือขนส่งสินค้าในประเทศไทย เช่น
- บริษัท AGLT
- บริษัท Ezyship
เมื่อเกิดปัญหาในการขนระหว่างต่างประเทศทำอย่างไร ?
หากว่าสินค้าหรือพัสดุมีความเสียหาย ทางผู้ขนส่งจะมีการชดเชยโดย
- ทั่วไปแล้วการขนส่งจะมีการชดเชยความเสียหายตามจริง หรือไม่เกินประมาณ 3,000-10,000 บาท ขึ้นอยู่กับน้ำหนักหรือกฏเกณฑ์ของขนส่งแต่ละบริษัท
- หากเกิดความเสียหายแล้วเกิดการฟ้องร้อง จะต้องปฏิบัติตามกฏหมายของประเทศต้นทางหรือบริษัทที่ขนส่ง
วิธีส่งของไปต่างประเทศ แม้จะมีหลากหลายวิธีและหลากหลายขั้นตอนให้เตรียมตัว ไม่ว่าจะเป็นการศึกษากฏหมายการขนส่งของแต่ละประเทศหรือการเตรียมเอกสารเพื่อขอส่งออกสินค้าต่างๆ แต่หากเข้าใจทริคง่ายๆ ในการเตรียมตัวก็จะช่วยให้สามารถส่งออกสินค้าหรือส่งของไปต่างประเทศได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ จุดที่สำคัญคือการศึกษาวิธีการขนส่งทั้งทางอากาศ การขนส่งแบบผสม การขนส่งภาคพื้นดินและการขนส่งทางเรือสินค้าให้ละเอียด เพื่อให้สามารถเลือกการขนส่งที่ตอบโจทย์กับสินค้าได้มากที่สุด