เตรียมตัวก่อน รู้ก่อน รู้ขั้นตอนในการเข้าพักโรงแรม

รู้หรือไม่ว่าหนึ่งในปัญหาสำคัญของมือใหม่หัดเที่ยว มักจะเกิดขึ้นระหว่างการเช็คอินโรงแรม เพราะในภาพจำหลายคนอาจจะคิดว่า แค่ จอง จ่าย จบ ก็เดินไปรับกุญแจเข้าห้องพักกันได้แล้ว แต่จริง ๆ แล้ว การเข้าพักกับโรงแรมเองก็ต้องใช้ ขั้นตอน และเอกสาร พร้อมทั้งกติกาสากลประกอบด้วย ซึ่งวันนี้ AIRPORTELs จะพาไปดูวิธีการจองโรงแรมไปจนถึงการเช็คอินเช็คเอาท์ ว่ามีอะไรบ้างที่ผู้อ่านต้องระวัง !

ขั้นตอนการเข้าพักโรงแรม
booking

การจองห้องพัก

จริง ๆ การจองห้องพักนั้น ถูกออกแบบมาให้เป็นขั้นตอนที่ง่ายและสะดวกที่สุดอยู่แล้วในการหาที่พัก เพราะถ้าขั้นตอนการจองลำบาก ก็ยากที่จะทำให้ลูกค้าเลือกเข้ามาใช้บริการกับโรงแรมต่าง ๆ ซึ่งโรงแรมส่วนมากนั้นจะขอแค่ชื่อ ช่องทางการติดต่อ และมัดจำเท่านั้น หรือถ้าเราจองผ่านนายหน้าที่เชื่อถือได้บางเจ้าอาจจะไม่จำเป็นต้องวางเงินมัดจำด้วย ซึ่งการจองโรงแรมนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบได้แก่

การจองด้วยตัวเอง หรือการจองโดยตรง

หรือพูดง่าย ๆ คือการติดต่อขอจองห้องพักกับโรงแรมโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อผ่านโทรศัพท์ เมลล์ โซเชียลมีเดีย หรือวอร์คอินเซอรเวย์ (Walk-in Survey) ซึ่งส่วนมากนั้นจะเหมาะกับการจองห้องจำนวนมาก ที่ต้องการสำรวจสิ่งอำนวยความสะดวกของโรงแรมก่อน รวมไปถึงต้องการต่อรองราคาด้วยตัวเอง เนื่องจากตัวเองมีกำลังในการต่อรอง หรือไม่เช่นนั้นผู้เข้าพักอาจจะเลือกจองแบบนี้เพราะต้องการรีเควสพิเศษบางอย่างจากโรงแรม แต่หากเราเป็นนักท่องเที่ยวธรรมดาที่ไม่ได้มีความต้องการพิเศษอะไร การจองแบบนี้มีโอกาสจะได้ราคาห้องที่สูงกว่าการจองผ่านนายหน้า จึงแนะนำให้ทำการเทียบราคาให้ดีก่อนตัดสินใจจอง

การจองผ่านนายหน้า

การจองโรงแรมผ่านนายหน้าอาจจะฟังเหมือนเราจะต้องเสียเงินเพิ่ม แต่จริง ๆ แล้วเป็นเรื่องกลับกัน โดยเฉพาะกับบริษัทขนาดใหญ่ หรือนายหน้าออนไลน์ เนื่องจากบริษัทเหล่านี้มีกำลังในการต่อรองมาก ทำให้ได้ห้องพักที่มีราคาถูกกว่า ฉะนั้นเราจะเห็นได้ว่าห้องพักที่สั่งจองผ่านนายหน้าอย่าง Traveloka Booking หรือ Agoda นั้นมีราคาถูกกว่า นอกจากนั้นยังอาจจะมีบริการเสริมอื่น ๆ อย่าง ส่วนลดตามโอกาส หรือการจองแบบไร้มัดจำ แต่สิ่งที่ต้องระวังเป็นอย่างยิ่งในการจองที่พักผ่านนายหน้าคือ การตกหล่นของข้อมูล หรือการโดนหลอกจากนายหน้าที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ ฉะนั้นใครที่จองผ่านนายหน้าทั้งออนไลน์และออฟไลน์ แนะนำให้มีการโทรไปสอบถามโรงแรมทั้งก่อนจอง และหลังจอง เพื่อความครบถ้วนของข้อมูล

ข้อแนะนำและข้อควรระวังในการการจองห้องพัก

  • เทียบราคาการจองแบบโดยตรง และผ่านนายหน้าก่อนเสมอ
  • ตรวจสอบก่อนเสมอว่าโรงแรมยังให้บริการอยู่หรือไม่ เพราะบางครั้งโรงแรมที่ปิดไปแล้ว อาจจะยังเปิดการจองออนไลน์ผ่านนายหน้าเอาไว้อยู่
  • จองแบบยกเลิกได้เสมอ หรือทำประกันท่องเที่ยวเอาไว้หากจำเป็น เพราะเราไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น
  • หลังจองตรวจสอบเสมอว่าโรงแรมได้รับการจองของเราหรือยัง
  • การจองแบบจองแล้วเข้าพักเลยอาจจะเกิดความผิดพลาดหรือตกหล่นได้ เลือกที่พักที่มั่นใจได้ว่ามีพนักงานให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
  • พิมพ์ใบยืนยันการจองหรือจดหมายยืนยัน และหลักฐานการจ่ายเงินไว้เก็บไว้ในกรณีที่มีปัญหา และนำไปในวันเช็กอินด้วย
ขั้นตอนการพักเข้าโรงแรม

การเช็กอิน ขั้นตอนในการเข้าพักโรงแรม

การเช็กอิน คือขั้นตอนในการยืนยันตนเพื่อเข้าพักกับโรงแรม โดยมีจุดประสงค์ในการยืนยันตัวผู้เข้าพัก และเก็บไว้เป็นหลักฐาน ทั้งเพื่อความปลอดภัยของผู้เข้าพัก แขกท่านอื่นในโรงแรม และเพื่อแจ้งข้อมูลใด ๆ ที่ผู้เข้าพักควรทราบนั่นเอง โดยในขั้นตอนนี้เองก็เป็นช่วงที่เหมาะที่สุดสำหรับการแจ้งความต้องการใด ๆ หรือสอบถามบริการที่ต้องการกับทางโรงแรมโดยตรง

ขั้นตอนการเช็กอินโรงแรมเป็นอย่างไรบ้าง ?

  1. ผู้เข้าพักจะต้องแจ้งเรื่องการจองห้องพักกับพนักงานภายในโรงแรม โดยมีการแสดงหลักฐานการจอง เช่น ใบจองห้องพัก หรือรหัสการจองที่ได้รับจากเว็บไซต์รับจอง
  2. ผู้เข้าพักจะต้องยืนยันตัวตนเพื่อเป็นการยืนยันว่าเขาเป็นผู้ที่จองห้องพักจริงๆ โดยการยืนยันตัวตนมักจะใช้บัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทางเป็นเอกสารประจำตัว
  3. ผู้เข้าพักจะต้องกรอกรายละเอียดต่างๆ เพื่อให้โรงแรมมีข้อมูลเพียงพอในการให้บริการ รายละเอียดที่ต้องกรอกก็อาจจะมี ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล และอื่นๆ
  4. พนักงานจะแนะนำโรงแรมและกฎระเบียบต่าง ๆ เช่น ตารางเวลาเปิด-ปิดของสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในโรงแรมการละเว้นเสียงดังในช่วงเวลาไหนถึงเวลาไหน เป็นต้น
  5. พนักงานจะมอบกุญแจหรือคีย์การ์ดให้ลูกค้า เพื่อใช้ในการเปิดประตูห้องพัก และจะพาลูกค้าไปยังห้องพักโดยส่วนใหญ่จะมีการแนะนำและแสดงแหล่งจ่ายไฟฟ้า สัญญาณอินเตอร์เน็ต โทรทัศน์ และอุปกรณ์อื่นๆ ในห้องพัก ไปด้วยในขั้นตอนนี้

เอกสารใดบ้างที่ใช้ยืนยันตนในโรงแรมได้

  • หนังสือเดินทาง
  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • ใบขับขี่

เรื่องอะไรบ้างที่ควรแจ้งตอนเช็คอิน

  • ห้องสูบบุหรี่ / ไม่มีบุหรี่
  • ขออัพเกรดห้อง
  • ขอชั้นสูง / ชั้นเตี้ย
  • ขอไม่รับ มินิบาร์ หรือ ไม่รับแอลกอฮอล์ในมินิบาร์
  • จองดินเนอร์
  • Late Check-out / Early Check-in

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการเช็คอินโรงแรม

  • การเก็บข้อมูลผู้เข้าพักของโรงแรมตามระเบียบจริง ๆ นั้นต้องทำการเก็บทุกคน ฉะนั้นทุกคนในทริปต้องเตรียมหลักฐานยืนยันตัวเองเอาไว้ แม้ว่าในทางปฏิบัติโรงแรมอาจจะไม่ได้ขอทั้งหมด
  • การเช็คอินโรงแรมส่วนมากจะมีเวลามาตรฐาน อยู่ที่ช่วงบ่ายโมงเป็นต้นไป เพื่อเป็นการเตรียมห้องให้เรียบร้อย แต่บางโรงแรมก็ถูกออกแบบให้เช็กอิน และเช็กเอาท์ได้ ตลอด 24 ชั่วโมง
  • หากไปถึงโรงแรมก่อนเวลาเช็คอิน หลายโรงแรมจะอนุญาตให้ใช้ Facility บางส่วนก่อนเพื่อให้แขกได้ฆ่าเวลา สามารถสอบถามโรงแรมได้ว่ามีบริการใดไหมที่เราสามารถเข้าไปใช้ได้ก่อน
  • บางโรงแรมสามารถขอ Early Check-in ได้ ฉะนั้นอย่าลืมสอบถามและแจ้งความประสงค์เพื่อทำให้แผนเที่ยวของเราคล่องตัวที่สุด
  • โรงแรมส่วนมากจะมีการเก็บค่ามัดจำผู้เข้าพัก เพื่อประกันความเสียหายระหว่างเข้าพัก ซึ่งหากไม่มีปัญหาผู้เข้าพักจะได้คืนเมื่อทำการเช็กเอาท์

Early Check-in คืออะไร ต้องทำเรื่องอย่างไร ?

การขอ Early Check-in คือการแจ้งโรงแรมเอาไว้ว่าเราต้องการเข้าไปพักก่อนเวลาทั่วไป ซึ่งอาจจะเกิดจากแผนเที่ยว เที่ยวบิน หรือสาเหตุอื่น ๆ ซึ่งแล้วแต่โรงแรมจะอนุมัติ หรือสามารถทำตาคำร้องได้หรือไม่ โดยการทำเรื่อง Early Check-in นั้นก็ไม่ยาก เพียงแค่สอบถามหรือบอกโรงแรมโดยตรงได้เลย ทว่าเราแนะนำว่าควรให้เวลาโรงแรมเตรียมการอย่างน้อย 4-8 ชั่วโมง

Check out

วิธีการเช็กเอาท์โรงแรม

การเช็คเอาท์โรงแรมเป็นขั้นตอนสิ้นสุดการพักผ่อนในโรงแรม ที่จะทำในวันสุดท้ายของการพัก โดยในวันนั้นหลังจากที่เราตื่นนอนและเตรียมตัวเรียบร้อยแล้ว เราก็สามารถนำกุญแจห้องไปยื่นที่เคาน์เตอร์รีเซปชั่นได้เลย แน่นอนว่าหลังจากยื่นกุญแจไปแล้ว เราก็จะกลับเข้าไปในห้องของเราไม่ได้แล้วเช่นกัน โดยส่วนมากโรงแรมจะมีเวลาเช็คเอาท์สากลอยู่ในช่วง 10-11 โมงเพื่อเตรียมห้องให้ทันลูกค้าที่จะเข้ามาพัก แต่ในบางกรณีที่โรงแรมไม่ได้มีแขกเยอะหรือมีคนรอใช้ห้อง ก็สามารถทำเรื่องของอนุโลมเช็กเอาท์เลทได้

ขั้นตอนการเช็กเอาท์โรงแรมเป็นอย่างไรบ้าง ?

  1. แจ้งรีเซปชั่นและส่งมอบกุญแจห้องคืน
  2. พนักงานจะเข้าตรวจสอบห้องว่ามีความเสียหายใดไหม และ มินิบาร์อยู่ครบรึเปล่า
  3. หลังจากการตรวจสอบเมื่อไม่มีปัญหา โรงแรมคืนค่ามัดจำห้อง และคิดเงินบริการ Pre-Paid ที่เราใช้ไปในโรงแรม
  4. เป็นอันเสร็จสิ้นการเช็คเอาท์

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการเช็คเอาท์โรงแรม

  • เวลาการเช็กเอาท์สากลอยู่ที่ช่วง 10-11 โมง
  • เลทเช็กเอาท์จำเป็นต้องแจ้งก่อน ส่วนมากจะได้ต่อเวลาไม่เกินบ่าย 2 โมง
  • หากแจ้งออกเกินเวลามาก ๆ โรงแรมอาจจะคิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • โรงแรมจะเก็บของที่เราลืมเอาไว้ในห้องให้และติดต่อกลับไว้ภายหลัง แต่ก็ควรตรวจสอบให้เรียบร้อยก่อนออกจากห้อง
  • บางโรงแรม Minibar ใช้ระบบ Sensor ฉะนั้นซื้อของมาใส่คืนก็อาจจะเสียเงินเหมือนกัน

Late Check-out คืออะไร ต้องทำเรื่องอย่างไร ?

การขอ Late Check-out คือการแจ้งโรงแรมเอาไว้ว่าเราต้องการพักต่ออีกเล็กน้อย อาจจะเพราะมีธุระที่ยังไม่เสร็จ หรืออยากใช้บริการบางอย่างของโรงแรมต่ออีกนิด การ Late Check-out ถือว่าเป็น Optional Service ที่โรงแรมไม่จำเป็นต้องมอบให้ผู้เข้าพักก็ได้ ฉะนั้นอย่าคาดหวังว่าทุกโรงแรมจะใจดีเหมือนกัน

สิ่งที่ควรทำเมื่อเข้าพัก

สิ่งที่ควรทำเมื่อเข้าพักโรงแรม

ต่อไปนี้ก็เป็นข้อแนะนำประกอบกับขั้นตอนอื่นๆ ถึงสิ่งทั่วไปที่ควรทำเมื่อเข้าพักโรงแรม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาระหว่างการพักอาศัย และเพื่อความปลอดภัยต่อร่างกายและทรัพย์สิน ดังนี้

  • เมื่อเข้าพักโรงแรมควรปฏิบัติตามกฎของโรงแรมอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันไม่ให้เสียค่าปรับหากมีการละเมิดกฎของที่พัก 
  • ควรชาร์จแบตโทรศัพท์ให้เต็มอยู่เสมอ เพื่อป้องกันเหตุการณ์ฉุกเฉินที่จะต้องติดต่อให้คนมาช่วย 
  • ควรตรวจสอบความแน่นหนาของประตูให้ดี เพื่อป้องกันการเข้าได้ง่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต 
  • ห้ามตรวจสอบปลั๊กไฟในห้องเพื่อป้องกันปัญหาความขัดข้องไฟฟ้า
พักโรงแรม

สิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อเข้าพักโรงแรม

เมื่อเข้าพักโรงแรม นอกจากจะมีขั้นตอนการเข้าพักโรงแรมที่ควรทำแล้วยังมีสิ่งที่ไม่ควรทำเด็ดขาด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาและเพื่อความปลอดภัยทั้งร่างกายและทรัพย์สินเช่นกัน ดังนี้

  • ไม่ควรทำเสียงดังโวยวาย ควรลดเสียงดังๆ ที่อาจจะรบกวนคนอื่นในโรงแรม เช่น เล่นเพลงดังหรือพูดคุยดังเกินไป
  • ไม่ควรวางของมีค่าไว้นอกห้องหรือนอกกระเป๋า ควรนำของมีค่า เช่น ทองคำ อัญมณี หรือเงินสด ไว้ในตู้เซฟที่โรงแรมเตรียมไว้ให้ และควรปิดกระเป๋าให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันการขโมย
  • ไม่ควรหยิบของในห้องกลับไป ไม่ควรหยิบของที่ไม่ได้เป็นของตนเอง เพราะอาจจะเข้าข่ายการลักลอบนำของออกนอกโรงแรมและอาจได้รับบทลงโทษได้
  • ไม่ควรลักลอบนำสัตว์เข้าห้อง ควรปฏิบัติตามกฎของโรงแรม ซึ่งบางโรงแรมอาจจะไม่อนุญาตให้เข้าพักพร้อมสัตว์ เพื่อป้องกันไม่ให้เสียค่าปรับในภายหลัง
  • ไม่เปิดเผยเลขห้องให้กับคนอื่นหรือผ่านโซเชียลมีเดีย เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาความปลอดภัย
  • ต้องตรวจสอบค่าใช้จ่ายของห้องพักกับโรงแรมให้เรียบร้อยก่อนเซ็นที่ใบเสร็จ และหากมีข้อสงสัยใดๆ ให้สอบถามพนักงานโรงแรมเพิ่มเติม
  • ห้ามเปิดประตูห้องให้กับคนแปลกหน้า เพื่อความปลอดภัยของทรัพย์สินและความปลอดภัยของร่างกายของผู้พักอาศัยในห้องโรงแรม
  • รักษาความสะอาดและรักษาความเรียบร้อยของห้องพัก ไม่ควรสร้างความเสียหายหรือทิ้งขยะในห้องพักจนทำให้เกิดความสกปรก
  • อย่าเปิดที่จอดรถหรือรับบริการจากผู้ไม่รู้จักที่อาจเป็นอันตราย
  • อย่าเก็บของมีค่าอย่างเงินสดหรือเครื่องประดับให้ที่ห้องพักโดยไม่มีความจำเป็น เพราะอาจเสี่ยงต่อการหลอกลวงหรือการขโมย
  • ติดต่อพนักงานโรงแรมหรือติดต่อศูนย์สนับสนุนการเดินทางเมื่อเกิดปัญหาหรือเหตุการณ์ฉุกเฉินที่เกี่ยวข้องกับการเข้าพักโรงแรม

การทำตามขั้นตอนต่างๆ ของการเช็คอินเข้าพักโรงแรมจะช่วยให้ทุกอย่างเป็นไปได้รวดเร็วและถูกต้องเป็นไปตามกฎของโรงแรม โดยจะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาและมีความปลอดภัยในระหว่างการเข้าพักโรงแรม
เมื่อมีการเดินทางและมีสัมภาระหนัก การใช้บริการรับส่ง-ฝากกระเป๋ากับ AIRPORTELs Luggage Delivery จะช่วยลดภาระที่ต้องใช้ในการขนกระเป๋า ทำให้การเดินทางเป็นไปอย่างสะดวกและคล่องตัวยิ่งขึ้น
AIRPORTELs Luggage Delivery จึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการขนกระเป๋าเอง โดยสามารถส่งกระเป๋าไปถึงโรงแรมโดยตรง และไม่ต้องเก็บสัมภาระในระหว่างเดินทาง ทำให้ลดความเสี่ยงในการสูญหายหรือเสียหายของสิ่งของที่อาจเกิดขึ้นได้ในการขนกระเป๋าเอง

รวม 11 เว็บจองตั๋วเครื่องบิน และโรงแรมราคาถูก อัปเดตล่าสุดปี 2023 

เคยเป็นไหม? เลื่อนดูโซเชียลมีเดียเมื่อไหร่ ก็เจอแต่เพื่อนๆ ชีวิตดี ได้ออกเดินทางท่องเที่ยวจนน่าอิจฉา เห็นแล้วก็อยากจะเก็บกระเป๋าเดินทาง แล้วออกไปเผชิญโลกกว้างแบบคนอื่นๆ แต่เงินในบัญชีก็ยังไม่อำนวย วันนี้ Airportels จึงได้ทำการรวบรวม 11 เว็บจองตั๋วเครื่องบินราคาถูก และ เว็บจองโรงแรมราคาถูก มาเอาใจนักเดินทางสายประหยัด ให้สายเที่ยวได้จองทั้งตั๋วเครื่องบินและโรงแรมในราคาแบบสบายกระเป๋า พร้อมโปรโมชันสุดปังที่จะทำให้รู้ว่าของถูกและดีมีอยู่จริง ข้อมูลอัปเดตล่าสุดในปี 2023 ที่สายเที่ยวไม่ควรพลาด จะมีเว็บอะไรบ้างตามไปดูกันเลย

1. Agoda

เว็บไซต์ OTA (Online Traveling Agency) รุ่นเก๋าที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2005 และยังคงได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะในฝั่งเอเชีย หากถามถึงเว็บจองตั๋วเครื่องบินและที่พักราคาถูกแล้วละก็ Agoda จะเป็นหนึ่งในชื่อที่ผู้คนมักจะต้องนึกถึงอย่างแน่นอน เพราะเป็นเว็บที่ช่วยค้นหาได้ทั้งที่พักและโรงแรมราคาถูกในเวลาเดียวกัน และยังครอบคลุมทั่วโลก สามารถใช้ค้นหาเที่ยวบินและที่พักทั้งภายในและนอกประเทศได้อย่างง่ายดายในราคาที่เหมาะสม 

นอกจากนี้การใช้งานเว็บไซต์ก็ตรงไปตรงมา มีตัวกรองที่ไม่ซับซ้อนแต่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แถมยังมีแอปพลิเคชันมือถือสำหรับทั้ง iOS และ Android อีกด้วย จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่ Agoda ยังคงครองใจนักท่องเที่ยวสายประหยัดหลายๆ คน ในฐานะ เว็บจองโรงแรมและตั๋วเครื่องบินราคาถูก อันดับต้นๆ ของเอเชีย

ข้อดี

  • เว็บไซต์ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน มีตัวกรองที่มีประสิทธิภาพ
  • สะดวกสบาย สามารถจองที่พักและไฟล์ทได้ในเวลาเดียวกัน
  • มีห้องพักที่หลากหลาย ครอบคลุมหลายประเทศทั่วโลก
  • สามารถเลือกได้ว่าจะชำระเงินทันที หรือจ่ายทีหลัง

ข้อเสีย

  • มีการแบ่งที่พักออกเป็นหลายระดับ ซึ่งเงื่อนไขในการยกเลิกการจองในแต่ละระดับก็แตกต่างกันออกไป อาจทำให้เกิดการสับสน และทำให้ต้องเสียเงินเพิ่มเพื่อทำการยกเลิกในบางกรณี
  • หากทำการค้นหาที่พักในช่วงที่มีผู้ใช้งานเยอะ อาจทำให้ราคาพุ่งสูงได้
  • มีการคิดภาษีและค่าบริการซึ่งอาจทำให้ราคาแพงกว่าปกติ

2. Airasia.com

สายการบินโลว์คอสต์เชื้อสายมาเลเซีย ที่ครองใจเหล่านักเดินทางสายประหยัดมาเป็นเวลาช้านาน หลายๆ คนอาจจะยังไม่รู้ว่า เว็บไซต์ของ Airasia นั้น นอกจากบริการในการจองตั๋วเครื่องบินแล้ว ยังมีบริการจองโรงแรมราคาถูก และจองรถเช่าอีกด้วย โดยเป็นการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในช่วง ตุลาคมของปี พ.ศ. 2565 ซึ่งได้มีการปล่อย แอปพลิเคชัน airasia Super App ออกมา โดยมีเป้าหมายในการผลักดันให้ Airasia กลายเป็น เว็บ OTA อันดับหนึ่งในเขตอาเซียน ในเรื่องของการจองตั๋วเครื่องบินและโรงแรม  

ข้อดี

  • มีโปรโมชันราคาพิเศษออกมาเรื่อยๆ ทำให้สามารถจองตั๋วเครื่องบินได้ในราคาที่คุ้มค่า
  • เว็บไซต์มีความเรียบง่าย ใช้งานได้ง่ายไม่ยุ่งยาก
  • มีแอปพลิเคชัน จึงสามารถทำการค้นหาและจองตั๋วได้เพียงแค่มีสมาร์ทโฟน

ข้อเสีย 

  • อาจไม่ได้ตั๋วที่ราคาถูกเสมอไปหากไม่ได้จองในช่วงโปรโมชัน
  • เว็บล่มหรือมีปัญหาบ่อยในช่วงปล่อยโปรโมชัน เนื่องจากมีผู้ที่ต้องการเป็นจำนวนมาก
  • หากจองเที่ยวบินอื่นๆ ผ่านเว็บของ Airasia เมื่อเกิดปัญหา อาจทำให้เกิดความสับสน และความยุ่งยากในการแก้ไขปัญหา หรือหาผู้รับผิดชอบ

3. Airpaz

เว็บ OTA สัญชาติอินโดนีเซีย ซึ่งเริ่มก่อตั้งตั้งแต่ปี 2011 เป็นต้นมา Airpaz เป็นเว็บจองตั๋วเครื่องบินและโรงแรมราคาถูก ที่มีรูปแบบการใช้งานที่ตรงไปตรงมา โดยสามารถเลือกจองได้ทั้งตั๋วเครื่องบินและที่พัก โดยระบบจะทำการค้นหาไฟล์ทหรือที่พัก และเรียงลำดับจากราคาน้อยไปราคาที่สูงที่สุด นอกจากนี้ยังมีแท็บโปรโมชันที่รวบรวมส่วนลดเด็ดๆ จากบัตรเครดิตต่างๆ เรียกได้ว่าแจกส่วนลดกันแบบชัดๆ เน้นๆ ไม่มีกั๊กอย่างแน่นอน 

ข้อดี

  • เว็บใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ได้ต้องการใช้ตัวกรองขั้นสูงเหมือนเว็บอื่นๆ
  • นอกจากการชำระเงินจากบัตรเครดิต แอปธนาคาร เคาน์เตอร์เซอร์วิส และการโอนเงินแล้ว ยังมีช่องทางการชำระเงินอื่นๆ เช่น ผ่าน Alipay Cenpay บุญเติม หรือ rabbit Line Pay อีกด้วย 

ข้อเสีย

  • ช่องทางการติดต่อหลักต้องทำผ่านอีเมล ทำให้การติดต่อประสานงานเป็นไปอย่างยากลำบาก
  • ต้องทำการจองไฟล์ทและที่พักแยกกัน ไม่มีบริการจองแบบ Bundle เหมือน OTA เจ้าอื่น
  • ไม่มีบริการจองรถเช่า

4. Cheap Flights

Cheapflights คือ เว็บไซต์ค้นหาเที่ยวบินและที่พัก ที่ในปี 2023 นี้จะมีอายุครบ 27 ปีพอดี โดยในปัจจุบัน ได้ถูกซื้อหุ้นและกลายเป็นบริษัทลูกของกลุ่ม Booking Holdings เป็นที่เรียบร้อย ทำให้เป็นหนึ่งในเว็บไซต์ตัวกลางในการหาตั๋วเครื่องบิน หรือเว็บจองโรงแรมราคาถูกที่สามารถไว้วางใจได้ ตัวเว็บไซต์มีความเรียบง่าย ดูสะอาดตา ไม่มีแถบโฆษณาหรือหน้าต่างป๊อปอัพขึ้นมารบกวน ทำให้มีเวลาโหลดไทม์ที่ค่อนข้างไว สามารถใช้เปรียบเทียบราคาของตั๋วเครื่องบินและที่พักได้เหมือนกับเว็บ Meta Search Engine อื่นๆ และยังมีแอปพลิเคชันทั้งบน iOS และ Android ทำให้การค้นหาที่พักและตั๋วเดินทางราคาถูกกลายเป็นเรื่องง่าย  

ข้อดี

  • เว็บไซต์มีความเรียบง่าย ไม่มีหน้าต่าง Pop-up หรือ โฆษณามารบกวน
  • มีเวลาโหลดไทม์ที่ค่อนข้างไว
  • ตัว Interface ของเว็บเหมาะกับการใช้งานบนแอปพลิเคชันมือถือ 

ข้อเสีย

  • ไม่มีสาขาในประเทศไทย การติดต่อต้องทำผ่านอีเมล ซึ่งอาจทำให้เกิดความล่าช้าหรือผิดพลาดในการสื่อสาร
  • ไม่มีบริการ Bundle Pack ที่จองทั้งที่พักและเที่ยวบินพร้อมกัน
  • ต้องทำการกดลิงก์เพื่อจองที่พักหรือเที่ยวบินเอง ไม่ได้เป็น OTA ที่สามารถจองผ่านเว็บได้

5. Expedia

Expedia คือ เว็บเอเจนซี่ท่องเที่ยวที่ให้บริการ Meta Search Engine มาตั้งแต่ปี 2001 เว็บไซต์ชื่อดังจาก อเมริกานี้ยังคงเป็นเว็บจองตั๋วเครื่องบินและโรงแรมราคาถูก ที่ได้รับความนิยมในหมู่นักเดินทางทั่วโลก โดยให้บริการที่ครอบคลุมทั้งการจองตั๋วเครื่องบิน โรงแรม และบริการเช่ารถ นอกจากนี้ยังมีแท็บ Things to do ซึ่งเป็นการรวบรวมทริปทัวร์หรือกิจกรรมที่สามารถเข้าร่วมได้ในช่วงที่ต้องการเดินทาง เรียกได้ว่าเป็น one-stop-service ที่จะทำให้การวางแผนในการเดินทางกลายเป็นเรื่องง่ายและน่าสนุกไปพร้อมๆ กัน

ข้อดี

  • เว็บไซต์มีความเรียบง่าย ใช้งานสะดวก มีปุ่มเมนูที่ดูสะอาดตา
  • สามารถกดเลือกจองตั๋วเครื่องบินและที่พักแบบแพ็คเกจ ทำให้ประสบการณ์การจองตั๋วและโรงแรมมีความสะดวกและราบรื่นขึ้น
  • มีการแจกโค้ดส่วนลด ผ่าน Expedia คูปอง ออกมาเรื่อยๆ ทำให้ประหยัดงบประมาณได้มากขึ้น
  • มีช่องทางการติดต่อทางโทรศัพท์ภายในประเทศ 

ข้อเสีย

  • ในช่วงที่โรงแรมมีโปรโมชันพิเศษ การจองผ่านโรงแรมโดยตรง อาจได้ราคาที่ถูกกว่าการจองผ่าน Expedia
  • การขอยกเลิกและขอเงินคืนเป็นเรื่องที่ยากลำบาก โดยเฉพาะในส่วนของโรงแรมและที่พัก ซึ่งมักจะมีนโยบายในการคืนเงินที่แตกต่างกันออกไป ในกรณีที่แย่ที่สุดก็คือมีโอกาสที่จะไม่ได้รับเงินคืน

6. Google Flight

Google Flight คือบริการย่อยในเครือของ Google ซึ่งเปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2011 โดยเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการค้นหาเที่ยวบินราคาถูก และในปัจจุบันยังครอบคลุมไปถึงการค้นหาที่พักและโรงแรมอีกด้วย ซึ่งแตกต่างจากบางเว็บจองตั๋วเครื่องบินราคาถูกทั่วๆ ไป Google Flight นั้นไม่ได้มีบริการในการจองตั๋วหรือที่พักผ่านตัวเว็บโดยตรง แต่เป็นเพียงเครื่องมือที่ใช้ในการเปรียบเทียบราคา ในวันเวลา และตำแหน่งที่ต้องการเท่านั้น 

ข้อดีก็คือตัวเว็บไซต์จะมีการระบุค่าเฉลี่ยราคาเที่ยวบินในแต่ละวัน ทำให้สามารถวางแผนและจองการเดินทางในวันที่ราคาตั๋วไม่สูงมาก ถือเป็นเครื่องมือคู่ใจนักเดินทาง ที่จะช่วยให้สามารถประหยัดงบประมาณ และประหยัดเวลาในการค้นหาตั๋วและที่พักได้เป็นอย่างดี  

ข้อดี

  • มีกราฟและราคาเฉลี่ยของราคาตั๋วในแต่ละวัน ทำให้สามารถหาช่วงเวลาที่ตั๋วถูกที่สุดได้
  • เว็บไซต์ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน
  • เป็นการจองกับสายการบิน หรือที่พักโดยตรง หากเกิดปัญหาขึ้นก็สามารถติดต่อกับสายการบินหรือที่พักได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง

ข้อเสีย

  • ราคาอาจไม่ได้ถูกที่สุดเสมอไป หากเทียบกับการจองตั๋วโปรโมชันผ่านสายการบินโดยตรง
  • ไม่สามารถจองตั๋วผ่านเว็บไซต์ได้ ผู้โดยสารต้องทำการจองตั๋วผ่านสายการบินเอง ซึ่งอาจไม่ตอบโจทย์สำหรับผู้ที่ต้องการจบทุกกระบวนการในเว็บเดียว

7. Kayak

หนึ่งในบริษัทลูกในเครือ Booking Holdings เช่นเดียวกับ Booking.com และ Cheapflights โดย Kayak นั้น ให้บริการในการค้นหาและเปรียบเทียบราคาของสายการบินและที่พักเช่นเดียวกับ Meta Search Engine อื่นๆ แต่ความพิเศษอยู่ที่ความสามารถในการค้นหาไฟล์ทราคาถูกของต่างสายการบิน และนำมาจัดไฟล์ทขาไปและกลับในราคาที่ถูกที่สุด 

ข้อดี

  • สามารถเลือกการเดินทาง ขาไปและกลับโดยใช้คนละสายการบิน
  • มีตัวเลือก และตัวคัดกรองผลการค้นหาให้เลือกใช้มากมาย

ข้อเสีย

  • ไม่ใช่สามารถจองผ่านเว็บไซต์ได้โดยตรง เว็บจะทำการลิงก์ไปยังเพจของสายการบิน OTA หรือโรงแรม และผู้ใช้งานต้องทำการจองด้วยตัวเอง
  • อาจไม่ได้ไฟล์ทที่ถูกที่สุดเสมอไป เพราะมีการแอบแฝงแท็บโฆษณาปะปนมากับผลลัพธ์การค้นหาทั่วไป

8. Skyscanner

เว็บจองตั๋วเครื่องบินราคาถูกสัญชาติสกอตแลนด์ ที่เริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 โดยครอบคลุมการค้นหาไปถึงโรงแรมที่พัก และบริการเช่ารถอีกด้วย เว็บไซต์ Skyscanner นั้นมีตัวแอปพลิเคชันมือถือที่รองรับทั้งระบบ iOS และ Android ทำให้การค้นหาเที่ยวบินกลายเป็นเรื่องง่าย สามารถเลือกเส้นทางบินต่างสายการบินในทริปเดียวได้ ทำให้ได้ตั๋วในราคาที่ต้องการ นอกจากนี้ยังมีระบบ Price Alert เพื่อแจ้งเตือนหากมีตั๋วราคาพิเศษหลุดมาในวันที่ต้องการเดินทาง ถือเป็นแอปพลิเคชันมือถือที่นักเดินทางทุกคนควรมี 

ข้อดี

  • มีตัวเลือกคัดกรองเยอะ สามารถปรับแต่งการค้นหาให้เหมาะสมตามความต้องการ
  • เว็บไซต์ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน

ข้อเสีย

  • ไม่มีบริการจองตั๋วหรือที่พักผ่านเว็บ เป็นเพียงเว็บค้นหาเท่านั้น
  • มีโฆษณาและ Pop-up Window แทรกอยู่ระหว่างผลลัพธ์การค้นหา อาจทำให้เกิดความสับสน

9. Traveloka

Traveloka คือ OTA ยักษ์ใหญ่จากประเทศอินโดนีเซียที่เชื่อว่านักเดินทางทุกคนจะต้องรู้จักเป็นอย่างดี โดยเฉพาะในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฟังก์ชันของเว็บ Traveloka นั้นมีความคล้ายคลึงกับ Expedia เป็นอย่างมาก โดยสามารถใช้แพลตฟอร์มในการค้นหาตั๋วเครื่องบิน ที่พัก และรถเช่า และทำการจองผ่านเว็บไซต์ได้เลย เรียกได้ว่าสามารถทำทุกอย่างได้ครบจบในที่เดียว นอกจากนี้ ยังมีการแจกโค้ดโปรโมชันผ่านแท็ป Hot Fare ซึ่งจะเป็นการรวบรวมตั๋วราคาพิเศษจากเคมเปญต่างๆ ทำให้สามารถประหยัดงบเดินทางเอาไว้ ช็อป ชิม ชิวได้แบบจุใจ 

ข้อดี

  • เป็น one-stop-service สามารถวางแผนการเดินทาง และทำการจองทุกอย่างภายในที่เดียว
  • เว็บไซต์ดูเรียบง่าย สบายตา
  • มีการแจกโค้ดส่วนลดอยู่เสมอ ซึ่งช่วยประหยัดงบในการเดินทาง
  • มีเบอร์ศูนย์ Call Center ในไทย

ข้อเสีย

  • โหลดไทม์ของเว็บไซต์ค่อนข้างช้า
  • หากเกิดปัญหาขึ้น การติดตามเรื่องจะเป็นไปอย่างยากลำบาก เพราะเป็นการสั่งจองผ่านกับตัวกลาง

10. Tripadvisor

นักเดินทางรุ่นเก๋า โดยเฉพาะในยุค 2000 คงไม่มีใครไม่รู้จัก Tripadvisor เว็บไซต์ที่ขึ้นชื่อในเรื่องของการรีวิวที่พักและร้านอาหารชื่อดังจากประเทศอเมริกา ซึ่งในปัจจุบันได้กลายมาเป็นเว็บจองตั๋วเครื่องบินราคาถูกและ เว็บจองโรงแรมราคาถูกอันดับต้นๆ ของโลก ที่ช่วยให้นักเดินทางสามารถหาตั๋วเครื่องบินและที่พักในราคาที่เหมาะสม รวมถึงอ่านรีวิวของสถานที่แต่ละแห่งได้ภายในไม่กี่คลิก 

นอกจากนี้ยังสามารถค้นหาร้านอาหาร หรือจองกิจกรรมที่น่าสนใจ ในระหว่างการเดินทางได้อีกด้วย ฟีเจอร์ที่น่าสนใจอีกอย่างของแพลตฟอร์มก็คือ ข้อความเตือนภัยสำหรับที่พักที่เคยเกิดการก่ออาชญากรรมทางเพศ โดยป้ายคำเตือนนี้จะหายไป หากไม่มีเหตุอาชญากรรมอื่นๆ เกิดขึ้นหลังจาก 3 เดือน

ข้อดี

  • มีฟีเจอร์เตือนภัยเพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานเพิ่มความระมัดระวังตัว หรือหลีกเลี่ยงบริเวณที่พักที่เคยเกิดเหตุอาชญากรรม
  • โดดเด่นในเรื่องของรีวิวที่พักและร้านอาหาร ที่สามารถนำไปประกอบการตัดสินใจก่อนจอง
  • มีอ็อปชันการเลือกจองเรือครูซ ซึ่งคู่แข่งไม่มี

ข้อเสีย

  • การติดต่อหลักต้องทำผ่านอีเมล อาจทำให้เกิดความล่าช้า และเกิดความผิดพลาดในการติดต่อสื่อสาร
  • รีวิวอาจจะไม่ได้แม่นยำเสมอไป เพราะฉะนั้นอาจต้องดูปัจจัยอื่นๆ ประกอบด้วย

11. Trip.com

ออนไลน์ทราเวลเอเจนซี่ อันดับต้นๆ จากประเทศสิงค์โปร์ ที่ยังคงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในหมู่นักท่องเที่ยวสายประหยัด ด้วยความสามารถในการค้นหาเที่ยวบิน ที่พัก รถเช่า และแม้กระทั่งตั๋วรถไฟในบางประเทศ ทำให้ Trip.com เป็นหนึ่งในเว็บจองตั๋วเครื่องบินราคาถูก และเว็บจองโรงแรมราคาถูกคู่ใจสายเดินทางหลายคน มาพร้อมกับแอปพลิเคชันมือถือที่ทำให้การค้นหาและจองตั๋วและที่พักกลายเป็นเรื่องง่าย และยังมีการแจกดีลเด่นประจำวัน ซึ่งเป็นการให้ส่วนลดเพิ่มเติม หรือเป็นการเพิ่มของแถมให้กับผู้ใช้งานอีกด้วย 

ข้อดี

  • เว็บไซต์ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน
  • มีบริการให้เลือกหลากหลาย นอกจาก ไฟล์ท โรงแรม และรถ ก็ยังสามารถจองตั๋วรถไฟในบางพื้นที่ได้อีกด้วย
  • มีการแจกโปรโมชันส่วนลดอยู่เรื่อยๆ ทำให้สามารถเซฟงบการเดินทางไปได้อีกเยอะ
  • มีช่องทางการติดต่อผ่าน แชท โทรศัพท์ และอีเมล

ข้อเสีย

  • เนื่องจากเป็นองค์กรใหญ่ การเข้าถึงตัวพนักงานเพื่อขอความช่วยเหลืออาจทำได้ยากและอาจเกิดข้อผิดพลาดได้ในหลายๆ จุด
  • อาจต้องใช้เวลานานในการของเงินคืน ในกรณีที่เกิดปัญหาในการจองตั๋วเครื่องบินหรือที่พัก

สรุป

ปี 2023 นี้ มีเว็บจองตั๋วเครื่องบินราคาถูก และเว็บจองโรงแรมราคาถูกให้เลือกมากมาย โดยแต่ละเว็บต่างก็มีข้อดีและข้อด้อยเป็นของตนเอง หวังว่าเว็บไซต์เหล่านี้ จะเป็นตัวช่วยในการเติมเต็มความฝันของเหล่านักเดินทางทุกคน ในการออกไปเที่ยวพักผ่อน หรือใช้เวลากับคนพิเศษ ในราคาที่เป็นมิตรกับกระเป๋า จะได้เก็บเงินเอาไว้ช๊อปกันต่อได้แบบชิวๆ

ที่สำคัญ ได้ตั๋วเดินทางและห้องพักราคาดีแล้ว ก็อย่าลืมใช้บริการของ Airportels บริการขนส่งสัมภาระระหว่างที่พักและสนามบิน ที่สะดวกสบายตลอด 24 ชั่วโมง ให้คุณเที่ยวได้แบบสบายตัว สบายใจ ไม่ต้องกังวลเรื่องสัมภาระ เดินตัวปลิว ชมวิวสุดฟิน และอินไปกับบรรยากาศได้อย่างสบายใจ

เทคนิคจองตั๋วเครื่องบินยังไงให้ถูก ปี 2023 ที่สายท่องเที่ยวต้องรู้

หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เริ่มเบาบางลง หลายประเทศเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ผู้คนก็อยากออกไปท่องเที่ยวกันมากขึ้น แต่ปัญหาที่ตามมาคือราคาตั๋วเครื่องบินที่แสนแพง จนทำให้หลายคนหมดไปกับค่าเครื่องบินมากกว่าค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการท่องเที่ยว หรือบางคนก็ถอดใจไปเสียก่อน แต่จะดีกว่าไหมถ้าสามารถจองตั๋วเครื่องบินในราคาที่ถูกกว่า เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย แล้วเหลือเงินไปเที่ยวแบบสบายๆ บทความนี้จะมาแชร์เทคนิคการจองตั๋วเครื่องบินยังไงให้ถูกในปี 2023 ที่สายเที่ยวต้องรู้ มีอะไรบ้างไปดูกัน

1. ค้นหาและเปรียบเทียบราคาตั๋วเครื่องบิน

ในการจองตั๋วเครื่องบินให้ได้ราคาถูก สิ่งที่ทุกคนควรทำเป็นอันดับแรกคือ เริ่มจากการค้นหาและเปรียบเทียบราคาตั๋วเครื่องบินจากเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน เพจ หรือเอเจนซี่ต่างๆ ในทุกรูปแบบ เพื่อนำมาเปรียบเทียบราคาตั๋วเครื่องบิน และสายการบินที่ให้ราคาสมเหตุสมผล หรือถูกที่สุด เพื่อเพิ่มทางเลือกในการตัดสินใจ โดยในปัจจุบันก็มีเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันที่น่าสนใจมากมายอย่างเช่น Traveloka, Expedia, KAYAK, Trip.com, Agoda, Skyscanner, Google Flights เป็นต้น

2. คำนึงถึงส่วนลดและโปรโมชัน

 สิ่งที่จะต้องคำนึงถึงในการจองตั๋วเครื่องบินให้ได้ราคาถูกนั่นคือโปรโมชันและส่วนลด เพราะเป็นสิ่งที่จะสามารถช่วยให้ได้ราคาตั๋วที่ถูกลงได้ โดยสามารถตามหาโปรโมชันและส่วนลดต่างๆ ได้จากหลายวิธีด้วยกัน

เพจรวมส่วนลดและโปรโมชัน

ปัจจุบันมีเพจรวมส่วนลดและโปรโมชันเกี่ยวกับราคาตั๋วเครื่องบินมากมายแชร์กันในช่องทาง Social Media อย่าง Facebook, Instagram, Twitter หรือตามเว็บไซต์จองตั๋วเครื่องบิน แอปพลิเคชัน และเอเจนซี่ ที่สามารถติดตามความเคลื่อนไหวได้ตลอดเวลา รวมถึงมีการอัปเดตโปรโมชันและส่วนลดใหม่ๆ เช่น เพจติดโปร, Pro Addict, เพจเพื่อนติดโปร ฯลฯ แต่อาจต้องอาศัยจังหวะหรือดวงร่วมด้วย เนื่องจากส่วนลดและโปรโมชันมักมีช่วงเวลาและจำนวนสิทธิที่จำกัด เป็นแบบ fisrt come, first serve เพราะฉะนั้นการจองตั๋วเครื่องบินยังไงให้ถูก บอกได้เลยว่าจังหวะและความเร็วในการจองถือเป็นสิ่งจำเป็น 

ส่วนลดและโปรโมชันจากสายการบิน

วิธีต่อมาเป็นการเช็กราคาส่วนลดหรือโปรโมชันผ่านเว็บไซต์ เพจ หรือแอปพลิเคชันของทางสายการบินโดยตรง ซึ่งแต่ละสายการบินก็จะมีการจัดโปรโมชันหรือส่วนลดต่างๆ แตกต่างกันไป อาจจะมีราคาพิเศษ ราคานักศึกษา หรืออื่นๆ ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่สายการบินเลือกจัดโปรโมชัน หากได้มีการติดตามเพจ เว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันของทางสายการบินไว้ ก็จะทำให้สามารถเห็นโปรโมชันได้ก่อน ทั้งยังสามารถจองตั๋วเครื่องบินของสายการบินที่ตัวเองนิยมและสนใจได้อย่างรวดเร็วในราคาที่ถูกลง 

สะสมไมล์ หรือเครดิตการจอง เพื่อนำมาเป็นส่วนลด

ตามเว็บไซต์ของทางสายการบินนอกจากจะมีการจัดโปรโมชันอยู่เป็นช่วงๆ แล้ว ก็ยังมีในเรื่องของการสะสมไมล์ หากเป็นสมาชิกอยู่แล้วและยิ่งเป็นคนที่เดินทางบ่อย บางสายการบินอาจมีการสะสมเครดิตการจองตั๋วเครื่องบินหรือสะสมไมล์เดินทาง ซึ่งสามารถนำมาแลกเป็นส่วนลดในเที่ยวบินถัดๆ ไปได้ บางครั้งอาจจะได้เที่ยวบินฟรีจากการแลกไมล์สะสมเลยก็ได้ หรือหากมีการสมัครเป็นสมาชิกใหม่ อาจจะมีสิทธิพิเศษบางอย่างสำหรับสมาชิกใหม่เป็นส่วนลดได้เช่นกัน วิธีนี้ก็เป็นอีกวิธีที่จะทำให้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการจองตั๋วเครื่องบินลงได้

ซื้อตั๋วเครื่องบิน พร้อมโรงแรมหรือที่พัก

อีกวิธีที่สามารถทำให้ราคาตั๋วเครื่องบินถูกลงกว่าปกติได้ นั่นก็คือการซื้อตั๋วเครื่องบินพร้อมโรงแรมหรือที่พัก  เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายลง โดยเมื่อนำมาคำนวณราคาแล้วมักจะได้ราคารวมของแพ็กเกจที่ถูกกว่าการแยกจองตั๋วเครื่องบินหรือที่พักต่างหาก แต่อาจจะต้องอาศัยความเร็วในการจองหรือพึ่งดวงกันเล็กน้อย เพราะมักมีจำนวนจำกัด ยิ่งหากเป็นแพ็กเกจดีๆ น่าสนใจก็จะยิ่งหมดเร็ว รวมถึงอาจต้องมีการพิจารณาปัจจัยอื่นประกอบการตัดสินใจร่วมด้วย เช่น อาจมีข้อจำกัดในการเลือกที่พักหรือสายการบินที่ต้องการ ตัวเลือกที่มีอาจจะยังไม่ถูกใจ แต่หากต้องการซื้อตั๋วเครื่องบินในราคาที่ถูกลง การเลือกใช้วิธีนี้ก็ถือเป็นวิธีที่คุ้มค่า คุ้มราคาแน่นอน

3. เลือกเวลาการบินในช่วงที่ไม่ได้รับความนิยม

การเลือกช่วงเวลาในการบินก็เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อราคาตั๋วเครื่องบินอย่างมาก ควรเลือกจองตั๋วเครื่องบินในช่วงเวลาที่คนส่วนใหญ่ไม่นิยมเดินทางท่องเที่ยวกัน เพราะหากเป็นช่วง high season ค่าตั๋วเครื่องบินมักมีราคาสูงกว่าช่วง low season

การเลือกเดินทางในช่วงเวลาเช้า

ช่วงเวลาที่ควรเลือกเดินทางคือช่วงเช้าตรู่หรือเช้ามืด เนื่องจากคนมักจะเดินทางกันในช่วงเวลานี้ค่อนข้างน้อย ทำให้มีตั๋วที่นั่งเหลือเยอะ ราคาจึงถูกลง และยังมีโอกาสเลือกที่นั่งดีๆ ได้ในราคาที่ไม่แพงมาก แต่อาจจะมีข้อเสียคือต้องตื่นแต่เช้ามากๆ หรืออาจจะต้องอดนอนเพื่อไปขึ้นเครื่องให้ทันรอบเช้า

การเลือกเดินทางในช่วงเวลากลางคืน

อีกช่วงเวลาที่คนไม่ค่อยนิยมเดินทางกันคือช่วงกลางคืนดึกๆ ทำให้มีโอกาสจองตั๋วเครื่องบินได้ในราคาที่ถูกลง แต่อาจจะต้องแลกมากับการเดินทางไปสนามบินที่อาจจะไม่สะดวก และอาจเกิดความเหนื่อยล้าอ่อนเพลียจากการนั่งเครื่องบินและพักผ่อนไม่เพียงพอได้

4. เลือกเดินทางในวันธรรมดา

นอกจากช่วงเวลาในการเดินทางที่มีผลต่อราคาตั่วเครื่องบินแล้ว วันที่เลือกเดินทางก็สำคัญไม่แพ้กัน ควรเลือกเดินทางในวันธรรมดา ที่ไม่ใช่วันหยุดสุดสัปดาห์หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ เพราะเป็นวันที่คนส่วนใหญ่นิยมเดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อนกัน ดังนั้นปริมาณความต้องการจองตั๋วในวันหยุดพิเศษเหล่านี้จะทำให้ราคาตั๋วเครื่องบินพุ่งสูงขึ้นไป การเลือกจองตั๋วเครื่องบินเพื่อเดินทางในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์โดยเฉพาะในวันศุกร์ เสาร์และอาทิตย์ เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงหากต้องการซื้อตั๋วราคาถูก 

5. จองตั๋วเครื่องบินในช่วง Low season

หากต้องการจองตั๋วเครื่องบินให้ได้ราคาถูก ควรเลือกจองตั๋วเครื่องบินในช่วง low season ซึ่งเป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวไม่ค่อยนิยมไปเที่ยวกัน ข้อดีคือนอกจากราคาตั๋วถูก ราคาที่พัก ร้านอาหาร ของกินของใช้ต่างๆ ก็จะถูกลงเช่นกัน เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวไม่มากเท่าไร สายการบิน ที่พัก ร้านค้าต่างๆ จึงมักมีโปรโมชันดีๆ หรือส่วนลดมากมายเพื่อดึงดูดลูกค้า อีกทั้งยังไม่ต้องไปเบียดเสียดกับปริมาณนักท่องเที่ยวเยอะๆ อย่างในช่วง high season แต่อาจจะมีข้อจำกัดในเรื่องของความสวยงามของบรรยากาศที่ไม่ได้สวยเท่าช่วง high season หรือสภาพอากาศที่อาจจะร้อนหรือหนาวเกินไป โดยแต่ละประเทศแต่ละโซนก็จะมีช่วง low season ที่ต่างกันออกไป เช่น

  • เกาหลี – ช่วงฤดูร้อน ประมาณเดือนมิถุนายน ถึง กันยายน
  • ญี่ปุ่น – ช่วงฤดูร้อน ประมาณเดือนมิถุนายน ถึง กันยายน
  • ออสเตรเลีย – ช่วงฤดูหนาว ประมาณเดือนมิถุนายน ถึง สิงหาคม
  • ยุโรป – ช่วงฤดูหนาว ปลายเดือนพฤศจิกายน ถึง ต้นเดือนเมษายน
  • อเมริกา, แคนาดา – ช่วงฤดูหนาว เดือนพฤศจิกายน ถึง ปลายเดือนมีนาคม
  • อเมริกาใต้ – ช่วงฤดูหนาว ประมาณเดือนมิถุนายน ถึง สิงหาคม

6. จองตั๋วเครื่องบินล่วงหน้า

การจองตั๋วเครื่องบินล่วงหน้า ทำให้ได้ราคาที่ถูกกว่าการจองตั๋วในวันใกล้วันเดินทาง เพราะตั๋วที่นั่งที่ราคาถูกมักจะถูกขายออกไปก่อน อีกทั้งการซื้อตั๋วแบบใกล้วันเดินทางอาจจะทำให้มีการปรับราคาตั๋วแพงขึ้นได้ เพราะฉะนั้นสำหรับผู้ที่วางแผนเดินทางล่วงหน้าและรู้วันที่ต้องเดินทางแล้วควรรีบจองตั๋วเครื่องบินก่อนล่วงหน้า เพื่อให้ได้ราคาที่ถูกลงนั่นเอง

7. เลือกจองตั๋วเครื่องบินแบบต่อเครื่อง

การจองตั๋วเครื่องบินแบบต่อเครื่อง คือการจองตั๋วเครื่องบินที่มีการแวะจอดที่สนามบินกลางทางก่อนที่จะเดินทางต่อไปยังปลายทาง ทำให้ได้ราคาที่ถูกลง เหมาะกับคนที่ไม่ได้เร่งรีบหรือมีเวลาจำกัด เนื่องจากการบินแบบต่อเครื่องจะทำให้เสียเวลาในการต่อเครื่องเพิ่มขึ้น และควรระวังเรื่องระยะเวลาในการต่อเครื่องเพราะอาจเกิดปัญหาเที่ยวบินดีเลย์ทำให้ต่อเครื่องไม่ทันได้

8. เปรียบเทียบราคาตั๋วเครื่องบินในสนามบินที่ต่างกัน

การจองตั๋วเครื่องบินแบบเลือกสนามบินในการลงจอด ในกรณีที่บางเมืองหรือบางประเทศมีสนามบินมากกว่า 1 แห่ง การเลือกสนามบินเพื่อเปรียบเทียบราคาก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ทำให้ได้ตั๋วเครื่องบินในราคาที่ถูกลง แต่อาจจะต้องมีการสังเกตหรือเตรียมตัว เช่น ค่าเดินทางจากสนามบินไปที่พักหรือปลายทาง หากได้ไม่คุ้มเสียก็ควรเลือกใช้วิธีอื่นๆ แทน

9. การเลือกจับคู่สายการบินแบบผสม

การจองตั๋วเครื่องบินแบบจับคู่ หรือผสมสายการบิน อาจได้ในราคาที่ถูกกว่าการเลือกสายการบินเดียวกัน ควรลองเปรียบเทียบราคาดูก่อน โดยเฉพาะการบินแบบไปกลับ การเลือกตั๋วเครื่องบินขาไปกับขากลับเป็นคนละสายการบินก็จะทำให้มีโอกาสได้เลือกสายการบินที่มีราคาถูกกว่าการจองตั๋วแบบไปกลับพร้อมกัน

10. เลือกสายการบินแบบ Low cost

การเลือกสายการบินแบบ Low cost เหมาะสำหรับคนที่ต้องการประหยัดงบประมาณในการเดินทาง เนื่องจากจะมีการตัดการให้บริการบางอย่างออกไป ซึ่งหากต้องการจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเหล่านี้เพิ่มเติม เช่น เลาจน์สำหรับรอขึ้นเครื่อง การโหลดกระเป๋า อาหาร-เครื่องดื่มบนเครื่อง การเลือกที่นั่ง การเปลี่ยนแปลงเที่ยวบิน เป็นต้น จึงเหมาะสำหรับการเดินทางระยะสั้น หรือผู้ที่มีสัมภาระน้อย และต้องการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางลง

11. เปรียบเทียบราคาตั๋วเครื่องบินในสกุลเงินอื่นๆ

การจองตั๋วเครื่องบินโดยใช้วิธีการนี้ เป็นทางเลือกสำหรับคนที่อยากได้ตั๋วราคาถูกกว่า โดยสายการบินเดียวกัน เที่ยวเดียวกัน ที่นั่งแบบเดียวกัน แต่สกุลเงินที่แตกต่างกันอาจทำให้ได้ราคาที่ต่างกันออกไปตามอัตราแลกเปลี่ยนและค่าเงิน หากอยากได้ตั๋วราคาถูกอาจต้องลองเปรียบเทียบราคาดู การเลือกซื้อตั๋วโดยใช้สกุลเงินอื่นอาจทำให้ได้ราคาที่ดีกว่า

12. จองตั๋วเครื่องบินแบบคนเดียว

การจองตั๋วแบบคนเดียวหรือแยกกันจอง ทำให้ได้ถูกกว่าการจองพร้อมกันหลายๆ ที่ เพราะแต่ละเที่ยวบินจะมีที่นั่งราคาถูกอยู่จำกัด บางครั้งก็จะอาจมีโปรโมชันให้เลือกแค่สำหรับบางที่นั่ง และการจองตั๋วแบบเป็นกลุ่มมักมีราคาตั๋วที่แพงกว่า ข้อเสียคืออาจไม่ได้นั่งด้วยกัน แต่ก็แลกมาในราคาที่ถูกกว่านั่นเอง

สรุป

บางคนอาจสงสัยว่าจองตั๋วเครื่องบินยังไงให้ถูก การจองตั๋วเครื่องบินสามารถจองในราคาที่ถูกลงได้ หากลองเลือกเทคนิคข้างต้นนี้ นำเอาไปปรับใช้ให้เหมาะกับตัวเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งหมดที่กล่าวมาจะเป็นไปไม่ได้ หากไม่ตัดสินใจจองทันที เมื่อได้ดีลหรือส่วนลดที่ต้องการ เพราะคนอื่นๆ หลายคนต่างต้องการซื้อตั๋วเครื่องบินเมื่อมีโปรโมชันเหมือนกัน

นอกจากนี้ เมื่อพูดถึงเรื่องตั๋วเครื่องบินแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างคือการเตรียมสัมภาระ แนะนำบริการของ Airportels ที่เหมาะสำหรับคนไม่ต้องการพกสัมภาระไปทุกที่ให้วุ่นวาย โดยเฉพาะคนที่อยากไปท่องเที่ยว แล้วต้องมีกระเป๋าสัมภาระเยอะๆ หรือต้องพักในโรงแรม และไม่สะดวกในการขนของ เป็นต้น 

บางคนหากลงจากเครื่องแล้วอยากไปกินข้าว ชอปปิง ทำธุระ หรือยังไม่ถึงเวลาบินอยากฝากสัมภาระไว้ซัก 2-3 ชั่วโมง ซึ่งทาง Airportels ก็มีบริการฝากสัมภาระในสนามบินด้วยเช่นกัน หรือใครน้ำหนักกระเป๋าเกิน ไม่อยากโหลดกระเป๋า ฝากไว้กับ Airportels ก็มีราคาที่ถูกกว่า